Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค - Coggle Diagram
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
(acellular pertussive vaccine)
ข้อควรระวังและข้อห้ามใช้ จากการใช้วัคซีนชนิดเต็มเซลล์ ถือเป็นข้อห้ามใช้และควรระวังในการให้วัคซีนชนิดไม่มีเซลล์ด้วย ได้แก่ อาการชักภายใน 3 วันหลังได้รับวัคซีน อาการร้องไม่หยุดนานกว่า 3 ชั่วโมง หรือ เป็นลม (collapse หรือ shock – like state) ภายใน 48 ชั่วโมง หลังได้รับวัคซีน หรือมีไข้สูงกว่า 40.5 องศาเซลเซียส ภายใน 48 ชั่วโมง
(Poliomyelitis Vaccine)
(Oral Poliomyelitis Vaccine , OPV)
(inactivated Poliomyelitis Vaccine , IPV)
ปฏิกิริยาหลังให้วัคซีน
พบน้อยมาก มีรายงานว่า OPV อาจทำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนหรือผู้ที่สัมผัสกับผู้ที่ได้รับวัคซีนเป็นอัมพาต (Vaccine associated paralytic Poliomyelitis , VAPP)
หมายเหตุ
วัคซีนโปลิโอสามารถใช้ชนิดฉีดแทนชนิดรับประทานได้ทุกครั้ง ถ้าใช้ชนิดฉีดอย่างเดียวมาตลอด อาจงดครั้งที่ 4 ได้ หากใช้ชนิดรับประทานสลับกับชนิดฉีดต้องให้ 5 ครั้ง ตาม OPV การให้วัคซีนโปลิโอมากกว่าจำนวนครั้งที่กำหนดไม่มีข้อเสีย สามารถรับ OPV เพิ่มในช่วงที่มีการรณรงค์หยอดวัคซีนเพื่อกวาดล้างโปลิโอได้
ขนาดและวิธีการให้วัคซีน
OPV ให้รับประทานครั้งละ 0.1 – 0.5 มิลลิลิตร (2 หยด) การให้วัคซีนชุดแรกจะให้ 4 ครั้ง เมื่ออายุ 2 , 4 , 6 เดือน และครั้งที่ 4 เมื่ออายุประมาณ 1ปี 6 เดือน การให้วัคซีน 3 ครั้งแรก ควรให้ห่างกันอย่างน้อย 6 สัปดาห์ เพื่อให้วัคซีนครั้งก่อนถูกขับออกจากร่างกายให้หมด และให้วัคซีน เสริมกระตุ้นอีกครั้งเมื่อเข้าโรงเรียน คือ อายุ 4 – 6 ปี
IPV ที่มีขายในประเทศไทยเป็นวัคซีนที่อยู่รวมกับวัคซีน DTP จึงต้องให้พร้อมกัน โดยฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อบริเวณต้นขา หรือ ต้นแขน โดยวิธีฉีดอาจให้เพียง 2 เข็ม ให้เมื่ออายุ 2 และ 4 เดือน และเข็มที่ 3 เมื่ออายุ 1 ปี 6 เดือน และซ้ำอีกเมื่ออายุ 4 – 6 ปี
(Tetanus Toxoids : TT )
ขนาดและวิธีใช้
เด็กที่ได้รับวัคซีนครบตามกำหนด และได้ครั้งสุดท้ายไม่เกิน 5 ปี ไม่ต้องฉีดซ้ำอีก
เด็กที่ได้รับวัคซีนครบตามกำหนด และได้ครั้งสุดท้ายมาแล้ว5 – 10 ปี ให้ฉีดกระตุ้นอีกครั้ง
ขนาด 0.5 มิลลิลิตร
เด็กที่ได้รับวัคซีนครบตามกำหนด และได้ครั้งสุดท้ายนานเกิน 10 ปี ให้พิจารณาบาดแผล ถ้า
เป็นแผลสดให้ฉีด tetanus toxoids อย่างเดียว 1 ครั้งแต่ถ้าแผลเก่าเกิน 24 ชั่วโมงให้ฉีดแบบข้อ 5
เด็กที่ไม่ทราบประวัติ หรือการได้รับวัคซีนไม่แน่นอน หรือได้รับแต่ไม่ครบ หรือไม่เคยได้รับ
วัคซีนมาก่อน ให้ฉีดวัคซีนบาดทะยักใหม่จนครบ 3 ครั้ง โดยเข็มแรกฉีดห่างกัน 1 – 2 เดือนฃ
และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่2 นาน 6 – 12 เดือน (0, 1-2 , 6 -12 เดือน)
ในกรณีเด็กที่มีแผลฉกรรจ์ หรือ แผลสกปรก หรือสงสัยว่ามีการติดเชื้อบาดทะยักให้ฉีด
Tetanus antitoxinร่วมด้วย ซึ่งจะต้องให้คนละตำแหน่งกับ tetanus toxoid และห้ามผสมยา 2 ชนิดนี้ในกระบอกฉีดยาเดียวกัน เพราะจะ neutralize กันทำให้ยาเสื่อมฤทธิ์
ในหญิงตั้งครรภ์ ฉีดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่มารดาและทารกแรกเกิด ถ้าไม่เคยได้รับวัคซีนมา
ก่อน ให้วัคซีนจำนวน 3 ครั้ง ขนาด 0.5 มิลลิลิตร เข็มที่ 1 ให้ครั้งแรกที่พบ ไม่ว่าอายุครรภ์เท่าไหร่ก็ตามเข็มที่ 2 ให้ห่างจากเข็มแรก 1 – 2 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 6 เดือน ถ้าฉีดไม่ทันขณะตั้งครรภ์ ให้ฉีดได้หลังคลอด
(Rubella virus vaccine –Live :RVV -L)
ปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีน
ประมาณร้อยละ 2 – 5 ของผู้รับวัคซีนอาจมีไข้ต่ำๆ ปวดตามข้อ ในวันที่ 8 -12 หลังจากฉีดวัคซีน อาการจะคงอยู่ประมาณ 24 ชั่วโมง แล้วหายไป บางรายอาจมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณต้นคอโต และมีผื่นจางๆร่วมด้วย
ข้อควรระวัง
ห้ามให้วัคซีนนี้แก่ผู้ที่แพ้ neomycin หรืออยู่ในระยะที่เจ็บป่วยอาการรุนแรง มีไข้สูง และห้ามให้วัคซีนป้องกันหัดเยอรมันแก่หญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงที่อาจมีการตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือน ถ้ามีการฉีดยาโดยเข้าใจผิด ไม่ต้องทำแท้ง เพราะยังไม่มีหลักฐานหรือรายงานทารกที่ได้รับอันตรายจากการฉีดวัคซีนให้มารดา ส่วนผู้ที่มีความผิดปกติในภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือได้ยากดภูมิคุ้มกันไม่ควรรับวัคซีนนี้ ยกเว้นผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ยังไม่มีอาการ เช่นเดียวกับวัคซีนโรคหัด
ขนาดและวิธีการใช้
ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ขนาด 0.5 มิลลิลิตร โดยฉีดได้ตั้งแต่อายุ 15 เดือนขึ้นไป
(Measles, Mumps, Rubella Vaccine, MMR)
ปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีน
ปวด บวม บริเวณที่ฉีด มีไข้ ผื่นขึ้นตามตัว อาจมีอาการคล้ายแพ้ยา หายใจลำบาก
ข้อควรระวัง เช่นเดียวกับวัคซีนหัด หัดเยอรมัน
ขนาดและวิธีการให้วัคซีน
ฉีดครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร เข้าใต้ผิวหนัง บริเวณต้นขาส่วนกลางด้านหน้า เยื้องออกไปด้านนอก หรือต้นแขน โดยฉีดในเด็กอายุ 9 – 12 เดือน และอายุ 4 – 6 ปี
หัด (Measles virus vaccine – live : MVV-L)
ขนาดและวิธีใช้
ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ขนาดที่แต่ละบริษัทกำหนดเอง โดยฉีด 2 ครั้ง เมื่ออายุ 9 – 12 เดือน และ 4 – 6 ปี
ปฏิกิริยาหลังฉีดวัคซีน
อาจมีไข้ระหว่างวันที่ 5 – 12 หลังจากได้รับวัคซีน ไข้มักจะหายไปเองวันที่ 2 – 5 วัน เด็กที่มีประวัติชักจากไข้สูงอาจชักได้ บางรายมีผื่นพร้อมกับไข้เป็นผื่นแดงคล้ายหัด และหายเอง ภายใน 2 วัน บางรายอาจมีอาการคล้ายหวัดร่วมด้วย
ข้อควรระวัง
ไม่ควรให้วัคซีนนี้แก่หญิงตั้งครรภ์
ห้ามให้กับเด็กที่ป่วยเป็นวัณโรค
เด็กที่เป็นไข้
เด็กที่มีประวัติแพ้ Neomycin
ผู้ที่แพ้ไข่
เด็กที่ได้รับเลือด พลาสมา
เด็กที่ต้องการทดสอบทูเบอร์คูลิน
เด็กที่มีความผิดปกติในภูมิคุ้มกันของร่างกาย
(Haemophilus influenza type B :Hib)
ขนาดและวิธีให้
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อขนาด 0.5 มิลลิลิตร ส่วนกำหนดการฉีดขึ้นอยู่กับอายุและชนิดของวัคซีน
ปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีน
ปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีน โดยทั่วไปพบว่ามีความปลอดภัยสูง มีปฏิกิริยาเพียงเล็กน้อย เช่น ไข้ ปวดบวมเฉพาะที่น้อยกว่าร้อยละ 6
หมายเหตุ
การฉีดกระตุ้น แนะนำให้ฉีดตอนอายุ 12 -18 เดือน โดยต้องห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือน
ข้อควรระวัง
ห้ามฉีดในผู้ที่แพ้ส่วนประกอบของวัคซีนได้แก่ aluminium hydroxide,thimerosal
(Japanese Encephalitis Virus Vaccine :JE - VAX)
ปฏิกิริยาหลังฉีดวัคซีน
อาจมีอาการปวด บวมคัน หรือ เจ็บบริเวณที่ฉีด อาจมีไข้ต่ำๆ หรือ ปวดศีรษะ และ ชัก ซึ่งพบได้น้อย ส่วนอาการที่รุนแรง การแพ้อย่างเฉียบพลันอาจเกิดจากการแพ้ เจลาตินที่เป็นส่วนประกอบของวัคซีน พบได้น้อยมาก อาการมักเกิดภายใน 1 ชั่วโมง หลังฉีด
ขนาดและวิธีการให้วัคซีน
ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง บริเวณต้นแขนหรือต้นขา สายพันธุ์ Nakayama เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีฉีดครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร ฉีดบริเวณกึ่งกลางต้นขาค่อนออกมาด้านหน้าค่อนไปด้านข้าง แต่ถ้าเป็นเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไปหรือผู้ใหญ่ให้ฉีดบนต้นแขนบริเวณกล้ามเนื้อเดลตอยด์ครั้งละ 1 มิลลิลิตร สายพันธุ์ ครั้งละ 0.25 มิลลิลิตร ถ้าเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ให้ฉีดบริเวณกึ่งกลางต้นขาค่อนออกมาด้านหน้าค่อนไปด้านข้าง แต่ถ้าเป็นเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไปหรือผู้ใหญ่ให้ฉีดบนต้นแขนบริเวณกล้ามเนื้อเดลตอยด์ ครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร เริ่มให้วัคซีนเมื่ออายุ 12 -18 เดือน ให้ 2 ครั้ง ห่างกัน 1 – 4 สัปดาห์ และฉีดเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 1 ปี
ข้อควรระวัง
ไม่ควรให้วัคซีนในกรณีที่เด็กมีไข้สูง มีประวัติชักภายใน 1 ปี ก่อนการให้วัคซีน มีประวัติแพ้วัคซีนชนิดนี้ หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไต โรคตับ เบาหวาน หรือขาดสารอาหาร และเด็กที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ต่อมน้ำเหลือง มะเร็งระยะกระจาย
(enfluenza virus vaccine)
ขนาดและวิธีใช้
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เด็กเล็กบริเวณต้นขาส่วนกลาง เยื้องออกมาด้านนอก เด็กโตหรือผู้ใหญ่บริเวณต้นแขน
ปฏิกิริยาหลังฉีดวัคซีน
มีผลข้างเคียงน้อยไม่รุนแรง ได้แก่ ไข้ ปวดเมื่อย เจ็บปวดเฉพาะที่ ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ไข่แบบเฉียบพลัน
(Human papillomavirus : HPV)
ขนาดและวิธีการใช้
จำนวนครั้งที่ต้องได้รับวัคซีนขึ้นอยู่กับอายุของผู้ได้รับวัคซีน ขณะฉีดวัคซีน เข็มแรก ดังนี้ ก) หญิงที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกเมื่ออายุระหว่าง 9-13 ปีฉีด 1 โด๊ส (0.5 มล.) เข้ากล้ามเนื้อ จำนวน 2 ครั้ง โดยเข็มที่สองห่างจากเข็มแรก 6 เดือน ข) หญิงที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกเมื่อมีอายุตั้งแต่14 ปีขึ้นไป ฉีด 1 โด๊ส (0.5 มล.) เข้ากล้ามเนื้อ จำนวน 3 ครั้ง โดยเข็มที่สองห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน และเข็มที่สามห่างจากเข็มแรก 6 เดือน
(Hepatitis B Vaccine : HBV)
ขนาดและวิธีการให้วัคซีน
เด็กอายุเกิน 10 ปี ขึ้นไปและผู้ใหญ่ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขนขนาด 1 มิลลิลิตร จำนวน 3 ครั้ง
ระยะเวลาในการฉีดเช่นเดียวกับทารกแรกเกิด – 10 ปี
การฉีดกระตุ้น การศึกษาในผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีนตับอักเสบระยะยาว พบภูมิต้านทานจะลดลง
ตามลำดับแต่ในคนปกติที่มีสุขภาพปกติและไม่มีปัจจัยเสี่ยงไม่แนะนำให้ฉีดกระตุ้น
ทารกแรกเกิดถึง 10 ปี ฉีดครั้งละ 0.25 – 0.5 มิลลิลิตร แล้วแต่ชนิดของวัคซีน เข้ากล้ามเนื้อบริเวณต้น
แขนหรือต้นขาด้านนอก 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 2 ฉีดห่างครั้งแรก 1 – 2 เดือน ครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งแรก 6 เดือน
ปฏิกิริยาหลังฉีดวัคซีน
พบได้บางราย อาจมีอาการปวด บวม หรือมีไข้ต่ำๆ อาการเริ่มประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง จะเป็นอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
(Diptheria,Tetanustoxiods and Pertussis
Vaccine Combined, DTP)
ขนาดและวิธีการให้วัคซีน
ให้เด็กอายุ 2 เดือน ถึง 6 ปี โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งละ0.5 มิลลิลิตร 3ครั้ง ห่างกันทุก 2 เดือน และเข็มที่ 4 ห่างจากเข็มที่ 3 ไปแล้ว 6 – 18 เดือน นิยมฉีดเมื่อเด็กอายุ 2 , 4 , 6 เดือนและ 1 ปี 6 เดือน และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อเด็กอายุ 4 – 6 ปี
ปฏิกิริยาหลังฉีดวัคซีน
มีไข้สูง ร้องกวนได้ เด็กบางรายบริเวณที่ฉีดอาจมีอาการปวด บวม แดงร้อน อาการมักเริ่มประมาณ 3-4 ชั่วโมงหลังได้รับวัคซีน และเป็นอยู่ไม่เกิน 2 วัน ควรแนะนำให้มารดาเช็ดตัว และให้ยาลดไข้ใน ในกรณีที่เด็กตัวร้อนมาก และร้องกวน ถ้าบวมแดงบริเวณที่ฉีดใน 24 ชม.แรกประคบน้ำเย็น หลังจากนั้นให้ประคบน้ำอุ่น
ข้อควรระวัง
ไม่ควรให้วัคซีน DTP ในรายที่เมื่อได้รับวัคซีนนี้มาก่อนแล้วเกิดอาการดังนี้
ไข้สูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส ภายในเวลา 48 ชมหลังฉีด
อาการคล้ายช๊อก ตัวอ่อน (collapse) ภายในเวลา 48 ชมหลังฉีด
ร้องไห้ไม่หยุดนานเกินกว่า 3 ชม.
ชักโดยมีไข้ หรือไม่มีไข้ก็ตาม ภายใน 3 วัน
BCG (Bacillus Calmette Guerin)
ปฏิกิริยาหลังให้วัคซีน
หลังฉีดจะเกิดตุ่มขาวซีดอยู่ชั่วขณะหนึ่งขนาดประมาณ 7 – 8 มิลลิเมตร หลังจากนั้นจะเป็นตุ่มสีแดง นาน 1 เดือน ต่อมามีน้ำขุ่นคล้ายหนองออกมาเป็นๆหายๆ นาน 1 – 2 เดือน แล้วหายเป็นแผลเป็นเล็กๆ
ขนาดและวิธีการให้วัคซีน
ฉีดเข้าในผิวหนัง (Intracutaneousหรือ Intradermal injection) บริเวณหัวไหล่ของกล้ามเนื้อเดลตอยด์ ขนาด 0.1 มิลลิลิตร
(Diphtheria and Tetanus Toxoids Combined, DTหรือ dT)
วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ และบาดทะยัก สำหรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ (dT)
ขนาดและวิธีการให้วัคซีน
วัคซีนDT ใช้สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ที่ไม่สามารถให้วัคซีน DTP ได้เนื่องจากอันตรายจากวัคซีนไอกรน หรือเด็กที่เคยป่วยเป็นไอกรนมาก่อนแล้ว ขนาดและวิธีใช้ เช่น เดียวกับ DTP
วัคซีน dT ใช้สำหรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ที่ไม่เคยได้รับ DTP มาก่อนขนาดและวิธีใช้ เช่นเดียวกับการใช้ DTP
ข้อห้ามใช้
ในเด็กที่มีอาการแพ้เฉียบพลัน (anaphylaxis) หลังฉีดวัคซีนทันที เช่น อาการปากบวม หายใจลำบาก ความดันโลหิตต่ำ ห้ามให้วัคซีนตัวใดตัวหนึ่งทั้ง DTwPหรือ DTaPเนื่องจากอาจแพ้แอนติเจนตัวใดตัวหนึ่งในวัคซีน ส่วนรายที่มีอาการทางสมอง (encephalopathy) ภายใน 7 วัน หลังฉีดวัคซีน เช่น ไม่รู้สึกตัว หรือชักไม่หยุดต่อเนื่อง 2 – 3 ชั่วโมงภายใน 24 ชั่วโมง หลังฉีดวัคซีนโดยไม่พบสาเหตุอื่น ให้ใช้วัคซีน DT แทน DTP
ปฏิกิริยาหลังฉีดวัคซีน
ปฏิกิริยาเฉพาะที่ เช่น บวม แดง เจ็บ และปฏิกิริยาทั้งระบบชนิดไม่รุนแรง เช่น ไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส ซึม เบื่ออาหาร ร้องกวน และปฏิกิริยาทั้งระบบชนิดรุนแรง เช่น อาการชักภายใน 3 วันหลังได้รับวัคซีน อาการร้องไม่หยุดนานกว่า 3 ชั่วโมง หรือ เป็นลม (collapse หรือ shock – like state)
วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ และ บาดทะยัก สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี (DT)
วัคซีนอื่นๆที่อาจเสริมให้หรือทดแทน
(Varicella virus vaccine live : VZV vaccine)
(Rotavirus vaccine)
(Hemophilul Influenza)
การเก็บวัคซีน
เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 2 – 8 องศาเซลเซียส ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง จะทำให้วัคซีนเสีย และไม่ควรให้ถูกแสง เมื่อผสมแล้วต้องใช้ให้หมดหรือทิ้งในวันเดียว