Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สาระสำคัญพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พุทธศักราช 2551 - Coggle Diagram
สาระสำคัญพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พุทธศักราช 2551
วัตถุประสงค์
คุ้มครองสังคมจากอันตรายที่เกิดขึ้นจากผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตและมีภาวะอันตราย
คุ้มครองผู้ป่วยจิตเวชให้ได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี เหมาะสมตามหลักสิทธิมนุษยชน
ผู้ที่มีความผิดปกติตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พุทธศักราช 2551 คือบุคคล
ที่มีภาวะอันตราย
การแสดงพฤติกรรมที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตนเอง ผู้อื่น และต่อทรัพย์สิน
ที่มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา
ผู้ที่ขาดความสามารถตัดสินใจให้ยินยอมรับการรักษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น และต่อทรัพย์สิน
ข้อปฏิบัติเมื่อพบเห็นผู้มีอาการทางจิต
สังเกต และเฝ้าระวังอาการของความผิดปกติทางจิต ดังนี้
หูแว่ว
เห็นภาพหลอน
หวาดระแวงไร้เหตุผล
คิดว่าตัวเองมีความสามารถพิเศษ
แต่งกายแปลกกว่าคนปกติ
ทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่น อยากฆ่าตัวตาย
หากมีอาการรุนแรง และมีภาวะอันตราย โปรดแจ้งบุคคล ดังนี้
บุคลากรทางการแพทย์
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต
พนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจ
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ/1669) หรือมูลนิธิ
สิทธิผู้ป่วย
ได้รับการบำบัดรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์
ได้รับการปกปิดข้อมูลการบำบัดรักษา
ได้รับการคุ้มครองในระบบประกันสุขภาพ ประกันสังคม และระบบอื่นๆ อย่างเสมอภาค
การบำบัดด้วยการผูกมัด กักบริเณ หรือแยกผู้ป่วย
ทำได้กรณีมีความจำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่น แต่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
การรักษาด้วยไฟฟ้า กระทำต่อสมอง ระบบประสาท หรือด้วยวิธีอื่น
ทำได้ กรณีได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย หรือ กรณีฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นต้องบำบัดรักษาด้วยไฟฟ้า ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานบำบัดรักษา
การทำหมันผู้ป่วย
ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย
การทำวิจัยใดๆ ต่อผู้ป่วย
ทำได้ต่อเมื่อผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นหนังสือและต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการด้านจริยธรรม การวิจัย ซึ่งความยินยอมผู้ป่วยจะเพิกถอนเมื่อใดก็ได้