Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 1 โรคหืด (Asthma) - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ 1
โรคหืด (Asthma)
โรคตามทฤษฎี
โรคหืด (Asthma)
เกิดจากการหดตัวหรือตีบ ตันของระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุผนังหลอดลม อักเสบ ท าให้ไวต่อสิ่งกระตุ้น หรือสิ่งแปลกปลอมที่ เข้ามาในร่างกายมากกว่าคนปกติ เกิดการหดเกร็งตัว ของกล้ามเนื้อบริเวณหลอดลม
สาเหตุ
ตามทฤษฎี
สาเหตุ
ที่แท้จริงไม่ทราบเชื่อว่าเกิดจากการกระตุ้น mast cellให้ หลั่งhistamin เกิดการหดเกร็งของหลอดลม เยื่อบุหลอดลมบวม
เสมหะมาก ทำให้หายใจลำบาก ซึ่งสิ่งกระตุ้นอาจเกิดจาก
•ปัจจัยภายนอก
เช่น แพ้เกสรดอกไม้ อาหาร ยา ขนสัตว์
•ปัจจัยภายใน
เช่น พันธุกรรม การติดเชื้อทางเดินหายใจ การใช้ยาบางอย่างเช่น ยา ระงับประสาทหรือยาแก้ปวด รวมถึง ความเครียด ความวิตกกังวล ความกลัว ความโกรธ
ตามกรณีศึกษา
ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคประจำตัว อาจส่งผลให้โรคประจำตัวกำเริบได้
อาการและอาการแสดง
ตามทฤษฎี
•อ่อนเพลีย
•เหงื่อออกมาก
•หายใจออกมีเสียง wheezing
•ใช้กล้ามเนื้อส่วนอื่นหายใจ
•หายใจลำบาก
•ชีพจรเร็ว
•ไอ
•หายใจเร็ว
ตามกรณีศึกษา
ไม่มีข้อมูล
การตรวจวินิจฉัย
การซักประวัติ
ตามทฤษฎี
ประวัติการเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคหอบหืด
ประวัติการแพ้ ยา สารเคมี ขนสัตว์ ฝุ่น เกสรดอกไม้
ประวัติการเป็นโรคหอบหืด
ประวัติการใช้ยาแล้วมีอาการแสดงของโรคหอบหืด
ตามกรณีศึกษา
มีประวัติเป็นโรคหอบหืดตั้งแต่เด็ก
มีอาการหอบหืดครั้งสุดท้ายเมื่อปีที่แล้ว
ปฏิเสธการแพ้ยา
การตรวจร่างกาย
ตามทฤษฎี
หายใจเร็ว
ชีพจรเร็ว
หายใจลำบาก พบเสียงwheezingขณะหายใจออก
ขนาดมดลูกน้อยกว่าอายุครรภ์
ตามกรณีศึกษา
ไม่มีข้อมูล
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตามทฤษฎี
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก
ผลการเพาะเชื้อเสมหะ
ตรวจสุขภาพทารกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
ตามกรณีศึกษา
กรุ๊ปเลือด บี Rhปกติ
ความเข้มข้นของเลือด ปกติ
ไม่พบไวรัสตับอักเสบ
ไม่มีพบความผิดปกติของธาลัสซีเมีย
ไม่พบความผิดปกติของซิฟิลิส
ผลการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
แท้งอัตราตายจะสูงขึ้น (30-60%) ในรายที่มี status asthmaticus
คือ อาการรุนแรงจนไม่มีการตอบสนองต่อการรักษา เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น pneumothorax หรือ cardiac arrhythmias และมีการหยุดหายใจจากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนล้า เป็นต้น
ผลต่อทารก
ทารกที่เกิดจากมารดาเป็นโรคหอบหืดมีโอกาสเป็นโรคหอบหืดในภายหลังสูงกว่าทารกที่เกิดจากมารดาปกติ 2-4 เท่า
การคลอดก่อนกำหนด
น้ำหนักแรกเกิดน้อย
เสียชีวิตในครรภ์ หรืออัตราการตายปริกำเนิดสูงขึ้น
ผลต่อโรค
ไม่สามารถทำนายผลได้แน่นอน มีได้ทั้งที่อาการดีขึ้นอาการไม่เปลี่ยนแปลง หรืออาการแย่ลงเมื่อตั้งครรภ์ แต่อาจพบว่ารายที่มีอาการของโรครุนแรงอยู่แล้ว อาการจะกำเริบขึ้นในระยะคลอดส่วนรายที่มีอาการไม่รุนแรง มักไม่มีปัญหาในระหว่างการตั้งครรภ์หรือการคลอด
การรักษา
3.ให้ยาขยายหลอดลม ที่นิยมใช้ คือ terbutaline
ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการไม่รุนแรง สามารถดูแลเช่นเดียวกับหญิงตั้งครรภ์ปกติ
ดูแลให้ออกซิเจน โดยให้ arterial blood gas มากกว่า 60 mmHg, O2 saturation มากกว่าร้อยละ 95
ในระยะคลอดควรให้ยาระงับปวดชนิด nonhistamine releasing nacrotic เช่น fentanyl
หาสาเหตุหรือปัจจัยเสริม
ในรายที่ต้องใช้ยาระงับความรู้สึก
ควรใช้ epidural
ไม่ควรใช้!!
general anesthesia จะทำให้หลอดลมเกร็ง
ในระยะตั้งครรภ์
1.อบถามสาเหตุเมื่อเกิดอาการหอบหืดเพื่อค้าหาสาเหตุเพื่อวางแผนการพยาบาลที่เหมาะสม
อธิบายเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ ผลกระทบเกี่ยวกับโรคเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ทราบและตระหนักเกี่ยวกับโรค
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงปัจจัยหรือสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้โรคกำเริบเพื่อป้องกันการกำเริบของโรค
แนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบ5หมู่ ทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยเลือกวิธีที่เหมาะสม และพักผ่อนให้เพียงพอ
หลีกเลี่ยงจากบุคคลที่เป็นหวัด ไอจาม มีน้ำมูกและเป็นไข้เพื่อป้องกันการเกิดไข้วัด
หลีกเลี่ยงชุมชนที่แอดอัด ฝุ่น ควัน เพื่อป้องกันสิ่งกระตุ้นที่อาจจะทำให้โรคกำเริบ หลีกเลี่ยงการใช้แป้งฝุ่นเพื่อป้องกันสาเหตของการเกิดอาการกำเริบของโรค
แนะนำให้นับลูกดิ้นหากลูกดิ้น้อยกว่า10ครั้งต่อวันให้มาพบแพทย์
แนะนำอาการและอาการแสดงที่ผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ก่อนกำหนด เช่น ไอ มีเสมหะสีเหลืองหรือเขียว หายใจลำบาก ปลายมือปลายเท้าเขียว
ระยะคลอด
จัดท่าศีรษะสูง(fowler position)เพื่อให้หายใจได้สะดวก
สังเกตอาการ เช่นBPลดลงอย่างรวดเร็ว ปวดศีรษะใจสันให้หยุดยาและรีบรายงานแพทย์ทันที
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์พักผ่อนอย่างเพียงพอ จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบและสะอาด
ให้ยาขยายหลอดลม คือ terbutaline และisoproterenol และให้ oxytocin เนื่องจากยาterbutalineมีผลต่อการหดรัดตัวของมดลูก
ประเมินสัญญาณชีพทุก4ชั่วโมง ในระยะคลอดทุก1ชม.โดยเฉพาะการหายใจ
สังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ เสมหะมีสีเหลืองหรือเขียว หายใจลำบาก เยื่อบุหรือสีผิวเขียวคลํ้า เป็นต้น ถ้ามีอาการควรรายงานแพทย์
ช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการอ่อนเพลียหายใจเหนื่อยหอบมาก
ดูแลความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเพื่อลดโอกาสการติดเชื่อของร่างกาย
ระยะคลอด
ประเมินสัญญาณชีพและภาวะเลือดออกบริเวณแผลหรือช่องคลอด เพื่อประเมินภาวะตกเลือดหลังคลอด
ดูแลให้มารดาทำความสะอาดร่างกายและแปรงฟันและดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย
แนะนำให้มารดาทานอาหารให้ครบ5หมู่รวมถึงอาหารประเภทเพิ่มน้ำนมเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันและเพิ่มน้ำน้ำให้เพียงพอต่อบุตร
อธิบายและให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการและความสำคัญของการให้นมบุตรเนื่องจากนมแม่มีlgAส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้บุตรแข็งแรง
แนะนำท่าให้นมบุตรการเข้าเต้าเพื่อให้บุตรได้รับนมอย่างถูกวิธี และกระตุ้นให้บุตรดูดนมเพื่อให้น้ำนมไหลดี
ประเมินแผลฝีเย็บตามกลักREEDAและวัดระดับยอดมดลูก
แนะนำอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ปลายมือปลายเท้าเขียว ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณแผล