Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มอาการที่ได้รับการบาดเจ็บ - Coggle Diagram
กลุ่มอาการที่ได้รับการบาดเจ็บ
Head injury
คือ
การที่ศีรษะได้รับอันตรายจากแรงภายนอกมากระทบที่ศีรษะ เช่น วัตถุหล่นจากที่สูง หกล้มศีรษะกระแทกพื้น เป็นต้น ซึ่งทำให้มีพยาธิสภาพที่ศีรษะส่วนใดส่วนหนึ่ง อาจเป็นหนังศีรษะ (Scale) กะโหลกศีรษะ (Skull) เยื่อหุ้มสมองหรือส่วนต่างๆ ของสมอง รวมทั้งหลอดเลือดสมองแตก ทำให้มีเลือดออกในชั้นต่างๆ ของสมอง การบาดเจ็บที่ศีรษะนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยพิการ หรือเสียชีวิตได้
การบาดเจ็บมี 4 แบบ
ศีรษะมีการเคลื่อนไหวเร็วขึ้น (Acceleration)
เมื่อนักมวยถูกชกที่ศีรษะ จะทำให้เกิดการฟกช้ำ มีเลือดคั่ง และอาจทำให้เกิดความผิดปกติของสมองด้านตรงข้ามกับตำแหน่งที่ได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากสมองด้านตรงข้ามเคลื่อนไปชนกับกะโหลกศีรษะอีกด้านหนึ่ง และทำให้เนื้อสมองบางส่วนถูกกดทับ ถูกดึงรั้งหรือเคลื่อนไปกระทบกับส่วนที่เป็นปุ่มต่างๆ ภายในกะโหลกศีรษะ
ศีรษะลดความเร็วและหยุดนิ่ง (Deceleration)
คนหกล้มทำให้ศีรษะกระแทกพื้น มักทำให้เกิดความผิดปกติของสมองทั้งด้านเดียวกับตำแหน่งที่ได้รับบาดเจ็บและด้านตรงข้ามกับตำแหน่งที่ถูกแรงกระแทก ทำให้เนื้อสมองฟกช้ำ ฉีกขาด และหลอดเลือดในสมองทั้งสองด้านฟกช้ำด้วย
ศีรษะและคอบิดหมุน
ซึ่งแนวแรงที่มากระแทกมีผลทำให้ศีรษะและคอบิดหมุนมากกว่าแรงในแนวแรงตรง มักทำให้สมองฟกช้ำ (Brain contusion) หรือมีเลือดออกในสมองส่วนที่อยู่ตรงข้ามกับตำแหน่งที่ถูกกระแทก
ศีรษะถูกทำลายจนผิดรูป (Deformation)
หลังจากมีแรงมากระแทกที่ศีรษะ มีผลทำให้กะโหลกศีรษะแตกหรือยุบลง เช่น ศีรษะแตกยุบลงหลังจากถูกรถชน เนื้อสมองที่ถูกทำลายจะกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบทำให้ตัวขวางกั้นในสมอง (Blood brain barrier) เพิ่มความสามารถในการซึมผ่าน ของเหลวจึงเคลื่อนไปสู่ช่องว่างระหว่างเซลล์เพิ่มขึ้น นำไปสู่การเกิดภาวะสมองบวม
อาการ
ศีรษะโน เป็นแผลถลอก ฟกช้ำที่หนังศีรษะ
กะโหลกศีรษะร้าว กะโหลกศีรษะแตก
หลอดเลือดในสมองฉีกขาด
ปวดศีรษะ สับสน เพ้อ เอะอะ
แขนขาเป็นอัมพาต ปากเบี้ยว พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้
การวินิจฉัย
ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan)
ตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI )
การรักษา
ระยะฉุกเฉินหรือระยะเฉียบพลัน
การดูแลและจัดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยให้ออกซิเจนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
การดูแลให้มีเลือดไปเลี้ยง สมอง ได้อย่างเพียงพอ
ให้สารน้ำเข้าเส้นเพื่อแก้ไขภาวะช็อก
ระยะการรักษาทั่วไป
การใส่สายยางปัสสาวะค้างไว้ในระยะแรกในรายที่สมองบวม
การรักษาเพื่อคงความดันในกะโหลกศีรษะให้คงที่
Chest Injury
คือ
ภาวะที่ผนังทรวงออกเเละอวัยวะที่อยู่ภายในทรวงอกได้รับบาดเจ็บจากเเรงภายนอกที่มากระทำต่อทรวงอก
พยาธิสภาพ
Respiratory acidosis
เป็นภาวะที่ร่างกายมีความผิดปกติของระบบหายใจ ทำให้มีการคั่งของกรดคาร์บอนิกเนื่องจากการขับ CO2 ออกไม่ทัน หรือการระบายอากาศในถุงลมลดลง เลือดจึงมีฤทธิ์เป็นกรด
Tissue Hypoxia
เนื้อเยื่อขาดเลือดมาเลี้ยง
Hypercarbia
มีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือดมาก
สาเหตุของการบาดเจ็บ
การบาดเจ็บจากเเรงกระเเทกโดยตรงเเละไม่มีเเผลทะลุเข้าไป (ฺBlunt Chest injury/Non-panetrating Chest injury)
การบาดเจ็บที่มีแผลทะลุ(penetrating chest injury)
การประเมินผู้บาดเจ็บทรวงอกในระยะฉุกเฉิน
ซักประวัติต่างๆ
ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ในอดีต การเเพ้ยา
ซักประวัติส่วนตัว
ประวัติการบาดเจ็บ
ตรวจร่างกาย
การดู
ดูบริเวณหน้าเเละคอ
Subcutaneous emphysema
ภาวะที่มีลมเเทรกอยู่ใต้ผิวหนัง
cardiac temponade
ภาวะหัวใจถูกบีบอัด เนื่องจากน้ำหรือเลือดสะสมอยู่ในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ จะพบหลอดเลือดดำที่คอโป่งตึงเเม้ป่วยอยู่ในท่านั่ง
ดูบริเวณทรวงอกเเต่ละข้าง รูปร่างเเละการเคลื่อนไหว
ตรวจดูร่องรอยของการบาดเจ็บ เช่น รอยฟกช้ำ บาดเเผล ลักษณะบาดเเผลที่ปรากฎ
ดูบริเวณท้อง
การคลำ
คลำชีพจร ในตำเเหน่งต่างๆ ซึ่งอาจจะบอกถึงการบาดเจ็บของหลอดเลือดในช่องอกได้
คลำบริเวณทรวงอก ตรวจดูตำเเหน่งความเจ็บปวด อาจคลำพบปลายกระดูกซี่โครงหักหรือคลำพบว่ามีลมออกอยู้ใต้ผิวหนัง
คลำหลอดลม อยู่ในตำเเหน่งปกติหรือไม่
การเคาะ
เคาะบริเวณหัวใจ
ถ้าพบว่ามีเสียงทึบกว่าปกติอาจเเสดงว่าผู้มีภาวะ cardiac temponade
เคาะบริเวณปอด
ถ้าเคาะได้เสียงทึบเเสดงว่ามี Hemothorax หรืออาจมี pulmonary contusion
ถ้าเคาะได้เสียงโปร่งกว่าปกติ เเสดงว่ามักจะมีภาวะ pneumothorax
การฟัง
เสียงผิดปกติอื่นๆ ในรายที่มีการบาดเจ็บ กะบังลมทะลุเเละมีลำไส้เคลื่อนขึ้นไปอยู่ในช่องอก จะฟังได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ (bowel sound) บริเวณทรวงอกได้
เสียงหายใจ เป็นปกติเท่ากันทั้ง 2 ข้างหรือไม่
เสียงหัวใจเป็นปกติ ค่อยกว่าปกติ หรือมีเสียงเเทรก
การประเมินภาพถ่ายรังสื
CT Scan
MRI Scan
CXR
ชนิดของ Chest Injury
Pneumothorax
Open Pneumothorax
Close Pneumothorax
Tension Pneumothorax
Hemothorax
Massive Hemothorax
Minimal Hemothorax
Moderate Hemothorax
ภาวะฉุกเฉินที่พบร่วมกับการบาดเจ็บทรวงอก
ภาวะอกรวน (Flail Chest)
การหักของกระดูกซี่โครงที่อยู่ติดกันอย่างน้อย 3 ซี่ขึ้นไปเเละหักเเต่ละซี่มากกว่าหนึ่งตำเเหน่ง ซี่ที่หักบ่อยคือ ซี่ที่ 3-4 ถึงซี่ที่ 7-8 หรือ sternum อาจหักได้ทั้งด้วนหน้าด้านหลัง
การดูแลเบื้องต้น
ลดอาการปวด
ให้ออกซิเจน
ให้น้ำเกลือ
การรักษา
การป้องกันหลอดลม (clear airway)หรือการทำการเจาะคอถ้าจำเป็น
การดูแลการหายใจที่พอเพียง (adequate ventilation) เป็นการดูแลให้ผู้ป่วยมีการหายใจแลกเปลี่ยนก๊าซที่เหมาะสม
การใส่สายระบายทรวงอก