Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Cancer, ชื่อนางสาวนฤมล คำหล่า รหัส61122230046 เลขที่41
นักศึกษาพยาบาลศาสต…
Cancer
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ความหมาย
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองคือ มะเร็งที่เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกของเซลล์เม็ดเลือดขาว Lymphocyte ในระบบน้ำเหลืองซึ่งเป็นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตเร็วมากโดยไม่มีอาการเจ็บปวด
การจำแนกชนิด
ชนิดที่1. มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจืกิน (Hodgkin's Lymphoma:HL) เซลล์ต่อมน้ำเหลืองผิดปกติทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต
ชนิดที่2. มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin's Lymphoma:NHL) มีความผิดปกติใน Lymphocyte ของต่อมน้ำเหลืองทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตร่วมกับเกิดขึ้นในอวัยวะอื่น
พยาธิสรีรวิทยา
HL: เกิดจากเซลล์ Reed-Sternberg Cell ซึ่งเป็นเซลล์ขนาดใหญ่มีนิวเคียสหลายอันซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคมะเร็งชนิดนี้
NHL: เกิดจากความผิดปกติของการแบ่งตัวทั้ง B-lymphocyte and T-lymphocyte ทำให้เกิดต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น
ลักษณะอาการ
ชนิด HL มักมาด้วยอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอโตเป็นปี ระยะแรกต่อมจะเริ่มโตทีละต่อมมักเป็นซีกเดียวของร่างกาย กดไม่เจ็บ เบื่ออาหาร มีไข้ เหงือออกมากน้ำหนักลด
ชนิด NHL มักมาด้วยอาการเริ่มมีก้อนโตที่บริเวณช่องท้องอย่างรวดเร็วมีอาการคล้ายกับชนิด HL แต่มีการดำเนินของโรคเร็วกว่าและมีการแพร่กระจายมาก
การรักษา
HL: จะนิยมใช้รังสีรักาาหรือเคมีบำบัดหรือรักษาร่วมกันโดยรังสีรัษาและแคมีบำบัดเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งให้ได้มากที่สุด
NHL: จะใช้เคมีบำบัดเป็นหลักโดยใช้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดรวมกันนอกจากนี้ยังรักษาแบบประคับประคอง
การวินิจฉัยโรค
1.การซักประวัติอย่างเช่นการได้รับรังสีตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือการติดเชื้อไวรัสบางชนิด
2.ตัดชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองไปตรวจดูชนิดของเซลล์
3.เจาะไขกระดูกตรวจเพื่อแยกจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
4.ตรวจเลือดเพื่อนับเม็ดเลือดแดง-ขาว เกล็ดเลือด ต่อมไทรอยด์
5.เอกซเรย์ หรือตรวจCT scan เพื่อดูปอดและต่อมน้ำเหลืองในช่องอก
ปัญหาและการพยาบาล
Nursing Diagnosis: เจ็บปวด เนื่องจากการรักษาโดยเคมีบำบัด รังสีรักษา
Intervention: 1.ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
2.ดูแลให้เด็กพักผ่อนอย่างน้อย10 ชั่วโมงและช่วยเหลือเด็กทำกิจวัตรประจำวัน
3.พูดคุยและรับฟังเด็กหรือให้เล่นของเล่นเพื่อเบี่ยงเบนจากอาการเจ็บปวด
4.ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาและคอยประเมินอาการเจ็บปวดว่าลดลงหรือไม่
มะเร็งเซลล์ประสาท
ความหมาย
เนื้องอกชนิดร้ายแรงในช่องท้องที่มีเซลล์ต้นกำเนิดมาจาก Neuroblast Cell แล้วพัฒนาเป็นระบบ Sympathetic ganglia ที่เป็นระบบประสาทอยู่ทั่วร่างกายเนื้องอกชนิดนี้มีความรุนแรงเพราะมีการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นได้มาก
พยาธิสรีรวิทยา
เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ตัวอ่อนซึ่งกลายเป็น adrenal gland medulla,sympathetic neuvous system จึงพบก้อนเนื้องอกที่adrenal gland, abdominal gland บริเวณส่วนกลางของลำตัว โดยมีการหลั่ง catecholamines ออกสู่กระแสเลือด
ลักษณะอาการ
-พบก้อนในช่องท้อง
-มีก้อนกดที่อวัยวะต่างๆเช่น ก้อนกดไต ท่อนำปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อยหรือมีการคั่งของปัสสาวะ
-ถ้ามีการแพร่กระจายของมะเร็ง อาจทำให้เกิดตาโปนหรือมีรอยช้ำรอบๆดวงตา ปวดกระดูก
-น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
-หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ความดันโลหิตสูง
การรักษา
1.การผ่าตัด ทำได้ในระยะที่1-2 ถ้าผ่าตัดได้หมดแต่ถ้ายังไม่แน่ใจใช้รังสีร่วมกับเคมีบำบัด
2.รังสีรักษา เนื้องอกในเด็กมีก้อนโตมากอาจใช้รังสีรักษษเพื่อให้ก้อนเล็กลงก่อนทำผ่าตัด
3.เคมีบำบัดมักจะใช้ร่วมกับการผ่าตัดเมื่อมีการกระของโรคไปยังอวัยวะต่างๆแล้ว
4.การรักษาด้วการปลูกถ่ายไขกระดูก
การวินิจฉัยโรค
1.ซักประวัติการเกิดก้อน ประวัติการเกิดอาการผิดปกติ
2.ตรวจร่างกาย พบอาการซีด หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ควาดันโลหิตสูงหรือพบก้อนตามร่างกาย
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการเช่น การตรวจไขกระดูก เอกซเรย์ทรวงอก การเก็บปัสสาวะ24ชั่วโมง
ปัญหาและการพยาบาล
Nursing Diagnosis: ความสามารถในการทำกิจกรรมลดลงเนื่องจากผลข้อางเคียงของยาเคมีบำบัด
Interventions:
1.ให้เด็กนอนบนเตียงเพื่อลดการใช้ออกซิเจนลดแสงและเสียงรบกวน
2.จัดหาของเล่นที่เหมาะสม ไม่อันตรายและปลอดภัย
3.บันทึกสัญญาณชีพทุก4ชั่วโมง และสังเกตุดูอาการอย่างใกล้ชิด
4ดูแลช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของเด็ก
5.ประเมินความอดทนต่อกิจกรรมต่างๆ
6.อธิบายเหตุผลที่ต้องจำกัดกิจกรรมให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรม
7.แนะนำให้เด็กทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ไข่แดง ตับ ผักสีเขียว เนื้อสัตว์ เป็นต้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
ความหมาย
คือมะเร็งของระบบโลหิตที่มีการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาวผิดปกติจึงมีเม็ดเลือดขาวจำนวนมากเซลล์มะเร็งแทรกไปยังอวัยวะต่างต่างๆทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร ภูมิคุ้มกันต่ำเพราะเซลล์เม็ดเลือดขาวไม่สามารถทำงานได้เหมือนเซลล์ทั่วไป
พยาธิสรีรวิทยา
เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวก่อกำเนิดจากเซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูกเมื่อเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนเกิดขึ้นจะถูกส่งออกไปสู่กระแสเลือดและสะสมอยู่ในอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของร่างกายซึ่งเป็นผลจากการที่มีการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนจำนวนมากจะส่งผลให้การทำงาานของไขกระดูกผิดปกติ
ลักษณะอาการ
-อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว ซีด หายใจเร็ว
-มีจุดจ้ำเลือดบริเวณผิวหนัง ปวดท้อง ถ่ายเป็นสีดำ
-ตับโต ม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต
-มีอาการทางระบบประสาทเช่น ปวดศีรษะ
-น้ำหนักลด เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
การรักษา
1.การรักษาจำเพาะ
-Induction of remission:ทำลายมะเร็งให้มากที่สุด
-Intensive treament:ทำลายมะเร็งที่เหลือ
-Maintenance therapy:ไม่กลับมาเป็นซ้ำ/หายขาดจากโรค
2.การรักษาแบบประคับประคอง
3.การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก
การวินิจฉัยโรค
1.ประวัติการได้รับยา รังสี หรือสารเคมีต่างๆและประวัติการเป็นมะเร็งครอบครัว
2.การตรวจร่างกาย มีไข้ มีจุดเลือดออก คลำพบก้อน
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-การตรวจนับเม็ดเลือดขาว
-ตรวจไขกระดูก
-ภาพรังสีทรวงอก
ปัญหาและการพยาบาล
Nursing Diagnosis:เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากภูมิต้านทานของร่างกายลดลงจากไขกระดูกถูกกดการทำงาน
Intervention:
1.ดูแลความสะอาดร่างกายอยู่สม่ำเสมอโดยเฉพาะช่องปาก ผิวหนังและอวัยวะสืบพันธุ์
2.ดูแลให้ได้รับสารน้ำ สารอาหารและพักผ่อนอย่างเพียงพอ
3.ดูแลสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้สะอาดและปราศจากเชื้อ
4.ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาเพื่อลดการติดเชื้อ
5.ให้คำแนะนำและสอนวิธีป้องกันการติดเชื้อ
6.แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
มะเร็งไต
ความหมาย
คือ มะเร็งของเนื้อเยื่อเริ่มแรกหรือต้นกำเนิดโรคเนื้อไตที่ไม่สามารถเติบโตได้ตามปกติโดยพบความผิดปกติของโครโมโซมในเซลล์มะเร็ง
พยาธิสรีรวิทยา
มะเร็งหรือเนื้องอกที่ไตเป็นเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่มีเปลือกหุ้มชัดเจนอาจเกิดบริเวณตรงกลางของไตแล้วลุกลามออหไปทั่วไตหรือออกไปนอกไตถ้าลุกลามออกมานอกไตมักจะเข้าไปในส่วนของอุ้งเชิงกรานอาจจะกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หลอดเลือดดำที่ไตหรืออวัยวะอื่น เช่น ปอด
ลักษณะอาการ
1.มีก้อนในช่องท้องมีขอบเขตชัดเจน ลักษณะก้อนเรียบ กดไม่เจ็บ
2.ปัสสวะเป็นเลือด ตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ
3.มีความดันโลหิตสูง
4.อาการซีดซึ่งอาจจะเกิดภายหลังจากที่เลือดออกในก้อนมะเร็ง
5.มีอาการแพร่กระจายของโรคไปที่ปอดเช่น ไอ เหนื่อย
การรักษา
1.การผ่าตัดต้องตัดไตข้างที่เป็นออก
2.รังสีรักษาใช้รังสีรักษาหลังผ่าตัดเอาก้อนออก
3.ยาเคมีบำบัด การรักษาด้วยวิธีนี้ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งทุกราย
การวินิจฉัยโรค
1.ซักประวัติ การถ่ายเป็นเลือด มีก้อนในท้อง ปวดในท้อง
2.ตรวจร่างกาย เพื่อหาความผิดปกติแต่กำเนิดและอาการแสดงเช่น อ่อนเพลีย มีไข้
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจเลือด เจาะไขกระดูกเพื่อดูการแพร่กระจายของโรค
ปัญหาและการพยาบาล
Nursing Diagnosis:เจ็บปวดเนื่องจากพยาธิสภาพของโรค
Intervention: 1.ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่งโมง
2.ดูแลให้เด็กพักผ่อนอย่างน้อย 10 ชั่วโมง และช่วยเหลือเด็กในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
3.จัดกิจกรมมนันทนาการให้เหมาะสมกับวัยของเด็กและสภาพอาหารของเด็กเพื่อลดความเครียด
4.เปิดโอกาสให้เด็กได้ระบาความรู้สึกความเจ็บปวดของเด็กโดยการพูด
5.สังเกตุอาการปวดโดยการสอบถามจากผู้ปกครองและจากการใช้แบบประเมินความเจ็บปวด
6.ให้ยาแก้ปวดตามแผจการรักษาและประเมินอาการเจ็บปวดว่าลดลงหรือไม่
เนื้องอกในสมอง
ความหมาย
คือภาวะที่มีเนื้องอกในสมองหรือระบบประสาทซึ่งเกิดจากเซลล์ในระบบประสาทที่แบ่งตัวผิดปกติหรืออาจเกิดจากเซลล์มะเร็งนอกระบบประสาทกระจายมายังระบบประสาท
ลักษณะอาการ
-เนื้องอกสมองไปรบกวนการทำงานที่ปกติของสมองเฉพาะจุดเช่น เกร็งเฉพาะที่ กระตุก แขนขาอ่อนแรง
-เนื้องอกไปรลบกวนการทำงานของสมองทั้ง2ซีกเช่น อาการเปลี่ยนแปลงของระดับรู้สึกตัว
-อาการที่เกิดจากการไหลเวียนของน้ำในสมองผิดปกติอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อาเจียน ซึมลง เสียการทรงตัว
-อาากรเฉพาะในเด็กที่กระหม่อมยังไม่ปิดอาจทำให้ขนาดศีีรษะโตกว่าเด็กปกติ
การรักษา
1.การผ่าตัด
-การรักษาภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงจากภาวะน้ำในสมองอุดตันเฉียบพลัน
-การผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกออก
2.การฉายแสง
3.การให้ยาต้านเนื้องอกเช่น ยาเคมีบำบัด
4.การให้ยากันชักในผู้เนื้องอกสมอง
การวินิจฉัยโรค
1.ซักประวัติอาการทางระบบประสาท
2.การตรวจร่างกายเพื่อหาตำแหน่งพยาธิของโรคแบ่งเป็น3ชนิด
-มีรอยโรคเพียงจุดเดียวในระบบประสาท
-มีรอยโรคมากกว่า1ตำแหน่งในระบบประสาท
-มีรอยโรคนอกระบบประสาทร่วมด้วย
3.การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเตอมที่สำคัญคือ การทำ CT scan,การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของสมอง
ปัญหาและการพยาบาล
Nursing Diagnosis: ไม่สามรถปรับตัวได้เนื่องจากกลัวความตายและมีอาการป่วยที่รุนแรง
Interventions:
1.ประเมินพฤติกรรมของเด็กและครอบครัวที่จะเปลี่ยนไปตามแนวคิดเกี่ยวกับการสูญเสีย
2.วางแผนร่วมกับบิดสมารดาที่จะดูแลเด็กให้สุขสบาย
3.ในเด็กโตควรให้โอกาสแสดงความรู้สึกอย่างเปิดเผยและรับฟังเด็กด้วยความเข้าใจและเห็นใจ
4.หลีกเลี่ยงการพูดวิจารณ์ถึงตัวเด็กในบริเวรที่เด็กจะได้ยิน
5.ให้บุคคลในครอบครัวเข้าเยี่ยมและอยู่กับเด็กได้ตลอดเวลา
6.ให้สมาชิกในครอบครัวอยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่อย่างลำพัง
-
-