Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพบพลาว - Coggle Diagram
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพบพลาว
มโนมติหลักและความสัมพันธ์ของทฤษฎี
ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumptions)
ความแตกต่างของพยาบาลแต่ละคน ส่งผลให้เกิดความแตกต่างอย่างมากในการที่ผู้ป่วยแต่ละ คนจะได้เรียนรู้ ระหว่างการได้รับการดูแลตลอดระยะเวลาที่เจ็บป่วย
มโนมติหลัก (Metaparadigm)
มโนมติหลักทางการพยาบาลเกี่ยวข้องกับบุคคล สิ่งแวดล้อม สุขภาพและการพยาบาล ตามแนวคิด ของเพบพลาว มีรายละเอียดดังนี้
บุคคล เพบพลาวกล่าวว่ามนุษย์ คือสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้ง ทางด้านกายภาพ จิตใจและสังคมอยู่ตลอดเวลา
ผู้ป่วย หรือผู้รับบริการ หมายถึงผู้ที่เจ็บป่วยและผู้ที่มีสุขภาพดี
พยาบาล เป็นสื่อกลางของศิลปะการพยาบาล เป็นการผสมผสานอย่างเป็นหนึ่งเดียวกันของ อุดมคติ ความมีคุณค่า ความมั่นคง
สิ่งแวดล้อม เพบพลาวหมายถึงปัจจัยทางด้านกายภาพ จิตใจ และสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา
สุขภาพ เพบพลาวได้กล่าวไว้ว่าเป้นคำสัญลักษณ์ที่สื่อถึงการพัฒนาไปข้างหน้าของบุคลิกภาพ และกระบวนการอื่นๆของมนุษย์ไปในทิศทางที่สร้างสรรค์
การพยาบาล เพบพลาวกล่าวว่าการพยาบาล คือ เครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ เป็นพลัง อำนาจ เพื่อส่งเสริม้เกิดความก้าวหน้าของบุคลิกภาพในแนวทางที่สร้างสรรค์
แนวคิดที่สำคัญ (Major concepts)
สัมพันธภาพระหว่างบุคค (Interpersonal relationships) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น ระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป
1.1 สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย (Nurse – Patient Relationship) เป็นสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคลที่จำเพาะเจาะจง
1.2 สัมพันธภาพระหว่างบุคคลอื่นๆ (Other Relationships) ที่นอกเหนือจากสัมพันธภาพ ระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยในปัจจุบัน
การติดต่อสื่อสาร (Communication) เป็นกระบวนการระหว่างบุคคลประกอบด้วยการ สื่อสารแบบใช้คำพูด (Verbal) และไม่ใช่คำพูด
2.1 ความชัดเจน (Clarity): คำและประโยคที่ใช้ต้องมีความชัดเจน
2.2 ความต่อเนื่อง (Continuity): ความต่อเนื่องในการสื่อสารเกิดขึ้นได้
แบบแผนการมีปฏิสัมพันธ์ (Pattern integration) เกิดเมื่อแบบแผนของบุคคลหนึ่งใช้ใน การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหนึ่ง หรือบุคคลอื่นๆ
บทบาท (Roles) บทบาทของพยาบาลอธิบบายถึงบทบาทที่มีความเกี่ยวพันกันของพยาบาล ในการช่วยเหลือผู้ป่วย บทบาทของพยาบาลโดยทั่วไปได้แก่ บทบาทคนแปลกหน้า บทบาทผู้ให้คำปรึกษา บทบาทครูสอน บทบาทผู้ให้ข้อมูล
4.1 บทบาทคนแปลกหน้า (Role of the Stranger) เป็นบทบาทที่พยาบาลและผู้รับบริการพบ กันครั้งแรก มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน
4.2 บทบาทแหล่งสนับสนุน (Role of Resource Person) เป็นบทบาทที่พยาบาลทำหน้าที่ให้ ความรู้หรือข้อมูลเฉพา
4.3 บทบาทครู (Teaching Roles) เป็นบทบาทที่พยาบาลกระทำร่วมกับบทบาทอื่นๆโดยให้ ความรู้ตามความต้องการหรือความสนใจของผู้รับบริการ
4.4 บทบาทผู้นำ (Role of Leadership) เป็นบทบาทที่ช่วยให้ผู้รับบริการเกิดความคิดริเริ่ม และสามารถดำเนินการตามเป้าหมาย
4.5 บทบาทผู้ทดแทน (Surrogate Roles) เป็นบทบาทในการทำหน้าที่ทดแทน โดยพยาบาลจะ แสดงบทบาทนี้ในภาวะที่ผู้รับบริการไม่สามารถปฏิบัติด้วยตนเองได้
4.6 บทบาทผู้ให้คำปรึกษา (Counseling Role) เป็นบทบาทในการใช้ทักษะและทัศนคติที่ฝึกมา โดยเฉพาะ ช่วยให้ผู้ป่วยตระหนัก กล้าเผชิญ ยอมรับ
ความคิด (Thinking) เป็นกระบวนการที่ประสบการณ์ต่างๆถูกรวบรวม เก็บสะสม จัดระบบ และสามารถเรียกกลับคืนได้
1 Preconceptions คือ ความคิดที่มีมาก่อนการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับพยาบาล ซึ่งหมายถึงความคิดความรู้สึกและสมมติฐานของพยาบาลและผู้ป่วยที่มีต่อกันและกันก่อน
2 Self – understanding คือ การเข้าใจตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับพยาบาลเพื่อให้การ ปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ไม่หยุดนิ่ง เป็นการนำความสามารถใน การคิดและความสามรถในการรับรู้
สมรรถนะ (Competencies) คือ ทักษะที่ถูกพัฒนาขึ้น สมรรถนะหรือศักยภาพที่สำคัญที่ ต้องการให้เกิดการพัฒนาในสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของพยาบาลและผู้ป่ว
ความวิตกกังวล (Anxiety) ความวิตกกังวลเป็นพลังงานที่ถูกกระตุ้นจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหรือ เกิดขึ้นจากจินตนาการ เกิดจากภายในหรือเกิดจากภายนอก
การนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้
การนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
การรวบรวมข้อมูล (Assessment)
ระยะเริ่มต้น (Orientation phase) พยาบาลควร แนะนำตัว เพื่อเพิ่มความรู้สึกไว้วางใจ พร้อมทั่งบอก วัตถุประสงค์ในการให้การพยาบาล อาจมีความวิตกกังวล เกิดขึ้นได้
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing Diagnosis และการวางแผนการ พยาบาล (Nursing Plan)
ระยะระบุปัญหา (Identification) เป็นระยะของการมองปัญหา ผู้ป่วยอาจพึ่งพิงพยาบาล บางรายอาจดูแลตนเองได้บ้าง
การปฏิบัติตามแผนการพยาบาล (Intervention)
ระยะดำเนินการแก้ปัญา (Exploitation) พยาบาลและผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการช่วยเหลือ เห็นคุณค่าของสัมพันธภาพ
การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล (Evaluation)
ระยะสรุปผล (Resolution Phase) ผู้ป่วยเข้าใจตนเองและสามารถแก้ไขปัญหาได้ ความ ต้องการในการช่วยเหลือลดลง
การนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัย
ประยุกต์ใช้ในงานวิจัย ซึ่งมีการนำไปใช้ ที่หลากหลายไม่เพียงในบริบทของการพยาบาลเท่านั้น แต่ยังมีการนำไปประยุกใช้ในกลุ่มอื่นด้วย
ตัวอย่างงานวิจัย เช่น
ผลของโปรแกรมสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของเด็กหญิงที่ถูกกระทำรุนแรง ในสถานแรกรับเด็กหญิง เขตภาคกลาง
สรุป
ได้กล่าวถึงระยะสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยซึ่งก่อให้เกิดเคารพความแตกต่างของแต่ละบุคคล และนำไปสู่ช่วยเหลือบุคคลที่เจ็บป่วย หรือผู้ที่มีความ ต้องการในการดูแลสุขภาพ