Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โภชนาการสำหรับผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร - Coggle…
โภชนาการสำหรับผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
1.โภชนาการสำหรับวัยผู้ใหญ่
ปัญหาด้านโภชนาการจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ปัญหาท้องผูก:
เนื่องจากวัยนี้เป็นวัยทำงาน การดำเนินชีวิตจึงเร่งรีบ และส่วนใหญ่รับประทานอาหารปรุงสำเร็จ
ภาวะกรดไหลย้อน:
วัยนี้ส่วนใหญ่รับประทานอาหารไม่ค่อยตรงเวลา แล้วรับประทานอาหารเสร็จไม่ควรเข้านอนเลย
แนวปฎิบัติในการจัดอาหารสำหรับผู้ใหญ่
1.จัดอาหารควรคำนึงถึงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม
2.จัดอาหารให้มีความหลากหลายครบ5หมู่ ควรมีผักและผลไม้ทุกมื้อ
3.มื้ออาหารที่สำคัญควรเป็นมื้อเช้าและกลางวัน
วัยผู้ใหญ่ หมายถึง วัยทำงานอายุตั้งแต่19-60 ปี เป็นวัยที่ต้องการรายได้มาเลี้ยงตนเองและคนในครอบครัว เป็นวัยที่ร่างกามีความความเจริญเต็มที่ การมีสุขภาพดีต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานอาหารให้ครบถ้วนและเหมาะสม ปัญหาที่พบบ่อยในวัยนี้คือ การที่ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไปและใช้ไม่หมด อาหารส่วนเกินจะถูกสะสมไว้ในรูปแบบของไขมัน
ความต้องการพลังงานและสารอาหาร
พลังงานสำหรับผู้ใหญ่19-60 ปี จากปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน
ผู้ชาย 19-30 ปี ประมาณ 2,150 กิโลแคลอรี่
ผู้ชาย 31-60 ปี ประมาณ 2,100 กิโลแคลอรี่
ผู้หญิง 19-60 ปี ประมาณ 1,750 กิโลแคลอรี่
โดยกระจายตัวพลังงานจากสารอาหารโปรตีน ร้อยละ 10-15 ไขมัน ร้อยละ 25-35 และคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 45-65 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน
2.โภชนาการสำหรับวัยผู้สูงอายุ
-ความต้องการพลังงานและสารอาหาร
ปริมาณพลังงาน
สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จากปริมาณสารอาหารที่อ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน
ผู้ชาย 60-70 ปี ประมาณ 2,100 กิโลแคลอรี่
ผู้ชาย 71 ปีขึ้นไป ประมาณ 1,750 กิโลแคลอรี่
ผู้หญิง 60-70 ปี ประมาณ 1,750 กิโลแคลอรี่
ผู้หญิง 71 ปีขึ้นไป ประมาณ 1,550 กิโลแคลอรี่
โดยการกระจายตัวพลังงานจากทานอาหารโปรตีน ร้อยละ 10-15 ไขมัน ร้อยละ 25-35 และคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 45-65 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน
-วัยผู้สูงอายุ เป็นวัยที่เสื่อมถอยของระบบต่างๆในร่างกาย ปัญหาทางโภชนาการจัดเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและส่งผลสุขภาพโดยร่วม และสุขภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นปัญหาอีกอย่างคือปัญหาการขาดสารอาหารและได้รับสารอาหารเกิน เนื่องจากบริโภคน้อย
-ปัญหาด้านโภชนาการจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีปัญหาทั้งความอ้วนและผอม การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสักส่วนและปริมาณมากเกินไป ทำให้น้ำหนักเกิน และเป็นโรคอ้วน ส่วนผู้สูงอายุช่วงปลายมากกว่า80 ปี จะรับประทานน้อยเกิน จึงผอมเกิน ปัญหาที่รับประทานไม่ได้ คือ ปัญหากลิ่นและรสชาติ
-แนวปฎิบัติในการจัดอาหาร
1.ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในทุกมื้อให้ปริมาณเพียงพอ
2.ควรลดอาหารที่มีไขมันสูง
3.ควรรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน
4.ควรงดดื่มแอลกอฮอล์
5.รับประทานผักผลไม้เป็นประจำทุกวัน
3.โภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์
-อาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์มีความต้องการการพลังงานโปรตีน และสารอาหารต่างๆมากขึ้น
-ความต้องการพลังงานและสารอาหาร
ปริมาณพลังงานสำหรับหญิงตั้งครรภ์ จากปริมาณสารอาหารที่อ้างอิงที่ได้รับประจำวันสำหรับคนไทย ต้องได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นอีก 300 กิโลแคลอรี่ ดั้งนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับพลังงานประมาณ 2,050 กิโลแคลอรี่ต่อวัน โดยมีการกระจายพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 45-65 โปรตีนร้อยละ 12-15 และไขมันร้อยละ 25-35 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับ
-ปัญหาด้านโภชนาการจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจอย่างมาก หญิงตั้งครรภ์สนใจเรื่องน้ำหนัก สารอาหารที่ควรได้รับคือ โฟเลต เหล็ก สังกะสี ไอโอดีน และโพแทสเซียม
-แนวปฎิบัติในการจัดอาหาร
1.ปริมาณพลังงานของอาหารจะต้องเพียงพอสำหรับหญิงตั้งครรภ์
2.อาหารประเภทเนื้อสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับให้เพียงพอ
3.แร่ธาตุต่างๆและวิตามินต่างๆ ควรได้รับให้เพียงพอ
4.ควรรับประทานผักผลไม้ในทุกมื้อ
4.โภชนาการสำหรับหญิงให้นมบุตร
-โภชนาการสำหรับหญิงให้นมบุตร
หลังจากที่คลอดลูกแล้วแม่ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าไม่จำเป็นต้องกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อลูก ซึ่งจริงๆแล้วทารกที่คลอดออกมานั้นต้องกินนมแม่ ดั้งนั้น ปริมาณอาหารที่แม่ต้องได้รับก็สำคัญพอๆ
-ความต้องการพลังงานและสารอาหาร
ปริมาณพลังงานสำหรับหญิงให้นมบุตร ที่ปริมาณสารอาหารที่อ้างอิงสำหรับคนไทย ควรได้รับเพิ่มอีกวันละ 500 กิโลแคลอรี่ หญิงให้นมบุตรได้รับพลังงานวันละ 2,250 กิโลแคลอรี่ โดยมีการกระจายอคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 45-65 โปรตีนร้อยละ 12-15 และไขมันร้อยละ 25-35 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับ
-ปัญหาด้านโภชนาการจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
หญิงให้นมบุตรควรได้รับอาหารเพิ่มขึ้นกว่าหญิงตั้งครรภ์ เพิ่มรับประทานคาร์โบไฮเดรตเพื่อเพิ่มน้ำนมได้รับความเพียงพอต่อทารก ควรได้รับอาหารที่มีพลังงานสูงประเภทของหวานหรือขนมคบเคี้ยว
-แนวทางปฏิบัติในการจัดอาหาร
สำหรับแนวทางปฎิบัติเหมือนกับหญิงตั้งครรภ์โดยหญิงให้นมบุตรควรดื่มน้ำของเหลวเพิ่ม เพื่อช่วยให้มีน้ำนมมากยิ่งขึ้น หญิงให้นมบุตรควรเลือรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และรับประทานถั่วเมล็ดแห้งชนิดต่างๆ