Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ - Coggle Diagram
ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อเชื้อที่พบบ่อยคือ Escherichia coli (E. coli) อาจเกิดจากการอุดกันของท่อทางเดินปัสสาวะหรือมีปัจจัยส่งเสริมต่อการติดเชื้อเช่นลักษณะท่อปัสสาวะของเพศหญิงที่สั้นและอยู่ใกล้กับทวารหนักจึงมีโอกาสสัมผัสต่อเชื้อโรคได้ง่ายกว่าการเปลี่ยนแปลงทงสรีรวิทยาของระบบทางเดินปัสสาวะในขณะตั้งครรภ์จากผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ได้แก่ กระเพาะปัสสาวะยืดขยายทำให้มีปัสสาวะคั่งเกิดการติดเชื้อและมีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะและอาจลุกลามไปที่ไตหรือกรวยไต
ในหญิงต้งครรภ์
กลั้นปัสสาวะบ่อย แต่งกายด้วยชุดพนักงาน
อาการและอาการแสดง
ในตำรา
ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด โดยเฉพาะตอนใกล้จะสุด กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปวดหลังหรือปวดหัวหน่าว มีไข้ต่ำๆ ปัสสาวะสีขุนอาจมีเลือดปน
ในหญิงตั้งครรภ์
ปวดท้องน้อยมา 2 วัน ปวดหน่วงท้องน้อย ปัสสาวะกระปริดกระปอย ปัสสาวะแสบขัดตอนถ่ายสุด ปัสสาวะไม่ปนเลือด ไม่มีไข้
การตรวจวินิจฉัย
ในตำรา
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ ได้แก่ การเก็บปัสสาวะส่งตรวจหรือเพาะเชื้อ
จะพบว่ามีค่าถ่วงจำเพาะสูงพบเซลล์เม็ดเลือดขาว (WBC) มากกว่า 10
cell / ml3 ย้อมติดสีแกรมลบพบเชื้อ E. coli มากกว่า 10x5 Colonies / ml
ในหญิงตั้งครรภ์
VDRL non-reactive, HbsAg negative, Blood group B Rh positive, Hct 33% Urine Analysis
WBC 10-20 cells/HPF Squamous epithelial cell 1-2 cells/HPF Bacteria numerous
การป้องกันการรักษา
การให้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ยา ampicillin 500 mg วันละ 3-4 ครั้งนาน 7-10 วันแต่รายที่มีอาการรุนแรงควรให้ ampicillin 1 mg ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำทุก 4-6 ชั่วโมงนาน 3 วันและติดตามผลการตรวจเพาะเชื้อเป็นระยะ
รายที่มีอาการติดเชื้อรุนแรงควรรักษาภาวะขาดน้ำและภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและอิเลคโตรไลต์โดยให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์
มารดา
การแท้ง
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ภาวะโลหิตจางเพิ่มสูงขึ้น
ทารก
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
การคลอดก่อนกำหนด
น้ำหนักทารกแรกเกิดน้อย
พิการแต่กำเนิด
การพยาบาล
ระยะคลอด
ดูแลให้ได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
จัดให้นอนท่าตะแคงเพื่อลดการกดทับที่ท่อไตจากมดลูกและเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกและรกได้ดีขึ้น
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงถ้ามีไข้มากกว่า 38. 5 องศาเซลเซียสให้เช็ดตัวและให้ยาลดไข้ตามแผนการรักษา
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์พักผ่อนให้เพียงพอ
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินการเต้นที่ผิดปกติและให้การรักษาทันที
ระยะหลังคลอด
รับประทานยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
แนะนำไม่ให้กลั้นปัสสาวะ
แนะนำให้ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยการอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
แนะนำให้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งภายหลังการขับถ่ายสวมใส่เสื้อผ้าที่แห้งสะอาดโดยเฉพาะกางเกงชั้นใน
ระยะตั้งครรภ์
ดื่มน้ำอย่างเพียงพอไม่น้อยกว่า 8-10 แก้วต่อวัน
ไม่ควรกลั้นปัสสาวะและสังเกตอาการผิดปกติเช่นปัสสาวะแสบขัดปัสสาวะลำบากมีไข้ปวดเหนือหัวหน่าวหรือหลังเป็นต้นถ้ามีอาการควรรีบมาพบแพทย์
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างเพียงพอเพิ่มอาหารประเภทโปรตีนวิตามินและเกลือแร่โดยเฉพาะวิตามินซีและธาตุเหล็ก
เน้นให้หญิงตั้งครรภ์เห็นความสำคัญของการมาตรวจครรภ์ตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ