Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 1 มารดาเป็นโรคหอบหืด - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ 1 มารดาเป็นโรคหอบหืด
สาเหตุ
ตำรา
เชื่อว่ามีการกระตุ้น mast cell ให้มีการหลั่ง histamine ทำให้มีการหดเกร็งของหลอดลม เยื่อบุหลอดลมบวม มีเสมหะมากขึ้นทำให้เกิดอาการหายใจลำบากโดยการกระตุ้นอาจเกิดจากปัจจัยภายนอกร่างกาย (extrinsic) เช่น การแพ้เกสรดอกไม้หรือจากปัจจัยภายในร่างกาย เช่น พันธุกรรม
กรณีศึกษา ไม่พบ
อาการ
ตำรา
หายใจลำบากมีเสียง wheezing อาจมีการใช้กล้ามเนื้อส่วนอื่นช่วยในการหายใจ เช่น กล้ามเนื้อที่ไหล่หรือคอซึ่งบ่งชี้ว่า มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจอย่างรุนแรง มีอาการไอ หายใจเร็ว เป็นต้น
กรณีศึกษา
ไม่พบ
การตรวจวินิจฉัยและการแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตำรา
การซักประวัติ ได้แก่ ประวัติการเป็นโรคหอบหืดการแพ้ยา สารเคมี อาหารหรือสิ่งต่างๆ ฝุ่น ขนสัตว์ เป็นต้น ประวัติการใช้ยาหรือเคยมีอาการและอาการแสดงของโรคหอบหืด
การตรวจร่างกายจะพบชีพจรเต้นเร็ว หายใจเร็ว หายใจลำบากมีเสียง Wheezing หรือตรวจครรภ์จะพบขนาดของมดลูกน้อยกว่าอายุครรภ์ เป็นต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การถ่ายภาพรังสีทรวงอกผลการเพาะเชื่อจากเสมหะหรือการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
กรณีศึกษา
มารดาให้ประวัติว่า ประมาณ 2 ปี ไม่ได้ประกอบอาชีพเนื่องจากเจ็บป่วยบ่อย เป็นหอบหืดตั้งแต่เด็ก
รักษาไม่ต่อเนื่อง มีอาการครั้งสุดท้ายเมื่อปีที่แล้ว ไม่มียารับประทานประจำ
VDRL non-reactive(ไม่พบเชื้อซิฟิลิส), HbsAg negative(ไม่พบเชื้อไวรัสตับอักเสบ), Blood group B Rh positive(หมู่เลือด บีRH -), Hct 36%(ความเข้มข้นของเลือดปกติ)
ผลของการตั้งครรภ์ต่อโรค
ผลต่อมารดา
ตำรา
แท้งอัตราตายจะสูงขึ้น (30-60%) เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น มีการหยุดหายใจจากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนล้า เป็นต้น
กรณีศึกษา ไม่พบ
ผลต่อทารก
ตำรา
การคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย เสียชีวิตในครรภ์หรืออัตราการตายปริกำเนิดสูงขึ้นรวมทั้งทารกที่เกิดจากมารดาเป็นโรคหอบหืดมีโอกาสเป็นโรคหอบหืดในการกว่าทารกที่เกิดจากมารดาปกติ 2-4 เท่า
กรณีศึกษา ไม่พบ
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้หลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดอาการของโรคหอบหืด เช่บ บริเวรที่มีฝุ่น
แนะนำให้นับการดิ้นของทารกในครรภ์ทุกวันเพื่อประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์
ป้องกันการติดเชื้อในร่างกายโดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจด้วยการ ทำให้ร่างกายอบอุ่น ให้ดื่มน้ำมากๆหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้หรือสัมผัสบุคคลที่เป็นหวัดสังเกตอาการผิดปกติเช่น ไอมีเสมหะ หายใจลำบาก หากมีอาการควรรีบมาพบแพทย์ทันที
รายที่มีอาการหอบหืดและใช้ยารักษาควรให้คำแนะนำเรื่องการใช้ยาถ้าใช้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว
ระยะคลอด
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะการหายใจและสังเกตอาการหายใจลำบาก
2 ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอเช่นจัดให้นอนท่าศีรษะสูงหรือให้ออกซิเจน
ระยะหลังคลอด
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะการหายใจและสังเกตอาการหายใจลำบาก
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์พักผ่อนอย่างเพียงพอจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบและสะอาด
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอเช่นจัดให้นอนท่าศีรษะสูงหรือให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์พักผ่อนอย่างเพียงพอจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบและสะอาด
ดูแลให้ได้รับขยายหลอดลมยาขับเสมหะหรือยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
สังเกตอาการผิดปกติเช่นไอเสมหะมีสีเหลืองหรือเขียวหายใจลำบากหรือมีการใช้กล้ามเนื้อไหล่และคอช่วยในการหายใจเยื่อบุหรือสีผิวเขียวคลำเป็นต้นถ้ามีอาการควรรายงานแพทย์
ดูแลความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อของร่างกาย
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ใช้แรงเพราะจะมีอาการหอบเหนื่อยได้
การรักษา
ตำรา
หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้แนะนำให้หลีกเลี่ยงปัจจัยส่งเสริม
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
การให้ยาขยายหลอดลมยาที่นิยมใช้และมีความปลอดภัยสูงคือ terbutoline และ isoproherenol แต่เนื่องด้วย terbutaline มีผลต่อการหดรัดตัวของมดลูกดังนั้นในระยะคลอดควรให้ Oxytocin เสริมส่วน isoproteirenol ใช้ควบคุมโรคที่มีอาการรุนแรงได้ดีแต่อาจทำให้ทารกผิดปกติได้จึงไม่ควรใช้ในระยะยาว
ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการของโรคไม่รุนแรงสามารถให้การดูแลเช่นเดียวกับหญิงตั้งครรภ์ปกติ
ในระยะคลอดควรให้ยาระงับปวดชนิด non-histamine releasing nacrotic
กรณีศึกษา
รักษาไม่ต่อเนื่อง ไม่มียารับประทานประจำ