Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม - Coggle Diagram
ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม เป็นทฤษฎีที่รู้จักกันแพร่หลายในวิชาชีพการพยาบาล มีการนาแนวคิดนี้ไปใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติการพยาบาล การวิจัยการพยาบาล และการพัฒนาหลักสูตรในสถาบันการศึกษาทฤษฎีนี้ถูกพัฒนาโดย Dorothea E. Orem ตั้งแต่ปี ค.ศ.1950
ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม เป็นแนวคิดที่สร้างขึ้นหรือค้นพบจากความเป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยาย อธิบาย ทานาย หรือ กาหนดวิธีการพยาบาล เป็นทฤษฎีทางการพยาบาลที่รู้จักแพร่หลายในวิชาชีพพยาบาล และมีการนาไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาล เป็นพื้นฐานของการสร้างหลักสูตรในโรงพยาบาลบางแห่ง และเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยทางการพยาบาล
โอเร็ม อธิบายมโนทัศน์ของการดูแลไว้ว่า “การดูแลตนเองเป็นการปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคลริเริ่มและกระทาเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองในการดารงไว้ซึ่งชีวิต สุขภาพ และความเป็นอยู่อันดี”
แนวคิดและหลักการสำคัญ
1.บุคคล เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อการกระทาของตนเอง
2.บุคคลเป็นผู้ที่มีความสามารถและเต็มใจที่จะดูแลตนเองหรือผู้ที่อยู่ในความปกครองของตนเอง
3.การดูแลตนเองเป็นสิ่งสาคัญ และเป็นความจาเป็นในชีวิตของบุคคลเพื่อดารงรักษาสุขภาพชีวิต การพัฒนาการ และความเป็นปกติสุขของชีวิต (Well-being)
4.การดูแลตนเองเป็นกิจกรรมที่เรียนรู้และจดจาไว้ได้จากสังคม สิ่งแวดล้อมและการติดต่อสื่อสาร
5.การศึกษาและวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อบุคคล
6.การดูแลตนเองหรือการดูแลผู้ที่อยู่ในความปกครองหรือผู้อื่นเป็นสิ่งที่มีค่าควรแก่การยกย่องส่งเสริม
7.ผู้ป่วย คนชรา คนพิการ และทารก ต้องได้รับการช่วยเหลือดูแลจากบุคคลอื่น เพื่อให้สามารถที่จะกลับมารับผิดชอบดูแลตนเองได้ ตามความสามารถที่มีอยู่ขณะนั้น
8.การพยาบาลเป็นการบริการเพื่อนมนุษย์ กระทาโดยมีเจตนาที่จะช่วยเหลือสนับสนุนบุคคลที่มีความต้องการที่ดารงความมีสุขภาพดีในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
กระบวนทัศน์หลักเกี่ยวกับทฤษฎี
1.บุคคล
โอเร็ม เชื่อว่า บุคคลเป็นผู้ที่มีความสามารถในการกระทาอย่างจงใจ (Deliberate action) มีความสามารถในการเรียนรู้ วางแผนจัดระเบียบปฏิบัติกิจกรรมเกี่ยวกับตนเองและบุคคล
มีลักษณะเป็นองค์รวม เป็นระบบเปิดทาให้บุคคลมีความเป็นพลวัตรคือเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (สมจิต หนุเจริญกุล, 2543)
2.สุขภาพ
ผู้ที่มีสุขภาพดี คือ คนที่มีโครงสร้างที่สมบูรณ์ สามารถทาหน้าที่ของตนได้ ซึ่งการทาหน้าที่นั้นเป็นการผสมผสานกันของทางสรีระ จิตใจ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และด้านสังคมโดยไม่สามารถแยกจากกันได้ และการที่จะมีสุขภาพดีนั้นบุคคลจะต้องมีการดูแลตนเองในระดับที่เพียงพอและต่อเนื่อง จนมีผลทาให้เกิดภาวะสุขภาพดี
ส่วนภาวะปกติสุข หรือความผาสุก (Well-being) หมายถึง เป็นการรับรู้ถึงความเป็นอยู่ของตนในแต่ละขณะ เป็นการแสดงออกถึงความพึงพอใจ ความยินดี และมีความสุข สุขภาพกับความผาสุกมีความสัมพันธ์กัน
3.สิ่งแวดล้อม
หมายถึง สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ และสังคมวัฒนธรรม โอเร็มเชื่อว่าคนกับสิ่งแวดล้อมไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้โอเร็มยังกล่าวถึง สิ่งแวดล้อมในแง่ของพัฒนาการ คือ สิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยจูงใจบุคคล ให้ตั้งเป้าหมายที่เหมาะสมและปรับพฤติกรรมเพื่อให้ได้ผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
นอกจากนี้โอเร็มยังกล่าวถึง สิ่งแวดล้อมในแง่ของพัฒนาการ คือ สิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยจูงใจบุคคล ให้ตั้งเป้าหมายที่เหมาะสมและปรับพฤติกรรมเพื่อให้ได้ผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
การพยาบาล
เป็นการช่วยเหลือบุคคลอื่นให้สามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่องและเพียงพอกับความต้องการในการดูแลตนเอง
ซึ่งเป้าหมายการพยาบาล คือ ช่วยให้บุคคลตอบสนองต่อความต้องการการดูแลตนเองในระดับที่เพียงพอและต่อเนื่อง และช่วยเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเอง
ทฤษฎีทางการพยาบาลของโอเร็ม
ทฤษฎีการดูแลตัวเอง (Self – care Theory)
ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเอง (The theory of self-care deficit)
ทฤษฎีระบบพยาบาล (The theory of nursing system)
แนวทางการประยุกต์ใช้การนำทฤษฎีไปใช้ในการพยาบาล
1.ประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง-มีการทํางานของระบบประสาทปกติรับรู้รสกลิ่นเสียงมองเห็นและสัมผัสและความรู้สึกเจ็บปวดร้อนหนาวถูกต้อง-มีความตั้งใจและสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตัวขณะเจ็บป่วย-มีความสามารถพูดคุยสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ดี
2.ประเมินความต้องการการดูแลตนเองตามความจำเป็น
3.ประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (BCFs)
4.แผนการพยาบาล "ความพร่องในการดูแลตนเอง: ความสามารถในการดูแลตนเองเรื่องการทำกิจกรรมบกพร่อง" จุดมุ่งหมายทางการพยาบาล: ให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ถูกต้อง "ระบบการพยาบาล / กิจกรรมการช่วยเหลือระบบสนับสนุนและให้ความรู้-ประเมินการทำกิจกรรมและการประกอบอาชีพร่วมกับผู้ป่วยและญาติ-ให้คำแนะนำเรื่องการเคลื่อนไหวแขนที่ถูกต้อง-ให้คำแนะนำเรื่องการรับประทานยาและการรับประทานอาหารที่ถูกต้องและเพียงพอ