Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มอาการที่ได้รับบาดเจ็บ - Coggle Diagram
กลุ่มอาการที่ได้รับบาดเจ็บ
Head injury
ความหมาย
การที่ศีรษะได้รับอันตรายจากแรงภายนอกมากระทบที่ศีรษะ เช่น วัตถุหล่นจากที่สูง หกล้มศีรษะกระแทกพื้น เป็นต้น ซึ่งทำให้มีพยาธสภาพที่ศีรษะส่วนใดส่วนหนึ่ง อาจเป็นหนังศีรษะ(scale) กระโหลกศีรษะ(skull) เยื่อหุ้มสมองหรือส่วนต่างๆของสมอง การบาดเจ็บที่ศีรษะนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยพิการหรือเสียชีวิตได้
สาเหตุ
อุบัติเหตุจราจร
มีวัตถุหล่นจากที่สูงลงมากระแทกที่ศีรษะ
หกล้ม ตกจากที่สูง ศีรษะกระแทกพื้น
ถูกตีที่ศีรษะ
ทารกคลอดยากทำให้ศีรษะได้รับการกระทบกระเทือน
การพยาบาล
จัดท่าให้นอนศีรษะสูงเปลี่ยนท่าให้ทุก 1-2 ชั่วโมง
สังเกตอาการของภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงเช่น อาการปวดศีรษะ ระดับความรู้สึกตัวลดลง ตาพร่ามัวเป็นต้น หากพบอาการผิดปกติให้รายงานแพทย์ทราบ
วัดสัญญาณชีพและอาการทางระบบประสาททุก 1-2 ชั่วโมง
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการไอจามการเบ่งถ่าย เพื่อหลีกเลี่ยงแรงดันในช่องอก(Vaisalva's maneuver)
ดูแลให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงโดยจัดให้นอนศีรษะสูงประมาณ 30 องศาไม่หนุนหมอน
ให้นอนพักและควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอโดยดูดเสมหะอย่างน้อย ทุก 2 ชั่วโมง
ให้ยาลดความดันในสมองตามแผนการรักษา เช่น mannitol, furosemide
อาการและอาการแสดง
กระโหลกศีรษะร้าว
สมองได้รับการกระทบกระเทือน(Brain concussion)
หมดสติเพียงชั่วครู่
เมื่อฟื้นแล้วจะรู้สึกมึนงง จำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้
อาการปวดศีรษะและหายเองได้
ฟกช้ำที่หนังศีรษะ
กระโหลกศีรษะแตกและมีการบาดเจ็บที่สมอง
สมองฟกช้ำ(Brain contusion) หรือสมองฉีกขาด(Brain laceration)
อาจมีอัมพาตครึ่งซีก
หมดสติหลังจากเจ็บทันทีนานเป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน
รุนแรงอาจเสียชีวิตได้
ชัก เกร็ง
ไม่รุนแรงอาจฟื้นคืนสติได้
ปวดศีรษะ
สับสน เพ้อ เอะอะ
คลื่นไส้ อาเจียน
แขนขาเป็นอัมพาต
ปากเบี้ยวพูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้
หลงๆ ลืมๆ หรือบุคลิกภาพเปลี่ยนไปจากเดิม
เลือดออกในสมอง(Intracranial hemorrhage)
แขนขาเป็นอัมพาต
หายใจตื้นชัด
คลื่นไส้ อาเจียน
ความดันโลหิตสูง
ปวดศีรษะ
คอแข็ง
ซึมลงเรื่อยๆ
รูม่านตาทั้ง2ข้างไม่เท่ากัน
ชีพจรเต้นช้า
ในเด็กทารก
อาเจียน
มีการชัก
ซึม
แขนขาอ่อนแรง
ร้องเสียงแหลม
กระหม่อมโปร่งตึง
การรักษา
ให้เลือด
ยกศีรษะสูง 30องศา
ปลูกกระดูก (Bone graft)
ให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ
การผ่าตัด
Craniectomy
Spinal injury
การบาดเจ็บจำแนกออกเป็น2ชนิด
การบาดเจ็บปฐมภูมิ (Primary spinal cord injury)
เกิดกับไขสันหลังโดยตรง
Blunt injury
Penetrating injury
จากแรงกระแทกจากอุบัติเหตุและจากชิ้นส่วนของกระดูกสันหลังที่แตกหักมากดทับ พยากรณ์ของโรคขึ้นอยู่กับความรุนแรงตั้งแต่แรกของการเกิดอุบัติเหตุ
การบาดเจ็บทุติยภูมิ (Secondary spinal cord injury
การเสียสมดุลของการส่งผ่านสารต่างๆเข้าออกเซลล์ เช่น calcium ion sodium ion ผ่านการฉีกขาดหรือบาดเจ็บบริเวณเยื่อหุ้มเซลล์และจากภาวะไขสันหลังขาดเลือด
การบาดเจ็บที่ต่อเนื่องมาจากการบาดเจ็บปฐมภูมิจากกลไกของการอักเสบ(inflammation)
สามารถป้องกันได้ด้วยการให้สารน้ำ ออกซิเจนอย่างเพียงพอ ให้หาสาเหตุและการทำการแก้ไขภาวะช็อกที่เกิดขึ้นและการให้ยาบางชนิด เช่น methylprednisolone
สาเหตุ
การตกจากที่สูง การเล่นกีฬา
หกล้มในผู้สูงอายุ
อุบัติเหตุรถจักยานยนต์
ปัจจัย
อายุและเพศ ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุ 20-40 ปี เพศชายพบมากกว่าเพศหญิง 3-4 เท่า
ตำแหน่งการบาดเจ็บ
การบาดเจ็บของกระดูกสันหลังระดับอกและเอว (Thoracolumbar spine injury)
ช่วงบน
อาการ
หายใจลำบากเนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนไหวทรวงอกได้ และอาจเกิดอาการแทรกซ้อน คือ ภาวะ spinal shock เป็นภาวะไขสันหลังหยุดทำงานชั่วคราว หลังได้รับการบาดเจ็บ
การรักษา
ประเมินการหายใจ(ช้า/เร็ว)
ประเมินออกซิเจนในร่างกาย (อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ 95-100%)
ให้การช่วยเหลือโดยให้ mask with reservoir bag หรือ Ambubag ตามอาการที่ประเมินได้
พยาธิสภาพ
กระดูกมีทั้งหมด 12ชิ้น (T1-T12) และกระดูกเอวมีทั้งหมด 5ชิ้น (L1-L5) ถ้าเกิดการบาดเจ็บตั้งแต่ T1-T6 จะสูญเสียความรู้สึกและการเคลื่อนไหวตั้งแต่กึ่งกลางอกลงไป
ช่วงล่าง
พยาธิสภาพ
ถ้าเกิดการบาดเจ็บตั้งแต่ T7-T12 จะสูญเสียความรู้สึกตัวและการเคลื่อนไหวตั้งแต่ระดับเอวลงไป
อาการ
เกิดอาการอ่อนแรงที่มักพบคือ Paraplegia (ขาอ่อนแรงทั้ง2ข้าง)
การบาดเจ็บของกระดูกสันหลังระดับใต้กระเบนเหน็บ (sacral spine injury)
อาการ
ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ (อุจจาระ ปัสสาวะราดโดยไม่รู้สึกตัว)
การรักษา
ใส่สายสวนปัสสาวะ (Urinary catheterization)
พยาธิสภาพ
กระดูกใต้กระเบนเหน็บมีทั้งหมด 5ชิ้น(S1-S5) ถ้าเกิดการบาดเจ็บตั้งแต่ S2-S4 จะสูญเสียความรู้สึกและการเคลื่อนไหวตั้งแต่ระดับเชิงกรานและขาทั้ง2ข้าง
การบาดเจ็บของกระดูกสันหลังระดับคอ (Cervical spine injury)
อาการ
หายใจลำบาก และอาจเสียชีวิตได้เนื่องจากกระแสประสาทไม่สามารถควบคุมหารหายใจ การทำงานของหัวใจและการไหวเวียนได้
การรักษา
ประเมินออกซิเจนในร่างกาย (อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ 95-100%)
ให้การช่วยเหลือโดยให้ mask with reservoir bag หรือ Ambubag ตามอาการที่ประเมินได้
ประเมินการหายใจ(ช้า/เร็ว)
พยาธิสภาพ
กระดูกคอมีทั้งหมด 7ชิ้น (C1-C7) ถ้าเกิดการบาดเจ็บตั้งแต่ C1-C4 จะสูญเสียความรู้สึกและการเคลื่อนไหวของแขนขาทั้งหมด ตั้งแต่คอลงมา และถ้าเกิดการบาดเจ็บตั้งแต่ C5-C7 จะสญเสียความรู้สึกและการเคลื่อนไหวของแขนขาทั้งหมดตั้งแต่ไหล่ลงมา