Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัคซีน : - Coggle Diagram
วัคซีน :
DTP-HB, DTP
-
กลไกการออกฤทธิ์ เมื่อร่างกายได้รับแอนติเจน หรือวัคซีนเป็นครั้งแรก ระบบภูมิคุ้มกันจะตอบสนองโดยสร้างแอนติบอดี เรียกว่าเป็น Primary response ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในซีรั่ม ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับแอนติเจนจนกระทั่งเริ่ม มี แอนติบอดีที่ตรวจพบได้เรียกว่า Lag period ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่ 1 ถึง 30 วัน หรือนานกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับ ปริมาณแอนติเจน ชนิดของแอนติเจนและทางที่แอนติเจนเข้าสู่ร่างกาย หลังจากผ่าน Lag period จะเป็น ช่วงที่ร่างกายมีการสร้างแอนติบอดีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่เป็น IgM ซึ่งจะอยู่ได้ระยะหนึ่ง แล้วจะมีปริมาณลดต่้าลง อย่างไรก็ตามร่างกายได้จดจ้าแอนติเจนนี้ไว้แล้ว โดย Memory B cell ดังนั้นเมื่อ ได้รับแอนติเจนชนิดนี้อีก ร่างกายจะตอบสนองได้รวดเร็วกว่าครั้งแรก
-
ผลข้างเคียง ปวด บวม แดงเฉพาะที่ อาจเกิด systemic reaction เช่น ไข้ ชัก ซึม ตัวอ่อนปวกเปียกไม่ตอบสนอง (HHE) ปฏิกิริยาแพ้ anaphylaxis และ arthus like reaction (บวม ปวด แดงลามมาถึงข้อศอก) เกิดจากการ ได้รับบาดทะยักมากเกินไป
ข้อควรระวัง
- เด็กที่ทราบว่ามีภาวะภูมิไวเกิน (hypersensitivity) ต่อส่วนประกอบในวัคซีน หรือ มี
อาการของภาวะภูมิไวเกินหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน DTP-HB-Hib เข็มก่อน
- เด็กที่เริ่มมีหรือสงสัยว่ามีอาการเกี่ยวกับระบบประสาท (neurological condition)
- เด็กที่เคยมีภาวะสมองอักเสบ (encephalopathy) ที่ไม่ทราบสาเหตุ กรณีดังกล่าว เด็กยัง สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ตับอักเสบบี
และฮิบได้ หลังจากได้รับการ ประเมินจากแพทย์แล้ว
- กรณีที่เด็กมีไข้รุนแรงอย่างเฉียบพลันให้เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน
- ปฏิกิริยาภายหลังจากฉีดวัคซีน
คำแนะนำให้สังเกตว่ามีอาการของการแพ้ยารุนแรงหรือไม่เช่น บวมริมฝีปาก หนังตาบวม แน่นหน้าอก หายใจ เสียงดัง หายใจเหนื่อย หรือไข้สูง หรือมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป หากมีอาการดังกล่าวให้แจ้งแพทย์
ชื่อทางการค้า ComBE fivem, Pentabio, Shan5
-
-
-
BCG vaccine
รูปแบบ เป็นวัคซีนเชื้อเป็น live attenuated vaccine ผลิตจากเชื้อ Mycobacterium bovis สายพันธุ์ Bacillus Calmette Guerin
กลไกการออกฤทธิ์ เป็นการทำให้เชื้อโรคอ่อนแรงลง กลไกการทำงานของวัคซีนคือเชื้อที่ฤทธิ์อ่อนลงจะเข้าไปกระตุ้น ภูมิคุ้มกันให้สามารถรับมือกับเชื้อวัณโรคได้
ข้อบ่งชี้
- ถ้าไม่มีแผลเป็นเกิดขึ้น และไม่มีหลักฐานว่าเคยได้รับวัคซีน BCG มาก่อน ให้ฉีดได้ทันที
- ถ้าเคยได้รับวัคซีน BCG มาก่อน ไม่ต้องฉีดซ้ำแม้ไม่มีแผลเป็น
-
ขนาดและวิธีใช้ ฉีด 0.1 มล. เข้าในชั้นผิวหนัง (intradermal) ที่ไหล่ซ้าย ไม่ควรฉีดบริเวณสะโพกและต้นขาของทารก เพราะบริเวณดังกล่าวมีโอกาสเกิดการเสียดสีจากผ้าอ้อมหรือขาเสียดสีกัน จะทำให้การดูแลรักษาแผลหลังฉีด วัคซีนทำได้ยาก ฉีดให้กับทารกให้เร็วที่สุด (ภายใน 24 ชม.หลังเกิด)
ปฏิกิริยาจากวัคซีน
- Local reaction หลังฉีดประมาณ 2-4 สัปดาห์ จะมีตุ่มแดงนูนขึ้นบริเวณที่ฉีด ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มหนอง แล้วแตกออกเป็นแผล แผลจะเป็นอยู่นาน 4-6 สัปดาห์ แล้วจะหายเหลือเป็นแผลเป็น (BCG scar) อาจพบ ปฏิกิริยาที่รุนแรง เช่น ฝีในชั้นใต้ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองใกล้ที่ฉีดโต ซึ่งส่วนใหญ่จะหายเอง กระดูกอักเสบ (osteiltis) จาก BCG พบเฉพาะบางสายพันธุ์ของ BCG
- Disseminated fatal infection พบ 0.06-1.56 รายต่อการฉีดวัคซีน 1 ล้านครั้ง มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกัน บกพร่องแต่กำเนิด เช่น severe combined immune deficiency
คำแนะนำ
• หากมีหนองหรือมีแผลเกิดขึ้น เนื่องจากเป็นผลข้างเคียงที่ปกติ เด็กสามารถอาบน้ำได้ตามปกติ ดูแล จุดที่ฉีดวัคซีนให้สะอาดและแห้ง ใช้น้ำต้มสุกที่เย็นแล้วในการท้าความสะอาดแผลบริเวณนั้น
-
-
-
HB (Hepatitis B Vaccine)
-
-
ข้อบ่งใช้ วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ บี ให้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแบบ Active Immunization ต่อการติดเชื้อไวรัส ตับอักเสบ บีในบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสิ่งปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี แนะนำให้ฉีดวัคซีนในเด็ก แรกเกิด ทารก และวัยรุ่น เช่นเดียวกับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ได้รับ เลือด นักโทษ บุคคลที่ใช้สารเสพติด เป็นต้น
ขนาดและวิธีใช้ เด็กแรกเกิด เด็กอ่อน และเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ใช้วัคซีนขนาด 10 ไมโครกรัม (0.5มล) ผู้ใหญ่และ เด็กอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ใช้วัคซีนขนาด 20 ไมโครกรัม (1 มล.) เด็กและวัยรุ่น อายุระหว่าง11-19ปี อาจใช้ ขนาด 10 ไมโครกรัม หรือ 20 ไมโครกรัม
ผลข้างเคียง 1-3วันแรกหลังฉีด คือ แผลช้ำอ่อนๆ ผื่นแดงบริเวณฉีด เป็นไข้ อ่อนเพลีย และมีอาการคล้ายเป็นหวัด อาการที่พบน้อยมาก ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ผลการทดสอบการท้างานของตับผิดปกติ ผื่น แดง คัน และมีอาการลมพิษร่วม
ข้อควรระวัง ไม่ควรฉีดที่สะโพกหรือผิวหนังเนื่องจากอาจทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไม่เต็มที่ ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยีสต์
-
-
-
Oral poliovirus vaccine
-
กลไกการออกฤทธ์ เป็นวัคซีนที่เตรียมจากเชื้อไวรัสอยู่ที่ยังมีชีวิตอยู่แต่เป็นสายพันธุ์ที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลงแล้วไม่ก่อให้เกิด โรคในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติเป็นวัคซีนรวมเชื้อทั้งสามไทป์ (ไทป์ 1 ,2,3)ให้โดยการรับประทานซึ่งเป็นการ เลียนแบบของการติดเชื้อโรคนี้ตามธรรมชาติท้าให้ร่างกายเกิดภูมิคุ้มกันได้ดีอยู่และอยู่ได้นานรวมทั้งทำให้เกิด ภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ต่อเชื้อไวรัสโปลิโอที่เยี่อบุในล้าคอและล้าไส้ด้วยซึ่งจะช่วยยับยั้งการแพร่เชื้อและการระบาด ของโรคได้รวดเร็ว
ขนาดและวิธีใช้
ให้โดยการรับประทานขนาด dose ละ 0.1 - 0.5 มิลลิลิตร 2-3 หยด (แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต) การให้ วัคซีน OPV ในกรณีที่ขวดเป็นหลอดพลาสติกขนาดบรรจุครั้งละหลาย doses (multiple doses) ควรต้อง ระวังมิให้ปากขวดสัมผัสกับปากเด็กเพราะอาจเกิดการปนเปื้อนเชื้อจากเด็กคนหนึ่งไปสู่เด็กอีกคนหนึ่งได้ ใน กรณีที่เป็นหลอดแก้ว (ampule) ขนาดบรรจุหนึ่งโดส (single doses)
มักให้พร้อมกับวัคซีน DTP การให้ชุดแรกควรให้ 4 ครั้งเมื่ออายุประมาณ 2 ,4,6เดือน และครั้งที่4 เมื่ออายุประมาณ 18 เดือนและให้วัคซีนเสริมกระตุ้นอีกครั้ง ซึ่งเป็นการให้ครั้งที่ 5 เมื่ออายุ 4-6 ปี
เด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนในขวบปีแรกควรให้รับประทาน 3 ครั้งเว้นระยะห่างแต่ละครั้ง 2 เดือนและครั้งที่ 4 อีก 6 เดือนถึง 1 ปีถัดมา และให้กระตุ้นอีกครั้งเป็นครั้งที่ 5 เมื่ออายุ4 -6 ปีเว้นแต่ว่าได้รับครั้งที่ 4 เมื่ออายุ มากกว่า 4 ปี
เด็กที่อายุมากกว่า 6 ปีแต่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนโปลิโอมาก่อน ควรให้วัคซีน 3 ครั้งที่ 0 ,2 และ 12 ผลข้างเคียงของวัคซีนชนิดหยด คือ อาจเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาตคล้ายโรคโปลิโอได้ แต่พบ ได้ไม่มาก (พบ 1.4-3.4 ต่อล้านโด๊ส)
ข้อควรระวัง:
1.ห้ามให้วัคซีน OPV แก่ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (immune deficiency) หรือได้รับยาที่ท้าให้มี ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในภาวะเช่นนี้ให้ใช้ IPV แทน ยกเว้นผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่ง WHO ให้ใช้OPV ได้เหมือนเด็กปกติ ไม่ว่าจะมีอาการของโรคเอดส์หรือไม่ก็ตาม เพราะได้มีประสบการณ์ใช้อย่างมาก ไม่พบว่าทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้น
2.ห้ามให้วัคซีน OPV แก่เด็กที่ผู้ใกล้ชิดในบ้านมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันกรณี นี้ให้ใช้ IPV แทน
3.ไม่ควรให้วัคซีนโปลิโอในผู้ที่มีประวัติแพ้รุนแรง anaphylaxis) ต่อยาปฎิชีวะ ซึ่งเป็นส่วนผสมของ วัคซีนได้แก่ streptomycin, neomycin,หรือ polymyxin-B
-
-
-
วัคซีนโรต้า
รูปแบบ วัคซีนโรต้าเป็นวัคซีนแบบรับประทานชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ ปัจจุบันวัคซีนโรต้าในท้องตลาดมี ทั้งชนิดหยอด 2 ครั้ง และหยอด 3 ครั้ง
ข้อห้ามใช้
- ห้ามให้วัคซีนโรต้าในเด็กที่มีอายุเกินกว่าที่กำหนด (โด๊สแรกห้ามอายุเกิน 15 สัปดาห์
-
- ห้ามให้ในเด็กที่แสดงอาการแพ้ยาหลังได้รับวัคซีนโรต้าในครั้งก่อน หรือแพ้ส่วนประกอบตัวใดตัวหนึ่งของวัคซีน
- ห้ามให้ในเด็กที่มีประวัติเคยเป็นโรคลำไส้กลืนกัน (Intussusception)
- ห้ามให้ในเด็กที่เป็นโรคระบบทางเดินอาหารผิดปกติตั้งแต่กำเนิดที่ยังไม่ได้รับการรักษาเช่น Meckel’s diverticulum ซึ่งมีแนวโน้มที่อาจก่อให้เกิดโรคล าไส้กลืนกัน
- ห้ามให้ในเด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิด severe combined immunodeficiency
ผลข้างเคียง
-
ความผิดปกติที่พบไม่บ่อย (≥ 1:1,000): ท้องอืด ปวดท้อง ผิวหนังอักเสบ
ทำมาจากเชื้อไวรัสโรต้าที่ทำให้อ่อนฤทธิ์จนก่อโรคไม่ได้ จึงมีความปลอดภัยสูง และมีประสิทธิภาพดีในการป้องกันโรค อย่างไรก็ตามวัคซีนยังคงป้องกันโรคได้ไม่สมบูรณ์ แม้จะได้รับวัคซีนก็ยังอาจเกิดโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้าได้ แต่อาการมักไม่ค่อยรุนแรง
-