Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงชีวภาพ (Biological theories of aging) - Coggle Diagram
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงชีวภาพ
(Biological theories of aging)
ทฤษฎีความสูงอายุที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
(Genetic theory)
1.1 ทฤษฎีพันธุกรรมทั่วไป (General genetic theory) กล่าวคือ อายุขัยของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีอายุขัยไม่เท่ากัน ทั้งนี้ถูกกำหนดขึ้นโดยรหัสพันธุกรรม มนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ย 70 ปี สำหรับผู้หญิงจะอายุขัยยืนกว่าผู้ชายโดยเฉลี่ยประมาณ 8 ปี
1.2 ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมในเซลล์ (Cellular genetic theory) ถ้าโมเลกุลของ DNA ถูกทำลายไปจะทำให้สารประกอบอยู่ถัดตำแหน่งไปได้ยีนก็จะมีความผิดปกติ เอนไซม์ที่สร้างโดยการควบคุมของยีนที่ผิดปกติอาจจะมีน้อยหรือไม่ทำหน้าที่ก็ได้ มีผลให้ปฏิกิริยาในร่างกายต้องอาศัยเอนไซม์ตัวนี้มาเกี่ยวข้องก็จะเกิดขึ้นได้น้อย การทำหน้าที่ของเซลล์ก็จะเสียไปและมีความผิดปกติ
1.3 ทฤษฎีการผ่าเหล่า (Somatic mutation theory)
1.4 ทฤษฎีความผิดพลาด (Error theory of aging) ถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นในขั้นตอนของการถ่ายทอดในการสังเคราะห์โปรตีนหรือเอนไซม์ จะทำให้มีการจำลองโปรตีนหรือเอนไซม์ซึ่งมีลักษณะและคุณสมบัติผิดไปจากเดิม นอกจากนั้นพบว่าเอนไซม์ส่วนใหญ่จะทำหน้าที่ได้น้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น
1.5 ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolution theory) ความสูงอายุมีความปรับตัวตามวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต โดยจะมีการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่าเพื่อควมอยู่รอดในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
1.6 ทฤษฎีนาฬิกาชีวภาพ (Watch spring theory) ความสูงอายุถูกกำหนดไว้โดยรหัสที่อยู่ในยีนกำหนดเซลล์ต่างๆหรือระบบแก่ลงเมื่อถึงเวลาที่กำหนดให้สำหรับมนุษย์ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมดีจะทีอายุเฉลี่ยประมาณ 85-90 ปี
ทฤษฎีความสูงอายุที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
(Nongenetic cellular theory)
2.1 ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory) ทฤษฎีนี้ได้เปรียบเทียบสิ่งมีชีวิตคล้ายกับเครื่องจักร เมื่อมีการใช้งานมาก ๆ ก็จะเกิดความผิดปกติขึ้น แต่มนุษย์และเครื่องจักรจะแตกต่างกันเพราะมนุษย์สามารถที่จะซ่อมแซมตัวเองและใช้งานต่อไปได้โดยกระบวนการสร้างใหม่เพื่อทดแทน เช่น เซลล์ของผิวหนัง
2.2 ทฤษฎีการสะสม (Accumulative theory) ความสูบอายุของเซลล์เกิดจากการคั่งค้างยองของเสียสะสมในเซลล์เป็นระยะเวลานานทำให้เซลล์เปลี่ยนแปลงรูปร่างและเสียปฏิกิริยาทางเคมี
2.3 ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free radial theory) เชื่อว่าความสูงอายุเกิดจากร่างกายมีการสะสมของอนุมูลอิสระมากขึ้น จนเกิดเป็นสารหรือโมเลกุลที่มีฤทธิ์ทำลาย อนุมูลอิสระอาจเกิดจากการ Metabolism ของร่างกายเอง หรือจากการรับเข้าจากภายนอกก็ตามแล้วไปทำปฏิกิริยากับไขมันที่ไม่อิ่มตัวในเซลล์
2.4 ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross-linking theory)
ทฤษฎีนี้อธิบายว่าความสูงอายุเกิดขึ้นจากมีการเชื่อมตามขวางของโมเลกุลของโปรตีนส่วนใหญ่จะพบการเชื่อมตามขวางมากที่สุดใน
อิลาสตินและคอลลาเจนซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในร่างกายของสิ่งมีชีวิต
2.5 ทฤษฎีเกี่ยวกับความเครียดและการปรับตัว
(Stress and adaptation theory) ปฏิกิริยาของร่างกายต่อความเครียดจะมีผลรบกวนการทำฐานของเซลล์และทำให้เซลล์ตายได้ภาวะที่ต้องเผชิญกับความเครียดบ่อย ๆ จะทำให้เกิดความสูบอายุได้เร็ว
ทฤษฎีความสูงอายุที่เกี่ยวข้องกับสรีรวิทยา (Physiological theory)
3.1 ทฤษฎีภูมิคุ้มกัน (Immunological theory) ระบบภูมิคุ้มกันประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ หลายส่วนท่าหน้าที่ป้องกันร่างกายจุลินทรีย์ที่ได้รับจากสิงแวดล้อมภายนอกและเซลล์แปลกปลอมซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายของตนเองเช่นการติดเชื้อเซลล์มะเร็ง
ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ (Neuroendocrine theory)
4.1 ต่อมใต้สมอง โดยเฉพาะต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะเสื่อมหน้าที่ลงอย่างรวดเร็ว ฮอร์โมนต่่ำซึ่งเป็นผลให้สูญอายุเบื่ออาหารอ่อนเพลีย
4.2 ต่อมไทรอยด์จะมีขนาดเล็กลงหลับอายุ 50 ปีขึ้นไป
4.3 ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินได้น้อยลง เป็นผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น