Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคม (PSYCHOSOCIAL THEORIES OF AGING) - Coggle…
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคม (PSYCHOSOCIAL THEORIES OF AGING)
ทฤษฎีการถดถอยจากสังคม
(DISENGAGEMENT THEORY)
เชื่อว่าบุคคลเมื่อถึงวัยสูงอายุจะสามารถยอมรับใบบทบาทและหน้าที่ของตนที่ลดลงทำให้ผู้สูงอายุสวนใหญ่มีลักษณะแยกตัวออกจากสังคมที่ละน้อยหรือต้องการปล่อยวางเป็นอิสระทั้งนี้อาจเนื่องจากสัมพันธภาพของผู้สูงอายุและบุคคลรอบข้างมีน้อยลบเช่นการเกษียณอายุการทำงาน
ทฤษฎีการมีกิจกรรมร่วมกับ
(THE ACTIVITY THEORY)
การที่ผู้สูงอายุจะประสบความสำเร็จได้ผู้สูงอายุต้องมีการทำกิจกรรมอยู่เสมอไม่ถอนตัวออกจากสังคมและสิ่งแวดล้อมผู้สูงอายุจะมีความพึงพอใจในชีวิตถ้ายังคงมีกิจกรรมในสังคมซึ่งการทำกิจกรรมจะช่วยส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีอัตมโนทัศน์ที่ดี
ทฤษฎีความต่อเนื่อง
(CONTINUITY THEORY)
ผู้สูงอายุอาจจะมีความสุขในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพและแบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีมาในอดีตที่แต่ละคนเคยปฏิบัติมาก่อนและบุคลิกภาพเป็นผลมาจากความพึงพอใจในชีวิตต่อการมีบทบาทในกิจกรรมนั้นๆ
ทฤษฎีอีริกสัน (ERIKSON 'S EPIGENETIC THEORY)
อีริคสันได้แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพของชีวิตโดยเน้นความแตกต่างของความสัมพันธ์ระหว่างช่วงอายุของคนเรากับความต้องการด้านเจตคติและทักษะและความต้องการด้านจิตใจไว้เป็น 8 ระยะ
ทฤษฎีของเพค
(PECK 'S THEORY)
โรเบิร์ตเพคได้แบ่งผู้สูงอายุเป็นสองกลุ่มคือผู้สูงอายุวัยต้นอยู่ในช่วงอายุ 55-55 ปีและวัยปลายอยู่ในช่วง 75 ปีขึ้นไปซึ่งทั้งสอบกลุ่มนี้จะมีความแตกต่างกับด้านกายภาพและจิตสังคมทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่าผู้สูงอายุมีการพัฒนาการ 3 ประการ
ความรู้สึกของผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับงานที่ทำอยู่
ผู้สูงอายุจะรู้สึกภาคภูมิใจและเห็นว่าตนเอง
มีคุณค่าแต่เมื่อเกษียณอายุแล้วความรู้สึกนี้จะลดลง
ผู้สูงอายุยอมรับว่าเมื่ออายุมากขึ้น
สมรรถภาพของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป มีความแข็งแรงลดลง
ชีวิตจะมีความสุขถ้าสามารถยอมรับและปรับความรู้สึกนี้ได้
ผู้สูงอายุยอมรับว่าร่างกายต้องเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ
ยอมรับเรื่องความตายโดยไม่รู้สึกกลัว
ทฤษฎีความต้องการพื้นฐานของมาสโลว
(MASLOW 'S THEORY)
แต่ละบุคคลจะมีลำดับขั้นตอนความต้องการไม่เหมือนกันการพยายามทำเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้อบการจะเป็นแรงจูงใจทำให้ส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น ๆ เมื่อบุคลได้รับการตอบสนองความต้องการในระดับหนึ่งเขาจะพยายามที่จะแสวงหาความต้องการในระดับที่สูงขึ้น
ทฤษฎีของ (JUNG 'S THEORY OF ANDIVIDUALISM)
ทฤษฎีนี้อธิบายว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะสามารถยอมรับในการกระทำที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นกับเขาในอดีต
ทฤษฎีของบูเลอร์
(COURSE OF HUMAN LIFE THEORY)
ได้อธิบายเกี่ยวกับบุคลิกภาพของผู้สูงอายว่าแต่ละคนจะมีเป้าหมายในชีวติที่แตกต่างกันซึ่งทุกคนจะใช้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ที่ดีที่เขาสามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้หรือประสบการณ์ที่ผิดพลาดหรือล้มเหลวเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขปัจจุบันโดยผ่านกระบวนการทบทวนชีวิตเรียกว่า“ LIFE REVIEW PROCESS "