Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการและทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหาร - Coggle Diagram
วิวัฒนาการและทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหาร
ค ทฤษฎีการบริหารสมัยใหม่ (Modern theory)
การบริหารงานจะประสบผลสำเร็จ ถ้ามีการทำงานเป็นกลุ่มหรือเป็นทีม (team)และจะต้องจัดเป็นระบบ (system) ระบบจะดีได้ต้องพัฒนาคนให้เป็นคนดี
มีความสามารถพอที่จะแก้ปัญหาได้อย่างมีหลักการ
1.ทฤษฎีระบบ(System theory)
-ระบบปิดเป็นระบบที่มีความสมบูรณ์ภายในตัวเอง ไม่พยายามผูกพันกับระบบอื่นใดและแยกคนจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ในสังคมซึ่งเป็นจริงได้ยาก
-ระบบเปิด เป็นระบบที่อาศัยการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคล องค์การหรือหน่วยงานอื่นๆ ในลักษณะการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกันและผลประโยชน์นั้นต้องสมดุล
2.ทฤษฎีบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory)
มุ่งเน้นที่จะให้ยอมรับกันว่าในทางปฏิบัติไม่มีวิธีการบริหารใดที่ดีที่สุด (no one best way) ที่จะใช้ได้ในทุกการบริหาร ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของสถานการณ์
2.1 ฟีดเลอร์พัฒนารูปแบบจำลอง “ความเป็นผู้นำตามสถานการณ์”ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของสถานการณ์ที่มีต่อความเป็นผู้นำ เสนอว่าประสิทธิผลของผู้นำอยู่กับความเหมาะสมระหว่างรูปแบบผู้นำและสถานการณ์ ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Least Preferred Co-worker : LPC ในการประเมินรูปแบบผู้นำว่ารูปแบบเน้นความสัมพันธ์หรือเน้นงาน
2.2 วรูม และ เยตัน (Victor Vroom, Phillip Yetton and Jago) เสนอทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงสถานการณ์ Leader Participation Model เน้นการเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจของผู้นำ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ตามมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
2.3 โรเบิร์ต เฮาส์ (Robert House) เสนอแนวความคิดผู้นำเชิงสถานการณ์ ทฤษฎีเส้นทาง-เป้าหมาย (Path-goal Theory) มีความเห็นว่า ภาวะผู้นำเกี่ยวข้องกับการจูงใจ กล่าวได้ว่าใช้แรงจูงใจเป็นแรงผลักให้สู่เป้าหมายทั้งส่วนบุคคลและขององค์การ
2.4 เฮร์เซย์และแบลนชาร์ด ( Hersey and Blanchard ) ทฤษฎี “วงจรชีวิต” ของเฮร์เซย์และแบลนชาร์ด เสนอทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (Situational Leadership Theory: SLT) แบ่งระดับความพร้อมของ
ผู้ตามเป็น 4 ระดับ
R1 หมายถึง ไม่มีความสามารถ และไม่มีความเต็มใจที่จะทำ ถือว่าความพร้อมต่ำ
R2 หมายถึง ไม่มีความสามารถ แต่ เต็มใจที่จะทำ ถือว่าความพร้อมปานกลาง
R3 หมายถึง มีความสามารถ แต่ ไม่มีความเต็มใจที่จะทำ ถือว่าความพร้อมปานกลาง
R4 หมายถึง มีความสามารถ และเต็มใจที่จะทำ ถือว่าความพร้อมสูง
3.ทฤษฎีการบริหารเชิงปริมาณ(quantitative theory) เป็นทฤษฎีการบริหารจัดการ ที่นำเทคนิคคณิตศาสตร์และวิธีการเชิงสถิติ
ช่วยในการแก้ปัญหา
3.1 การบริหารศาสตร์ (management science) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจให้แก่ผู้บริหาร
3.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (management information system : MIS)
เน้นการออกแบบและการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศ
3.3การจัดการปฏิบัติการ (operations management) เป็นทฤษฎีสมัยใหม่ที่พัฒนามาจากทฤษฎีการจัดการ เน้นการใช้แนวทางเชิงปริมาณเข้าช่วยในการตัดสินใจ
4.ทฤษฎี 7’S ซึ่งเป็นแนวคิดแบบจำลองของแมคคินซีย์
(Mc Kinsey) เป็นกลยุทธ์การบริหารที่ช่วยให้เกิด
ความสำเร็จในองค์การสูง
1) โครงสร้าง(structure) การจัดระเบียบองค์ประกอบขององค์การที่เหมาะสม จะช่วยให้องค์การนั้นประสบผลสำเร็จ
2) กลยุทธ์(strategy) แผนกำหนดวิธีการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การจะต้องมีแผนพัฒนามีโครงการ
ไว้อย่างเด่นชัดกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินการที่
นำไปสู่การปฏิบัติได้ทุกหน่วยงาน
3) ระบบ(system)วิธีการดำเนินงานขององค์การระเบียบวิธีปฏิบัติงาน ได้แก่ ระบบการวางแผนระบบรายงาน
การประเมินผล ระบบที่ดีเป็นระบบที่เน้นการปฏิบัติ
Hard Ss เป็นอุปกรณ์แห่งความสำเร็จ
Soft Ss เป็นส่วนเนื้อหาแห่งความสำเร็จ
1) แบบการบริหาร(style) ลักษณะพฤติกรรมของผู้บริหารในองค์การที่รู้งานและทำงานอย่างจริงจัง
2) บุคลากร(staff) คุณลักษณะของบุคลากร หน่วยงาน
จะประสบผลสำเร็จจะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้
ควาสามารถ มีทัศนคติและพฤติกรรมการทำงานที่
ตอบสนองเป้าหมายขององค์การ
3) ทักษะ(skills) ความสามารถเด่นของผู้บริหาร
ในองค์การที่มีความเข้มงวดและผ่อนปรนอย่างเหมาะสม
และต่อเนื่อง
4) ค่านิยมร่วม(shared values) ผลรวมของค่านิยมส่วนบุคคลบุคลากรมีความเชื่อมั่นในศักยภาพขององค์การและตนเองร่วมกัน
การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (T.Q.M.=total quality management) เป็นแนวคิดการบริหารที่ยึดคุณภาพเป็นหัวใจของทุกเรื่อง เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพชนะการแข่งขัน
การรื้อปรับระบบ (reengineering)การสร้างกระบวนการทำงานขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลง ประสบการณ์ ตลอดจนวิทยาการต่างๆ มีจุดมุ่งหมายให้ผลการทำงานดีขึ้นในหลายๆ ด้าน
หลักสำคัญของการรื้อระบบประกอบด้วยเน้นความสำคัญของ
ผู้รับบริการเป็นหลัก (focus on customer)
ในการบริหารการพยาบาลอยู่บนพื้นฐานกรอบแนวคิด ดังนี้
1) การปรับระบบด้านการจัดการทางการพยาบาล (nursing management)
เน้นการบริหารแบบแมตริกซ์(matrix organization) ที่เน้นรูปแบบการมีส่วนร่วม
ของหน่วยงานในองค์การ ที่สำคัญต้องแสดงให้เห็นถึงผลผลิตและคุณภาพของ
ผลงาน เน้นผู้รับบริการมากกว่ากิจกรรม
2) การปรับระบบด้านบริการพยาบาล (nursing service)
ต้องได้รับความสะดวก รวดเร็วในการใช้บริการมีความพึงพอใจในบริการ
ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
องค์การสมัยใหม่(Modern Organization)
มีการนำรูปแบบการบริหารองค์กรใหม่ๆมาใช้ในการบริหารองค์กร
7.2 องค์การสมรรถนะสูง(High Performance Organisation) เป็นองค์การแห่งนวัตกรรม มีวัฒนธรรมองค์การเป็นตัวยึดเหนี่ยว ทำให้พนักงาน มีค่านิยมร่วมกับพนักงานและผู้บริหารทำงาน
ร่วมกันได้เป็นอย่างดี
Gartner Group ระบุคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี
การตั้งเป้าหมายที่ท้าทายและแสวงหาแนวทางในการบรรลุ
เป้าหมายนั้น
2.การมีค่านิยมร่วมกันของบุคลากรทั่วทั้งองค์การ
3.การมุ่งเน้นที่ยุทธศาสตร์และการทำให้ทั่วทั้งองค์การดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน
7.1 องค์การแห่งการเรียนรู้(Learning Organization )
องค์การต้องสร้างวินัย 5 ประการ (fifth discipline) ให้เกิดขึ้นแก่บุคลากรดังต่อไปนี้
-บุคลากรที่มีความรอบรู้(personal mastery)
-รูปแบบความคิด(mental models)
-วิสัยทัศน์ร่วม (shared vision)
-การเรียนรู้เป็นทีม(team learning)
-ความคิดเป็นระบบ (system thinking)
8.องค์การยุคหลังสมัยใหม่(Post Modern Organization)
ใช้แนวคิดการสร้างเหตุผล(reasoning)และการแตกกระจาย(fragmentation)
มีคุณลักษณะของความเป็นปัจเจกบุคคลนิยม(individualism) ความร่วมมือ
ระหว่างประเทศ(internationalization) การแบ่งแยกองค์การ(organizationalsegregation) และการกระจายอำนาจ (decentralization)
8.4 องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)
เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งแรกประมาณช่วงต้นทศวรรษ 1980 ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากในต่างประเทศ
8.3 5s Model ประกอบด้วย SMALL
SMART :ฉลาดทรงภูมิปัญญา องค์การสมัยใหม่มุ่งสู่ความเฉลียวฉลาด
มีความเเปลกใหม่ มีนวัตกรรมใหม่
SMILE : ยิ้มเเย้มเปี่ยมน้ำใจ องค์การที่มีความสุข
SMOOTH : ความร่วมมือไร้ความขัดเเย้ง องค์การไม่มี
ความขัดเเย้งเเละมีการผนึกความร่วมมือ
SIMPLIFY : ทำเรื่องยากให้ง่ายเเละรวดเร็ว องค์การต้องปรับปรุงให้ง่ายขึ้น
8.2 การจัดองค์การแบบแชมรอค
(Shamrock Organization)
แบ่งกลุ่มงานภายในองค์การออกเป็น 3 กลุ่มที่สำคัญ คือ
1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ(professional core)
2) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานจากภายนอก(outsourcing vendors)
3) กลุ่มพนักงาน
8.1 ทฤษฎีไร้ระเบียบ หรือที่มี่ชื่อเรียกว่า Chaos theory)
ศึกษาถึงกฎเกณฑ์และคุณสมบัติของปรากฏการณ์ทางวัตถุ ในทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ที่มักเกิดความยุ่งเหยิง
ขนาดเล็ก ๆ ขึ้นซึ่งปรากฏการณ์นี้ไม่เป็นไปตามภาวะที่
ควรจะเป็นอันมีความเป็นระเบียบ เป็นลักษณะพื้นฐาน