Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
3.4กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์,…
3.4กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
การประกอบวิชาชีพการพยาบาล เป็นการปฏิบัติงานที่กระทำต่อชีวิตมนุษย์ ซึ่งหากเกิดความผิดพลาดย่อมทำให้เกิดความเสียหายขึ้นกับ ชีวิต ร่างกาย โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจทำให้ ผู้ประกอบวิชาชีพต้องได้รับโทษ
ความผิดทางอาญา
ความผิดทางอาญา
ความผิดต่อแผ่นดิน
ความผิดที่สำคัญและร้ายแรง มีผลกระทบต่อ ผู้ได้รับความเสียหายและส่งผลกระทบกระเทือนแก่สังคมส่วนรวม
ความผิดส่วนตัว
ความผิดที่ไม่ร้ายแรง และมีผลกระทบกระเทือนต่อผู้ที่ได้รับความเสียหายแต่ฝ่ายเดียว ถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวต่อผู้ที่ได้รับผลร้ายเท่านั้น ความผิดประเภทนี้ตัวผู้ได้รับความเสียหายเท่านั้นที่จะฟ้องร้องได้เอง
กฎหมายอาญา
การกระทำที่เป็นความผิดและการลงโทษผู้ฝ่าฝืนไว้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมความประพฤติของบุคคลให้อยู่ภายในขอบเขตที่ถูกที่ควร มิให้ละเมิดสิทธิ์ของบุคคลอื่น
ประเภทของกฎหมายอาญา แบ่งเป็น 2 ประเภท
ประมวลกฎหมายอาญา
กฎหมายที่รวบรวมการกระทำผิดสำคัญๆ และบังคับใช้ เช่น ความผิดบานลักทรัพย์ รับของโจร วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ปลอมแปลงเอกสาร ข่มขืนกระทำชำเรา ฯลฯ
2.กฎหมายอาญาประเภทอื่นๆ
ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเฉพาะเรื่องนอกจากที่ได้กล่าวไว้
หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา
2.การกระทำนั้นกฎหมายบัญญัติว่าเป็นการกระทำผิดและกำหนดโทษไว้
3.ต้องกระทำโดยเจตนา หากเป็นการกระทำโดยประมาทหรือไม่เจตนา ต้องมีกฎหมายกำหนดไว้ด้วยว่าจะต้องรับโทษ
1.ต้องมีการกระทำ
4.ไม่มีกฎหมายยกเว้นความรับผิดหรือกฎหมายยกเว้นโทษ
การกระทำ
การกระทำโดยเจตนา
มาตรา 59 วรรค 2 การกระทำโดยเจตนา ได้แก่ กระทำโดยรู้สึกในการกระทำและขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
องค์ประกอบของการกระทำโดยเจตนา
ต้องกระทำโดยรู้สึกในการกระทำ
ต้องกระทำโดยประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล
การกระทำโดยประมาท
มาตรา 59 วรรค 4 กระทำโดยประมาท ได้แก่ กระทำความผิดโดยมิได้เจตนา แต่ทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลเหล่านั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังแต่ไม่เพียงพอ
องค์ประกอบของการกระทำโดยประมาท
1.การกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ไม่เจตนากระทำผิด
2.ได้กระทำไปโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะ เช่นนั้น ต้องมีตามวิสัย และพฤติการณ์
3.ผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังได้ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่
การเคลื่อนไหวร่างกายภายใต้การบังคับของจิตใจและควบคุมได้ การเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่อยู่ในบังคับของจิตใจหรือไม่อาจควบคุมได้ เช่น รีเฟล็กซ์(reflex) อาการชักกระตุก(convulsion) หรือไม่รู้สึก(unconscious) ไม่ถือเป็นการกระทำอันเป็นองค์ประกอบที่จะต้อง รับโทษทางอาญา
การกระทำโดยไม่เจตนา
การกระทำที่ไม่ทั้งประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำ หรือเป็นการกระทำที่ผู้กระทำต้องการให้เกิดผลอย่างหนึ่งแต่เมื่อกระทำแล้วผลที่เกิดขึ้นรุนแรงกว่าที่ตั้งใจไว้
การกระทำโดยงดเว้น
บทบัญญัติของกฎหมายนี้ถือว่าการที่บุคคลใดมีหน้าที่ที่จะต้องกระทำการใด เพื่อป้องกันผลร้ายอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ต้องถือบุคคลผู้มีหน้าที่นั้นเป็นผู้กระทำให้เกิดผลร้ายแรงเอง
หน้าที่จักต้องกระทำอาจเกิดขึ้นได้ 2 กรณี
1.โดยกฎหมายบัญญัติ เช่น บิดา มารดา มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร
2.โดยการกระทำของผู้กระทำผิดเอง
เช่น รับจ้างเป็นพยาบาลมีหน้าที่ดูแลให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย แต่งดเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตน หลับเวรปล่อยให้ออกซิเจนหมด ผู้ป่วยถึงแก่กรรม
ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
หลักเกณฑ์ “ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย”
ภยันตรายนั้นเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
ต้องเป็นการกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายนั้น
ต้องเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
เหตุยกเว้นโทษ
บุคคลที่กระทำผิดตามธรรมดาก็ย่อมต้องรับโทษตามกฎหมาย แต่บางกรณีบุคคลกระทำความผิดการกระทำนั้นเป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ เพราะมีเหตุยกเว้นโทษตามกฎหมาย
กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
ผู้ใดกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คำสั่งนั้นจะมิชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้กระทำมีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม
หลักเกณฑ์ กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน เจ้าพนักงาน หมายถึง บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย
คำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง คำสั่งที่กฎหมายไม่ให้อำนาจที่จะให้ออกคำสั่งเช่นว่านั้นได้
ผู้กระทำมีหน้าที่ หรือเชื่อโดยสุจริตใจว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม
ความยินยอม
บุคคลที่กระทำผิดตามธรรมดาก็ย่อมต้องรับโทษตามกฎหมาย แต่บางกรณีบุคคลกระทำความผิดการกระทำนั้นเป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ เพราะมีเหตุยกเว้นโทษตามกฎหมาย
ความยินยอมต้องมีอยู่ในขณะกระทำผิด
ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น การยอมให้ฆ่าไม่อาจกระทำได้เพราะผิดกฎหมาย
ต้องยินยอมโดยบริสุทธิ์ใจ มิได้เกิดขึ้นจากความหลอกลวง ขู่เข็ญหรือสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
กระทำผิดเพราะไม่สามารถรู้ผิดชอบ
ผู้ใดกระทำความผิดในขณะไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่องโรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น
หลักการของ การกระทำเพราะไม่สามารถรู้ผิดชอบ
เพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้
เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นก็ได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อขึ้น เพราะความผิดของตน
อายุความและโทษทางอาญา
หากผู้เสียหายได้ปล่อยปละละเลยหรือจำเลยได้หลบหนีไปจนหมดอายุความแล้ว
การลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญานอกจากการกระทำต้องมีกฎหมายกำหนดไว้ชัดแจ้งว่าเป็นความผิดแล้ว ต้องอยู่ในระยะของอายุความที่ศาลจะลงโทษได้ด้วย
พนักงานอัยการผู้เป็นโจทย์ก็จะสั่งฟ้องผู้ต้องหาไม่ได้ หรือศาลจะสั่งลงโทษจำเลยอีกไม่ได้
การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์กับความผิดทางอาญา
การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ อาจเกิดปัญหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาขึ้นได้ หากผู้ประกอบวิชาชีพมิได้ใช้ความระมัดระวังหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และมักเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับ
การทำหรือรับรองเอกสารอันเป็นเท็จ
• ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชี หรือวิชาชีพอื่นใด ทำคำรับรองเอกสารอันเป็นเท็จ
โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำให้แท้งลูก
• ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
กฎหมายอาญาอนุญาตให้แพทย์ทำแท้งให้กับหญิงได้ และโดยหลักเกณฑ์กำหนดให้ผู้ทำแท้งเป็นแพทย์เท่านั้น
ประมาทในการประกอบวิชาชีพ
กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์
และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
การเปิดเผยความลับผู้ป่วย
หรือโดยเหตุที่เป็นผู้ร่วมในการประกอบอาชีพนั้น แล้วเปิดเผยความลับนั้นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษเช่นกัน
โดยเหตุที่ประกอบอาชีพเป็นแพทย์ เภสัชกร คนจำหน่ายยา ผู้พยาบาล นางผดุงครรภ์ นักบวช ทนายความ หรือผู้สอบบัญชี หรือโดยเหตุที่เป็นผู้ร่วมในการประกอบอาชีพนั้น
ทอดทิ้งหรือปล่อยปละละเลยผู้ป่วย
ผู้ใดมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญา ต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้เพราะอายุ ความเจ็บป่วย กายพิการ หรือจิตพิการ
ทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้นั้นเสียโดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประกอบวิชาชีพโดยผู้ป่วยไม่ยินยอม
ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด
โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง
การไม่ช่วยเหลือหรือปฏิเสธการประกอบวิชาชีพ
หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
• ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนหรือผู้อื่น
สภาพบังคับของกฎหมาย
การลงโทษเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความรู้สึกของชุมชนในการโต้ตอบผู้ที่กระทำละเมิด กฎระเบียบ และก่อให้เกิดความไม่สงบในสังคมผู้กระทำผิดอาจได้รับโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต หรือถูกกันออกไปจากสังคม
โทษสำหรับผู้กระทำ
ริบทรัพย์สิน
ปรับ
กักขัง
จำคุก
ประหารชีวิต
นางสาวกิตติยา จีนาภักดิ์ เลขที่ 12 36/1 612001013
อ้างอิง: ธิดารัตน์ ขยันหา.(2563).กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์.ค้นเมื่อ พฤษภาคม 5,2563 จาก
https://drive.google.com/file/d/13jPSb5haiSzmPLuk34dXv9VOpNExy7dq/view