Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูผู้ป่วยผู้สูงวัย ที่มีปัญหาการติดเชื้อ - Coggle Diagram
การดูผู้ป่วยผู้สูงวัย ที่มีปัญหาการติดเชื้อ
โรคโคโรน่า หรือ โควิด -19(COVID -19)
เป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ที่มีขนาดใหญ่ก่อโรคได้ทั้งคนและสัตว์
อาการของไวรัสโคโรน่า เหมือนไข้หวัดใหญ่
มีไข้ร่วมกับโรคทางเดินหายใจ มีอาการ เจ็บ ไอ มีน้ำมูก หายใจเร็วไม่เต็มอิ่ม
คนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อคือคนที่ไม่สวมหน้ากากอนามัย
อยู่ในที่ๆมีชุมชน
การป้องกัน ใช้วิธีเดียวกันกับไข้หวัดใหญ่ โรคทางเดินหายใจ
อันดับแรกใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆหลีกเลี่ยงแหล่งชุกชุม ชุมชน
ปอดอักเสบ หรือ วัณโรคปอด
ติดต่อได้ทางเดินหายใจเชื้อมักไปฟักตัวที่ปอดแหล่งที่มีออกซิเจน
มากที่สุด มีระยะฟักตัวประมาณ 4 -8 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเริ่มทำลายเซลล์ปอดได้
อาการ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำ เหงื่อออกตอนกลางคืน
ระยะแรก ไอแห้ง ต่อมามีเสมหะ มีอาการไอติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์
ถ้าเกิดในเด็ก จะมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจาก ภูมิคุ้มกันมีน้อย
หากเกิดในผู้สูงอายุ จะมีอาการ ซึม สับสน พูดไม่รู้เรื่อง อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ
การรักษา โรคปอดอักเสบ หรือวัณโรคปอด สามารถตรวจได้ด้วยการเอกซเรย์ ซักประวัติ วินิจฉัยโรค ตรวจร่างกาย วิธีที่อน่นอนคือการตรวจจากเสมหะผู้ป่วย โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ หรือการนำเสมหะผู้ป่วยมาเพาะเชื้อโดยการย้อมสี ร่วมกับผลเอกซเรย์ปอด และทำการรักษาต่อไป
ป้องกันด้วยการในหน้ากากอนามัย ปลอดภัยที่สุดคือหน้า N 95
ตับอักเสบ
เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีอยู่4ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ A B C และ E ซึ่งแต่ละชนิดมีการติดต่อที่แตกต่างกัน เช่นไวรัสตับอักเสบ B ติดต่อจากทางแม่สู่ลูก การรับเลือด การใช้เข็มฉีดยา การใช้มีดโกน รวมถึงกรรไกรตัดเล็บร่วมกับผู้ติดเชื้อ
อาการ เริ่มจากการที่ไม่มีอาการอะไรเลย แต่จะไปแสดงอาการเมื่อตอนอายุ 30 - 40 ปี ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็งตามมา
ส่วนที่มีการ คือแบบเฉียบพลัน จะมีอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดท้อง คลื่นไส้ - อาเจียน ปัสสาวะสีเข้มคล้ายสีโค้ก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ท้องบวมขาบวม และมีไข้สูง
การป้องกัน รักษา
เกิดขึ้นได้จากภูมิคุ้มกันร่างกายตัวเอง วัคซีน และการทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง
ปัจจัยร่วมของโรคไวรัสตับอักเสบ การดื่มแอลกอฮอล์ กินยาสมุนไพร ยาเสริมต่างๆ โดยปรึกษาแพทย์
โรคไข้ฉี่หนู
สาเหตุเกิดจากแหล่งที่มีน้ำขัง เสี่ยงต่อโรคเช่นทุ่งนา การเกิดโรคคือเมื่อมีการเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยผิวหนัง แผล รอยขีดข่วน หรือทางปาก ตา และจมูก ส่วนมากคนติดเชื้อได้โดยการกินอาหาร,น้ำ ที่มีการปนเปื้อนของโรคฉี่หนู รวมถึงการสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง
เชื้อโรคจะมีการฟักตัว 1 - 2 สัปดาห์ เชื้อที่เข้าสู่ร่างการสามารถตรวจพบได้ในปัสสาวะ
อาการ มีไข้ ตาแดง ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณน่อง
หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง บางรายอาจจะ ตัวเหลือง ตาเหลือง ไตวาย ช็อกและเสียชีวิตได้ หากไม่ทันการรักษา
พบได้มาก โดยเฉพาะ ชาวนา เกษตรกร ชาวประมง สัตวแพทย์ หรือนักกีฬาทางน้ำ
การป้องกัน ดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ระวังหนูหรือสัตว์ที่เป็นพาหะน้ำเชื้อ หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ ในพื้นที่ๆเสี่ยงต่อโรคโดยเฉพาะการมีแผลที่บริเวณเท้า ถ้าไม่สามารถเลี่ยงได้ ให้ป้องกันตัวเอง โดยการใส่รองเท้าบูท กางเกงขายาว หลังจากนั้นให้ล้างเท้าอาบน้ำ ชำระร่างกายให้สะอาด
รักษาความสะอาดบริเวณบ้านไม่ให้มีเศษอาหาร ขยะ ที่เป็นที่อยู่อาศัยของหนู กำจัดหนูตามที่อยู่อาศัย และในพื้นที่ที่ทำการเกษตร
ในการดูแลผู้ป่วย ให้ระมัดระวัง การสัมผัสเลือด ปัสสาวะผู้ป่วย หากเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนปัสสาวะให้นำไปฆ่าเชื้อทุกครั้ง
โรคเมลิออยโดซิส หรือโรคไข้ดิน
เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในดิน - น้ำ แอ่งน้ำขัง น้ำนิ่ง พบได้ทั้งในคน และสัตว์
การรับเชื้อ ได้ทางผิวหนัง กรณีที่ทีแผล และเข้าสู่กระแสเลือด
อาการ สามารถเกิดได้หลายอาการ. รุนแรงมากอาจมีไข้และเกิดภาวะช็อก
ถ้าอาการไม่รุนแรง ลักษณะก็จะเป็นไปทางของปอดติดเชื้อ หรือเป็นฝีที่ผิวหนังรวมถึงบริเวณตับและม้าม
กลุ่มผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงพบได้มากโดยเฉพาะชาวนาที่มีการสะมผัสกับน้ำเป็นระยะเวลานานและคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่นผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ผู้ที่ดื่มสุรา หรือโรคทารัสซีเมีย
วิธีป้องกันหากมีบาดแผลตรงที่ต้องเสี่ยงต่อการสัมผัสกินกับน้ำ ในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรที่จะรอให้แผลหายดีก่อน
ลดปัจจัยเสี่ยงก็คือทำให้ร่างกายแข็งแรง
ไข้ป่า มาลาเรีย
พาหะนำโรคคือยุงก้นป่องตัวเมีย ซึ่งเชื้อที่ได้รับไปจะไปเจริญเติบโตในตับและเซลล์เม็ดเลือดแดง
ภาวะแทรกซ้อน คือ ภาวะซีด ตัวเหลือ ตาเหลือง ม้ามโต ปัสสาวะเป็นสีดำ
อาการคล้ายไข้หวัด โดยมีอาการไข้ ปวดศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน
เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว และหลังจากนั้นจะเกิดเป็นไข้สูงลอย
เมื่อมีอาการผ่านไปจะแบ่งเป็น3ระยะ คือ ระยะสั่น ระยะร้อน และระยะเหงื่อออก
รักษา ยามีหลายขนาน อยู่ที่การพบเชื้อว่าชนิดไหน และการใช้ยาอยู่กับแพทย์ การรักษาโดยการรักษาแบบประคับประคอว รวมถึงการรักษาเรื่องของโรคภาวะแทรกซ้อนด้วย
วิธีป้องกัน นอนในมุ้ง ดูแลเรื่องของที่อยู่อาศัยที่จะไม่ทำให้เป็นแหล่งที่อยู่ของยุงก้นป่อง บริเวณรอบบ้าน เทน้ำที่ขังทิ้ง หลีกเลี่ยงการอยู่ที่อับชื้นเช่นป่า
ไข้หวัดนก
สาเหตุเกิดจากไวรัสไข้หวัด ที่เกิดจากไก่ นก
อาการของโรค มีไข้ ไอ แน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย ปวดท้อง
ท้องร่วงน้ำมูกไหลปอดบวมปวดศรีษะมีเสมหะและเจ็บคอ
การรักษาในระยะที่ไม่รุนแรงจะต้องแยกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเขื้อโรค หากในระยะที่รุนแรงจะต้องพักในโรงพยาบาลและใช้เครื่องช่วยหายใจ
การให้ยา Oseltamivir 75 mg วันละ2ครั้ง
ส่วนของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จะให้ยา 150 mg เป็นจำนวน2ครั้ง
การป้องกัน หารให้วัคซีน ป้องกันการสัมผัส กับไก่ที่ป่วย หรือตาย หรือห่างในระยะ1เมตร
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
เกิดจากการติดเชื้อได้หลายทาง เช่น ทางท่อปัสสาวะ
สาเหตุของการติดเชื้อ เกิดจากการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน นั่งเป็นเวลานาน ทำให้ถุงปัสสาวะอักเสบและเกิดการติดเชื้อ
การป้องกันการเกิดกระเพาะปัสสาวะอัก
แ้องกันโดยการหลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ ทำความสะอาดทุกครั้งปัสสาวะหรืออุจจาระ อย่าถูกต้อง เช็ดจากหน้าไปหลัง
มีอาการ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะปริมาณน้อย มีสีขุ่น รู้สึกแสบเมื่อปัสสาวะและมีกลิ่นเหม็นผิดปกติปวดท้องน้อย มีไข้ กรณีที่มีอาการรุนแรง อาจจะมีเลือดปนออกมา)
การรักษา แพทย์จะให้ยาฆ่าเขื้อ หรือยาปฎิชีวนะ