Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินภาวะสุขภาพ การดูแลและช่วยเหลือมารดาและทารก ในระยะคลอดปกติ…
การประเมินภาวะสุขภาพ การดูแลและช่วยเหลือมารดาและทารก
ในระยะคลอดปกติ ระยะที่ 1
ความก้าวหน้าของการคลอด
การหดรัดตัวของมดลูก
ลักษณะการหดรัดตัวของมดลูก Latent phase
Cx. dilate ไม่เกิน 3 ซม.
Duration 15 - 20 วินาที
Interval 10- 15 นาที
Intensity mild (+)
ลักษณะการหดรัดตัวของมดลูก Active phase
Acceleration phase (Active ตอนต้น)
Cx. dilate 3 - 9 ซม.
Duration 45 - 60 วินาที
Interval 3 - 5 นาที
Intensity moderate (+ +)
Deceleration phase or end of the first stage (Active ตอนปลาย )
Cx. dilate 9 - 10 ซม.
Duration 60 - 90 วินาที
Interval 2 - 3 นาที
Intensity moderate / Strong (+ + +)
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก โดย
1.การประเมินโดยใช้เครื่องอิเล็กโทรนิก คือการใช้เครื่อง electronic feto monitoring (EFM) สามารถใช้ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและการฟังเสียงหัวใจของทารก
2.การประเมินโดยการใช้ฝ่ามือวางบนยอดมดลูก โดยประเมิน
ระยะเวลาของการหดรัดตัวของมดลูก (Duration)
ระยะห่างของการหดรัดตัวแต่ละครั้งของมดลูก (Interval)
ความถี่ของการหดรัดตัวของมดลูก (frequeancy)
ความแรงของการหดรัดตัว (Intensity)
สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก ถ้ามดลูกหดรักตัวผิดปกติ คือกล้ามเนื้อมดลูกจะเเข็งมาก ผู้คลอดจะเจ็บปวด สังเกตหน้าท้องว่ามี Bandl's ring (pathological retraction) หรือมี bladder full
การเคลื่อนต่ำของส่วนนำและการหมุนของศีรษะทารก
ครรภ์เเรก descent > 1 cm./hr.
ครรภ์หลัง descent > 2 cm./hr.
Sagittal suture ของศีรษะทารกหมุนมาอยู่ในแนว A-P Diameter
ทารกจะมีการเคลื่อนต่ำลงและมีการหมุนของศีรษะภายในตามกลไกการคลอดปกติ
มูก / น้ำคร่ำ / อาการผู้คลอด
การตรวจทางช่องคลอด
ระยะ latent ควรตรวจทุก 4 ชั่วดมง และ ระยะ Active ควรตรวจทุก 2 ชั่วโมง
ตรวจเมื่อมีความก้วหน้าของการคลอด
ผู้คลอดเจ็บครรภ์ถี่ ถุงน้ำคร่ำแตก
ผู้ครรภ์แสดงพฤติกรรมว่าใกล้คลอด เช่นอยากเบ่ง เป็นต้น
ตำแหน่ง FHS
ตำแหน่งเสียงหัวใจของทารก จะเคลื่อนต่ำลงและเบนแนวหาแนวกึ่งกลางลำตัวของผู้คลอด
การเปิดขยายและความบางของปากมดลูก เมื่อมีความก้าวหน้าทางการคลอด ปากมดลูกจะบางและขยายตัวตามลำดับ จนปากมดลูกเปิด 10 เซนติเมตร และบางหมด 100 %
การบันทึกความก้าวหน้าของการคลอด โดย
Friedman's curve
Latent phase ( ระยะเฉื่อย )
Active phase ( ระยะเร่ง )
WHO Partograph ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่
สภาพของมารกในครรภ์ (Fatal condition)
ความก้าวหน้าของการคลอด ( progression of labor )
การให้ยาและการรักษา ( drug and treatment )
สภาพมารดา ( maternal condition )
การประเมินผู้คลอดในระยะแรกรับ
การซักประวัติ
ประวัติความเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว
โรคหรือความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคติดเชื้อต่างๆ
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อ-นามสกุล อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ศาสนา ฐานะทางเศรษฐกิจ(สิทธิการรักษา) ถิ่นที่อยู่อาศัย
ประวัติการแพ้ยาและสารอาหารต่างๆ การผ่าตัด
ประวัติการแพ้ยาต่างๆที่มีผลต่อการคลอด
ประวัติความเจ็บปวดทางอายุกรรมและศัลยกรรมทั้งในอดีตแลละปัจจุบัน
มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคใดบ้าง เริ่มเป็นเมื่อไร ได้รับการรักษาหรือไม่อย่างไร ประวัติการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การรักษา
ประวัติทางสูติกรรม
ประวัติการแท้งการขูดมดลูก ประวัติภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ประวัติการคลอด ประวัติของทารก ประวัติความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆในระยะคลอดและหลังคลอด ประวัติการตั้งครรภ์ในปัจจุบัน ลำดับของการตั้งครรภ์ อายุครรภ์
การสอนเกี่ยวกับการเตรียมตัวเข้าห้องคลอด
การประเมินทางด้านจิตสังคม
ประเมินอายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา หน้าที่การงาน และตำแหน่งทางสังคม ศาสนา สถานภาพสมรส ทัศนคติเกี่ยวกับการคลอด ความรู้เกี่ยวกับเตรียมตัวเพื่อการคลอด ความคาดหวังในการคลอดครั้งนี้ ความสัมพันธ์ในครอบครัวและการช่วยเหลือค้ำจุน ความกลัวและความวิตกกังวล
อาการนำที่พาผู้ป่วยมาโรงพยาบาล
1.อาการเจ็บครรภ์ ( labor pain ) ควรแยกว่าเป็นการเจ็บครรภ์จริง หรือเจ็บครรภ์เตือน
2.มูก (Show) ดูทางช่องคลอดว่ามีอะไรไหลออกมาจากช่องคลอดหรือไม่ และมีลักษณะอย่างไร
3.มีน้ำเดินหรือถุงน้ำแตก (Rupture of membranes) เกิดขึ้นเมื่อไร ลักษณะอย่างไร
ประวัติด้านจิตสังคม
ประสบการณ์ตั้งครรภ์และการคลอด การวางแผนการตั้งครรภ์ ความรู้และเจตคติต่อการคลอด สัมพันธภาพในครอบครัว ความกลัวและความกังวลเกี่ยวกับการคลอดและทารกในครรภ์
การตรวจร่างกาย
ตรวจร่างกายเฉพาะที่
การตรวจครรภ์ เพื่อประเมินลักษณะและภาวะของทารกในครรภ์ ได้แก่ขนาดทารก ส่วนนำทารก และการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์
การคลำ
เพื่อประเมินความสัมพันธ์ของระดับยอดมดลูกกับอายุครรภ์ ส่วนนำทารก ระดับของส่วนนำ ท่าและทรงของทารก การเข้าสู่เชิงกรานของส่วนนำทารก ความสูงของยอดมดลูก การคาดคะเนน้ำหนักของทารก
การฟัง
การฟังเสียงหัวใจของทารก บริเวณที่ได้ยินชัดเจนคือ บริเวณสะบักซ้าย อัตราการเต้นของหัวใจปกติ ตำแหน่งของเสียงหัวใจทารก
การดู
ดูขนาดท้อง ลักษณะมดลูก การเคลื่อนไหวของทารก
ลักษณะของท้อง เช่น มีหน้าท้องย้อย หรือกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกห่างกัน
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ
ผลการตรวจเลือด : Hct. / Hb / VDRL / HBsAg / Anti-HIV
ผลการตรวจปัสสาวะ : น้ำตาลและโปรตีน
ผลการตรวจ Ultrasonography เพื่อประเมินอายุครรภ์และตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์
ผลการตรวจ NST (Non-Stress test) เพื่อทราบภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์
ตรวจร่างกายทั่วไป
ลักษณะรูปร่าง หากความสูงน้อยกว่า 145 cm. อาจมีปัญหาในการคลอด เชิงกรานแคบ ท่าเดินที่ผิดปกติ
ลักษณะทั่วไป ประเมินภาวะซีดจากโลหิตจาง อาการบวมจากความดันโลหิตสูง
สัญญาณชีพ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ อัตราชีพจร อุณหภูมิ
น้ำหนัก ถ้าอ้วนมากอาจทำให้คลอดยาก และมีผลต่อท่าคลอด
พฤติกรรมการแสดงออกถึงความเจ็บปวด การหายใจเร็ว การเกร็งกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก กระสับกระส่าย
ตรวจดูอาการบวม ประเมินว่ามีการบวมที่ใดบ้าง
การตรวจภายใน
สภาพของปากมดลูก มีลักษณะแข็งหรือนุ่ม ตรวจการเปิดขยายของปากมดลูก (Cervical dilatation) การเปรียบเทียบการขยายตัวของปาดมดลูกเปรียบเทียบจากความกว้างของนิ้วมือ หรือเปรียบเทียบจากเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลม
ความบางของปากมดลูก (Cervical effacement)
ถ้าความหนาเหลือเพียง 1 cm. ค่า Cervical effacement เท่ากับ 50 %
ถ้าความหนาเหลือเพียง 0.5 cm. ค่า Cervical effacement เท่ากับ 50 %
ถ้าความหนาเหลือเพียง 0.2 - 0.3 cm. ค่า Cervical effacement เท่ากับ 50 %
การบวมของปากมดลูก และตำแหน่งของปากมดลูก
ข้อห้ามในการตรวจภายใน : ผู้คลอดที่มีประวัติเลือดออกระหว่างการตั้งครรภ์ / ส่วนนำทารกยังไม่เข้าสู่ช่องเชิงกราน / เมื่อมองเห็นศีรษะของทารกในครรภ์แล้ว / ในระยะที่มีการอักเสบมากบริเวณทวารหนัก / กรณีที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ข้อบ่งชี้ในการตรวจครรภ์ : ผู้คลอดรับใหม่ทุกราย ยกเว้นผู้ที่มี Bleeding ในช่องคลอด / ผู้คลอดที่อยู่ในระยะที่ 1 ของการคลอด / ในรายที่ถุงน้ำทูนหัวแตกทันที / เมื่อเจ็บครรภ์ถี่และรุนแรง / สงสัยว่าทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ / ในรายระยะของการคลอดล่าช้า / ระหว่างหรือภายหลังการซ่อมแซมแผลฝีเย็บ
การตรวจหาส่วนนำ แบ่งการตรวจออกเป็น 2 วิธี
plane เป็นการแบ่งโดยใช้โดยใช้ส่วนที่กว้างที่สุดของส่วนนำ เปรียบเทียบกับระดับของ ischial spines ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ High Mid และ Low
การตรวจ station เป็นการแบ่งระดับของส่วนนำ บอกได้ว่าส่วนนำที่ต่ำที่สุกของทารกอยู่ในระดับใดเเล้ว โดยใช้ ischial spines เป็นหลัก
การตรวจหาท่าของทารก ( Position)
รอยต่อแสกกลาง ( Sagittal suture ) ว่าอยู่หน้าหลังเฉียงหรืออยู่ขวางกับเเนวดิ่ง
เป็นการคลำจากการดู Sagittal suture ขม่อมหลัง หรือขม่อมหน้า ตำแหน่งของมันอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังช่วยบอกท่าของทารก
การตรวจดูสภาพของน้ำทูนหัว (Bag of fore water) ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่
Membrane intact (MI) ตรวจพบถุงน้ำโป่งแข็งตึง ตรวจพบส่วนนำได้ยาก
Membrane leakage (ML) ตรวจพบถุงน้ำไม่ค่อยเเข็.ตึง อาจคลำพบส่วนนำได้ยาก และสังเกตเห็นน้ำคร่ำไหลออกมา
Membrane rupture (MR) คลำพบส่วนนำชัดเจน ตรวจพบปากหมดลูกเปิดขยาย
ลักษณะของถุงน้ำ
MI = Membrane intact ( ถุงน้ำยังอยู่ )
MR = Membrane rupture ( ถุงน้ำแตกแล้ว )
ML = Membrane leakage ( ถุงน้ำคร่ำรั่ว )
SRM = Spontaneous rupture of membrane ( ถุงน้ำแตกเอง )
ARM = Artificial rupture of membrane ( ได้รับการเจาะถุงน้ำ )
การพยาบาลในระยะคลอดที่ 1
การพยาบาลด้านจิตใจและสังคม
การให้การสนับสนุนค้ำจุนแก่มารดา โดยมีความเมตตา เป็นมิตร รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีท่าทางใจดี ให้ความนับถือในความเป็นบุคคลแก่มารดาและญาติ เมื่อจะทำการตรวจหรือปฏิบัติการพยาบาลใดๆ ต้องบอกให้มารดาทราบ และปฏิบัติด้วยความสุภาพนุ่มนวล อธิบายให้มารดาและญาติเข้าใจถึงกระบวนการการคลอดโดยสังเขป จัดบรรยายกาศให้สงบเงียบ เป็นสัดส่วนให้มารดาให้ผ่อนคลาย อยู่เป็นเพื่อนมารดาอย่างใกล้ชิด ให้คำชมเชย แก่ผู้คลอดเพื่อให้เกิดความมั่นใจ
การพยาบาลทางด้านร่างกาย
ตรวจสภาพร่างกายทั่วไปของมารดา และวัดสัญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นเช่นสัญญาณชีพเปลี่ยน หรือมีมูกเลือด น้ำ ไหลออกมาทางช่องคลอด ให้รีบรายงานแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือ
การจัดท่านอน
ท่านอนในระยะต้นๆของการคลอดไม่จำกัดท่า ควรกระตุ้นให้เดินหรือยืนเพื่อช่วยให้ปากมดลูกเปิด
มารดาที่ปากมดลูกเปิดแล้วหรือเปิดมาก ให้มารดานอนในท่าตะแคงซ้าย ไม่ควรให้นอนหงาย เพราะจะทำให้กดเส้นเลือด Inferior venacava ทำให้เกิด Supine hypotensive syndrome ได้
กรณีที่มารดาได้รับยา Analgesic drug เพื่อลดความเจ็บปวด ให้มารดานอนพักบนเตียง
ดูแลความสุขสบายทั่วๆไป จัดสิ่งแวดล้อมให้น่าอบู่ สะอาด ในรายที่ถุงน้ำแตกควรใส่ผ้าอนามัย เพื่อสังเกตลักษณะน้ำคร่ำและป้องกันการติดเชื้อ
อาหารในระยะคลอด
ระยะ latent phase อาจให้รับประทานอาหารได้ในกรณีที่ไม่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
ระยะ Active phase ควรงดน้ำ งดอาหารทางปาก เพราะหากมารดามีความผิดปกติจะได้ทำการผ่าตัดได้ทันที
หากมารดามีภาวะ Prolong labour ต้องดูแลการได้รับสารน้ำที่เพียงพอ
5.การดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่างทุก 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้ขัดขวางการเคลื่อนต่ำของส่วนนำ
การให้ผู้คลอดปฏิบัติตัวด้วยวิธีการผ่อนคลายความเจ็บปวด
การพยาบาล หรือคำแนะนำ
ระยะปากมดลูกเปิด 1 - 4 ซม. แนะนำให้เดิน พูดคุย หรืออ่านหนังสือ
ระยะปากมดลูกเปิด 4 - 8 ซม. แนะนำให้จิตใขจดจ่อ นับลมหายใจ
ระยะปากมดลูกเปิด 8 -10 ซม. แนะนำให้หายใจลึกๆ
การนวด / การลูบ / การถู
การเตรียมผู้คลอด
การเตรียมผู้คลอดในการตรวจภายใน
บอกให้ผู้คลอดทราบและอธิบายให้ผู้คลอดเข้าใจ
ให้ผู้คลอดถ่ายปัสสาวะก่อนตรวจ
ควรรูดม่านและปิดประตูก่อนตรวจทุกครั้ง
จัดท่าผู้คลอดให้อยู่ในท่านอนหงายชันเข่าทั้งสองข้าง dorsal recumbent
คลุมผ้าผู้คลอดให้เรียบร้อย
การเตรียมทางด้านจิตใจ
การอธิบายให้ทราบเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ ผลการตรวจต่างๆ การดำเนินการคลอดและกระบวนการคลอด อธิบายเกี่ยวกับการรับไว้เพื่อคลอด เปิดโอกาสให้ซักถาม
การเตรียมทางร่างกาย
การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และฝีเย็บ
การสวนอุจจาระ
การทำความสะอาดร่างกาย
จัดให้พักผ่อนในห้องรอคลอดและดูแลอย่างใกล้ชิด
การคาดคะเนและน้ำหนักทารกในครรภ์
Dare และคณะ ใช้การวัดส่วนสูงของมดลูก x เส้นรอบวงหน้าท้องมารดาที่ระดับสะดือ (เซนติเมตร) = ค่าประมาณน้ำหนักทารกในครรภ์ (กรัม)
สูตรของจอห์นสัน = (ความสูงของยอดมดลูก (ซม.) - n ) x155
n = 12 กรณีส่วนนำยังไม่ Engagement
n = 11 กรณีส่วนนำ Engagement แล้ว
การคาดคะเนการคลอด
คลอดแรกปากมดลูกเปิดขยาย 1 cm./hr (1.2 cm/hr)
คลอดหลังปากมดลูกเปิดขยาย 1.5 cm./hr.
ในใบ Partograph จะคิดชั่วโมงละ 1 cm.
หลักการประเมินภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในการคลอดระยะที่ 1
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์
สายสะดือย้อย
การคลอดยาวนาน การคลอดยาก
ความผิดปกติของการหดรัดตัวของมดลูก
ภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้น เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
การดิ้นของทารกในครรภ์
ปกติเคลื่อนไหว 10 ครั้งใน 12 ชั่วโมง
ถ้าทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพออาจทำให้ทารกดิ้นน้อยลง
ในผู้คลอดที่มีภาวะเสี่ยงสูง ทารกในจะดิ่นน้อยลงจนกระทั่งหยุดดิ้น โดยจะยังคงฟังเสียงหัวใจอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ซึ่งจะต้องรีบให้การช่วยเหลือ
ลักษณะน้ำคร่ำ
ถ้าถุงน้ำคร่ำแตกแล้วมีขี้เทาปน จะเห็นน้ำคร่ำมีสีเขียว เหลือง หรือน้ำตาลข้น บ่งบอกถึงทารกขาดอากาศหายใจ
C = clear liqour draining (น้ำคร่ำใสปกติ)
M = maconium stained liqour draining (น้ำคร่ำมาขี้เทาปน)
A = absent ถุงน้ำแตก ตรวจภายในไม่พบน้ำคร่ำ
B = blood stained (น้ำคร่ำปนเลือด)
แบ่งตามความรุนแรง
Mild meconium stained = น้ำคร่ำมีสีเขียวหรือสีเหลือง
Moderate meconium stained = น้ำคร่ำมีสีเขียวปนเหลือง
Thick meconium stained = น้ำคร่ำมีสีเขียวข้นมาก
การวิเคราะห์เลือดของทารก
เป็นการวิเคราะห์เลือดจากหนังศีรษะทารกในครรภ์ เพื่อค้นหาภาวะขาดออกซิเจน
ปกติเลือดของทารกในครรภ์มีค่า pH อยู่ระหว่าง 7.20 - 7.45
ถ้า pH ต่ำกว่า 7.20 แสดงว่าทารกมีภาวะเป็นกรด (Asidosis)
การเต้นของหัวใจทารก ช่วยวินิจฉัยภาวะขาดออกซิเจน
อัตราการเต้นของหัวใจทารก 110-160 ครั้งต่อนาที
ควรฟังเสียงทารกให้ครบ 1 นาทีเต็ม
ฟังหลังมดลูกคลายตัว 20 - 30 วินาที
ในผู้ครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ในระยะ latent ควรฟังทุก 1 ชั่วโมง และในระยะ Active ควรฟังทุก 30 นาที
ในผู้ครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง ในระยะ latent ควรฟังทุก 30 นาที และในระยะ Active ควรฟังทุก 15 นาที
ในผู้คลอดที่ถุงน้ำคร่ำแตกควร ฟังเสียงหัวใจทารกทันที
การบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจโดยใช้เครื่องอิเล็คโทนิก (EFM)
การแปลผลการบันทึกลักษณะการเต้นของหัวใจ
ภาวะปกติ 110-160 ครั้งต่อนาที เรียกว่า Basaline fetal heart rate (FHR)
ถ้า FHR มีการเปลี่ยนแปลงและสัมพันธ์กันการหดรัดตัวของมดลูก เรียกว่า Periodic FHR
ถ้า FHR เร็วกว่า Baseline เล็กน้อยเรียกว่า acceleration คือ FHR เพิ่มขึ้นในอัตรา 15 ครั้งต่อนาที นานประมาณ 15 นาที ถือว่าทารกได้รับ O2 ไม่เพียงพอ