Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร - Coggle Diagram
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร
ความสําคัญของการบริหาร
การบริหารเป็นการใช้ศาสตร์และศิลป์ นําเอาทรัพยากรการบริหาร (Administrative resources) มาประกอบกับกระบวนการบริหาร (Administrative Processes) เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ อย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมาย
กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาร่วมกันดําเนินการ โดย การใช้ทั้งศาสตร์และศิลปะ ในการนําเอาทรัพยากรการบริหารตามกระบวนการบริหาร เพื่อให้บุคลากรทางการพยาบาลสามารถให้การพยาบาลโดยบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการบริหาร (Administrative Processes)
S (Staffing)
การดําเนินการเกี่ยวกับคนในองค์กรซึ่งเรียกว่าการบริหารงานบุคคล (personnel management) ได้แก่ การสรรหา การคัดเลือกบุคคลมาปฏิบัติงาน การบรรจุแต่งตั้ง การบํารุงรักษา การพัฒนา การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการให้คนออกจากงาน
D (Directing)
การอํานวยการเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นํา (Leadership) การวินิจฉัยสั่งการ (Decision making) การควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน (Controlling) การนิเทศงาน (Supervision) และการติดตามผลการปฏิบัติงาน (Evaluation) การบริหารงานจะบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยหลักมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation) และการจูงใจ (Motivation) เป็นเครื่องมือในการอํานวยการ
O (Organizing)
การจัดโครงสร้างของการบริหารงาน โดยกําหนดหน้าที่ของหน่วยงานย่อยกําหนดลักษณะและวิธีการติดต่อประสานงานซึ่งพิจารณาตามการควบคุมหรือตามหน่วยงาน
Co (Co-ordination)
การประสานงานโดยการจัดวางระเบียบการปฏิบัติงานของบุคลากร เพื่อไม่ให้งานซ้ําซ้อน ขัดแย้ง หรือเหลื่อมล้ํากัน สิ่งที่จะช่วยให้เกิดการประสานงานที่ดีคือ การติดต่อสื่อสาร (Communication)
P (Planning)
การวางแผนงานเป็นการวางโครงการอย่างกว้างๆ เป็นลําดับขั้นที่จะต้องปฏิบัติพร้อมทั้งวัตถุประสงคโดยคํานึงถึงนโยบายเพื่อให้แผนงานที่กําหนดสอดคล้องกัน
R (Reporting)
การบันทึกรายงานไว้เป็นหลักฐาน เพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาแจ้งไปยังผู้เกี่ยวข้องเก็บรวบรวมไว้เป็นข้อมูลสําหรับค้นคว้าอ้างอิงรวมถึงการส่งต่อการดูแลและการประชาสัมพันธ์ (Public relation)
B (Budgeting)
การจัดทํางบประมาณการเงิน เริ่มจากการวางแผน หรือโครงการใช้จ่ายเงิน การบัญชี และการควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงิน
วัตถุประสงค์ของการบริหารงาน (Objective)
การบริหารงานต้องกําหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร มากน้อยแค่ไหนอย่างไร เพื่อให้การจัดการทรัพยากรการบริหาร และวิธีการบริหารอย่างเหมาะสม ซึ่งการบริหารงานนั้นต้องประหยัด (Economic) ผลงานมีประสิทธิภาพ (Effectiveness) และประสิทธิผล (Efficiency) เรียกว่า 3E’S
ทฤษฎีการบริหารแบบนีโอคลาสิกหรือดั้งเดิม(Classical Theory)
ทฤษฎีการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
เกิดขึ้นในช่วงที่อุตสาหกรรมขยายตัว อย่างรวดเร็ว มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น โดยใช้วิธีตั้งปัญหาและหาแนวทางเพื่อไปสู่จุดหมายที่ต้องการ
นักบริหาร
เฮนรี่ แก๊นต์ (Henry L Gantt)
Gantt’s chart
Gantt’s Milestone Chart
นําเอาเทคนิคการจัดตารางสําหรับการควบคุมการปฏิบัติงานมาใช้ เพื่อปรับปรุงและยกระดับประสิทธิภาพในการทํางาน
แฟรงค์ บังเกอร์ กิลเบรธ (Frank Bunker Gillbreth)
ศึกษา
ความเบื่อหน่าย
ผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทํางานที่มีต่อคนงาน
ความเคลื่อนไหว
สรุป
การทํางานด้วยการแบ่งงานออกตามความชํานาญเฉพาะด้านและ แบ่งงานเป็นส่วนๆ (division of work) จะทําได้ดียิ่งขึ้น ถ้าได้มีการวิเคราะห์งานอย่างละเอียดถี่ถ้วน ให้ทํางาน ต่อเนื่องกันเป็นกระบวนการตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งทําให้เกิดงานแบบประจํา (routine)
เฟรดเดอริควินสโลว์ เทเลอร์ (Frederick winslowtaylor)
บิดาแห่งการบริหารงานเชิงวิทยาศาสตร์ เชื่อว่าปัญหาที่คนทํางานไม่เต็มศักยภาพนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการออกแบบงาน และการจัดสิ่งจูงใจใหม่ๆ
หลักสำคัญ
มีการวางแผนแทนที่จะให้คนงานเลือกวิธีการเอง
คัดเลือกคนงานที่มีความสามารถแล้วฝึกอบรมให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆร่วมกัน
กําหนดวิธีการทํางานทดแทนการทําแบบลองผิดลองถูก
ใช้หลักแบ่งงานกันทําระหว่างผู้บริหารและคนงาน “การกําหนดวิธีการทํางานที่ดีที่สุด”(One Best Way) จากวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเรียกกันในปัจจุบันว่า “time and motion study”
ลิเลียน กิลเบรธ(LilianGillbreth)
ศึกษาปริญญาเอกด้านจิตวิทยาซึ่งเป็นศาสตร์ที่จะช่วยส่งเสริมงาน ด้าน Motion Studies ให้ดียิ่งขึ้น
ทฤษฎีการจัดการเชิงบริหาร (management)และทฤษฎีระบบราชการ
ทฤษฎีระบบราชการ (bureaucracy)
แมกซ์ วีเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน เสนอทฤษฎีที่เป็นแนวคิดเกี่ยวกับ โครงสร้างขององค์การ ซึ่งเน้นการมีเหตุผลเป็นสําคัญ วีเบอร์สนใจในการวิจัยเกี่ยวกับภารกิจ การใช้อํานาจใน สังคมทั้งในแง่เศรษฐกิจและการเมือง
แนวทางการดําเนินการบริหาร