Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษา2 พยาบาลหญิงตั้งครรภ์ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ - Coggle Diagram
กรณีศึกษา2 พยาบาลหญิงตั้งครรภ์
ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ เชื้อที่พบบ่อยคือ E.coli อาจเกิดจากการอุดกั้นท่อทางเดินปัสสาวะส่งเสริมให้เกิดการติดเชื้อ
การเปลี่ยนแปลงทางสรีระหญิงตั้งครรภ์ผลจากโปรเจสเตอโรน ทำให้กระเพาะปัสสาวะยืดขยาย ทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ง่าย
สภาพทั่วไป
หญิงตั้งครรภ์อายุ 28 ปี G1P0A0L0 อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ประกอบอาชีพเป็นพนักงานขายในห้างสรรพสินค้า กลั้นปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด ปวดท้องน้อย เป็นมา 2 วัน
ประวัติการตั้ครรภ์ปัจจุบัน:2 วัน ก่อนมา มีอาการปวดหน่วงท้องน้อย ปัสสาวะกระปริบกระปรอย ปัสสาวะแสบขัดตอนถ่ายสุด ปัสสาวะไม่มีเลือดปน ไม่มีไข้ อาการไม่ดีขึ้น จึงมา รพ.อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 45 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซนติเมตร
ประวัติการเจ็บป่วย:ปฏิเสธการมีโรคประจำตัว ปฏิเสธการผ่าตัด ปฏิเสธการแพ้ยา
ผลตรวจธาลัสซีเมีย:หญิงตั้งครรภ์และสามี OF negative DCIP negative
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ:VDRL non-reactive, HbsAg negative, Blood group B Rh positive, Hct 33% Urine Analysis WBC 10-20 cells/HPF Squamous epithelial cell 1-2 cells/HPF Bacteria numerous
อาการและอาการแสดง
ปัสสาวะบ่อย
ปัสสาวะแสบขัด
กลั้นปัสสาวะไม่ได้
ปวดหลังหรือปวดหัวหน่าว
มีไข้ต่ำๆ
ปัสสาวะสีขุ่น อาจมีเลือดปน
ผลของการตั้งครรภ์ต่อโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
ก่อให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงขึ้น
ผลของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะต่อภาวะสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์
การแท้ง
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
การคลอดก่อนกำหนด
น้ำหนักทารกแรกเกิดน้อย
พิการแต่กำเนิด
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติ อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
ตรวจร่างกาย T>37.5 องศาเซลเซียส มีปวดท้องน้อย ปวดหัวหน่าว ปวดหลัง
เก็บปัสสาวะส่งตรวจหรือส่งเพาะเชื้อ
พบค่าถ่วงจำเพาะสูง WBC>10 ยกกำลัง 5 cell/ml3
ย้อมติดแกรมลบ
พบเชื้อ E.coli มากกว่า 105 colonies/ml
การป้องกันและรักษา
ให้ยาปฏิชีวนะ ampicillin เพื่อฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
รายที่ติดเชื้อรุนแรง รักษาอาการขาดน้ำและความไม่สมดุลของสารน้ำและอิเลคโทไลต์ โดยให้ IV
การพยาบาล
รับประทานยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์
รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ เพิ่มโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ โดยเฉพาะวิตามินซี และธาตุเหล็ก
ดื่มน้ำเพียงพอ วันละ 8-10 แก้ว
ไม่กลั้นปัสสาวะและสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปวดหลัง ปวดหัวหน่าว ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะแสบขัด รีบมาพบแพทย์
ให้หญิงตั้งครรภ์สังเกตและนับลูกดิ้นทุกวัน
รักษาความสะอาดร่างกายและทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ เช็ดจากหน้าไปหลัง ป้องกันการติดเชื้อ และซับให้แห้ง
สวมใส่ชุดชั้นในจากผ้าฝ้ายไม่หนาจนเกินไป แห้ง สะอาด ไม่รัดรูป อากาศถ่ายเท
พักผ่อนให้เพียงพอ
หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอนามัย หรือแผ่นอนามัยโดยไม่จำเป็น เพราะจะทำให้อับชื้น เกิดการติดเชื้อช่องคลอดและปากช่องคลอดได้
สังเกตอาการผิดปกติ ได้แก่มดลูกหดรัดตัวมากกว่าปกติ มีอาการเจ็บครรภ์เป็นต้น
จัดท่านอนตะแคง ลดการกดทับที่ท่อไตจากมดลูก ทำให้เลือดไหลไปดลี้ยงรกและมดลูกดีขึ้น