Coggle requires JavaScript to display documents.
วัคซีนหลายชนิดอาจให้พร้อมกันในวันเดียวกันได้ โดยทั่วไปวัคซีนชนิดเชื้อตายสามารถให้พร้อมกันได้ แต่ควรให้คนละตำแหน่ง (ไม่ผสมฉีดใน syringe เดียวกัน)
การให้วัคซีนช้ากว่ากำหนด ไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันน้อยลง ในทางตรงกันข้ามถ้าฉีดวัคซีนเร็วกว่ากำหนด อาจทำให้ภูมิคุ้มกันน้อยลง
เด็กที่มีไข้ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปจนกว่าไข้จะหาย
ผู้ที่ได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือดมาไม่ถึง 3 เดือน ไม่ควรให้ฉีดวัคซีนชนิดเชื้อเป็น จะต้องเลื่อนการให้วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอย่างน้อย 5-11 เดือน
เด็กที่รับประทานยาสเตียรอยด์ขนาดสูงกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ไม่ควรให้วัคซีนชนิดเชื้อเป็นจนกว่าจะหยุดยาไปแล้วอย่างน้อย1 เดือนแต่ถ้าได้ยามาไม่เกิน 2สัปดาห์ สามารถให้วัคซีนได้ทันทีที่หยุดยา
ผู้ป่วยที่แพ้วัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีน ควรหลีกเลี่ยงการให้วัคซีน
เด็กที่มีประวัติชักจากไข้สูง สามารถให้วัคซีนได้ แต่ต้องให้ยาลดไข้ป้องกันไว้ก่อน
เด็กที่คลอดก่อนกำหนดควรได้รับวัคซีนตามอายุหลังคลอดเช่นเดียวกับเด็กปกติ ยกเว้นการให้วัคซีนตับอักเสบบีในทารกที่น้ำหนักน้อยกว่า 2,000 กรัม
อายุที่ควรให้วัคซีนขึ้นอยู่กับข้อมูลทางวิทยาการระบาดของโรค อายุที่ป่วยเป็นโรคบ่อย เป็นต้น
ขนาดของวัคซีนในเด็กและผู้ใหญ่ไมได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวเหมือนยาปฏิชีวนะ
การให้วัคซีนซ้ำ ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าเคยได้รับวัคซีนนั้นมาครบ หรือเคยเป็นโรคมาแล้ว การได้รับวัคซีนซ้ำอีก ไม่มีอันตรายใดๆ
เด็กที่เคยได้รับวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน แล้วเกิดอาการชักภายใน 3 วันหรือมีอาการทางสมอง (encephalopathy) ภายใน 7 วัน ไม่ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิด whole cell ในครั้งต่อไป
เด็กที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติแต่กำเนิด ไม่ควรให้วัคซีนชนิดเชื้อเป็น และไม่ควรให้วัคซีนป้องกันโรค โปลิโอรับประทาน (โอพีวี) แก่เด็กที่มีคนในบ้านเป็นโรคขาดภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด
เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ตาม สามารถให้วัคซีนทุกชนิดเหมือนเด็กปกติ ยกเว้น BCG ซึ่ง
ไม่ควรให้วัคซีน DTP ในรายที่เมื่อได้รับวัคซีนนี้มาก่อนแล้วเกิดอาการดังนี้
5.วัคซีนป้องกันบาดทะยัก (Tetanus Toxoids : TT )
เด็กที่ได้รับวัคซีนครบตามกำหนด และได้ครั้งสุดท้ายไม่เกิน 5 ปี ไม่ต้องฉีดซ้ำอีก
เด็กที่ได้รับวัคซีนครบตามกำหนด และได้ครั้งสุดท้ายมาแล้ว5 – 10 ปี ให้ฉีดกระตุ้นอีกครั้งขนาด 0.5 มิลลิลิตร
เด็กที่ได้รับวัคซีนครบตามกำหนด และได้ครั้งสุดท้ายนานเกิน 10 ปี ให้พิจารณาบาดแผล ถ้าแผลสดให้ฉีด tetanus toxoids อย่างเดียว 1 ครั้ง แต่ถ้าแผลเก่าเกิน 24 ชม. ให้ฉีดแบบข้อ 5
เด็กที่ไม่ทราบประวัติ หรือการได้รับวัคซีนไม่แน่นอน หรือได้รับแต่ไม่ครบ หรือไม่เคยได้รับมาก่อน ให้ฉีดวัคซีนบาดทะยักใหม่จนครบ 3 ครั้ง
ในกรณีเด็กที่มีแผลฉกรรจ์ หรือ แผลสกปรก หรือสงสัยว่ามีการติดเชื้อบาดทะยักให้ฉีด tetanus antitoxin ร่วมด้วย ซึ่งจะต้องให้คนละตำแหน่ง
ในหญิงตั้งครรภ์ ฉีดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่มารดาและทารกแรกเกิด ถ้าไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ให้วัคซีน 3 ครั้ง
ไม่ควรให้วัคซีนนี้แก่หญิงตั้งครรภ์
ห้ามให้กับเด็กที่ป่วยเป็นวัณโรค
เด็กที่เป็นไข้ ควรเลื่อนการฉีดไปจนกว่าไข้จะลดลง แต่ถ้าเป็นหวัดไม่มีไข้ให้ฉีดวัคซีนได้
เนื่องจากวัคซีนป้องกันหัด เตรียมโดยใช้ยา neomycin ดังนั้นไม่ควรให้วัคซีนนี้แก่เด็กที่มีประวัติแพ้ Neomycin
สำหรับผู้ที่แพ้ไข่ แม้จะมีการแพ้แบบรุนแรงก็สามารถให้วัคซีนได้ เพราะมีโอกาสเกิดปฏิกิริยาต่ำ
เด็กที่ได้รับเลือด พลาสมา หรือ gammaglobulinควรเลื่อนการให้วัคซีนออกไปก่อน
เด็กที่ต้องการทดสอบทูเบอร์คูลิน ควรรอไปอีก 4 – 6 สัปดาห์ หรือทำการทดสอบในวันที่ให้วัคซีนเลย
เด็กที่มีความผิดปกติในภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน สเตียรอยด์ การฉายรังสีได้รับ antimetabolitis หรือ alkylating agent ไม่ควรให้วัคซีนป้องกันโรคหัด(ต้องรอ 3 เดือนหลังหยุดยา)
เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 2 – 8 องศาเซลเซียส ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง ถ้าเก็บถูกวิธีจะมีอายุได้ถึง 2 ปี ทั้งนี้ต้องดูฉลากวันหมดอายุด้วย
ทารกแรกเกิดถึง 10 ปี ฉีดครั้งละ 0.25 – 0.5 มิลลิลิตร แล้วแต่ชนิดของวัคซีน เข้ากล้ามเนื้อบริเวณต้น
เด็กอายุเกิน 10 ปี ขึ้นไปและผู้ใหญ่ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขนขนาด 1 มิลลิลิตร จำนวน 3 ครั้ง
การฉีดกระตุ้น การศึกษาในผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีนตับอักเสบระยะยาว พบภูมิต้านทานจะลดลง
ทารกที่มารดามี HBsAgเป็นลบหรือไม่ทราบ ให้ฉีดวัคซีน จำนวน 3 ครั้ง เมื่อแรกเกิด อายุ 1 – 2 เดือน และอายุ 6 เดือน
ทารกที่มีมารดาเป็นพาหะ มี HBsAg เป็นบวกและ HBeAgเป็นบวก พิจารณาให้ HBIG ขนาด 0.5 cc ภายใน 12 ชม. หลังคลอด
ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,000 กรัม การฉีดครั้งแรกไม่นำมานับรวม ควรให้วัคซีนตับ
เด็กและวัยรุ่นที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน สามารถให้วัคซีนได้ในเดือน 0 , 1 , 6 ตามลำดับ
กรณีใช้วัคซีนร่วมที่มีคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และวัคซีนป้องกันตับอักเสบบี (DTP-HBV)สามารถ