Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มอาการที่ได้รับการบาดเจ็บ - Coggle Diagram
กลุ่มอาการที่ได้รับการบาดเจ็บ
Abdominal injury
การบาดเจ็บของอวัยวะในช่องท้อง รวมทั้งผนังช่องท้องจากสาเหตุถูกกระทบกระแทกอย่างรุนแรงหรือจากของมีคมมีผลทำให้ผนังหน้าท้องหรืออวัยวะภายในช่องท้อง ได้แก่ กะบังลม หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ เป็นต้นที่ได้รับบาดเจ็บ อาการของการบาดเจ็บอาจมีเพียงเล็กน้อบจนถึงรุนแรงทำให้อวัยวะเสียหน้าที่และผู้บาดเจ็บอาจเสียชีวิตในที่สุด
การบาดเจ็บมี 2 ชนิด
การบาดเจ็บชนิดยาดแผลไม่มีการฉีกขาด(Blunt injury )
เกิดจากแรงกระแทกหรือแรงกดได้แก่ อุบัติเหตุรถชน วัตถุมีน้ำหนักมากหล่นทับ ถูกกระทึบ ถูกตี ตกจากที่สูง เป็นต้น
การบาดเจ็บชนิดที่มีแผลเปิดหรือถูกแทง(Penetrating injury)
เกิดจากวัตถุที่มีความคมทำให้มีแผลรูเปิดหรือทะลุ ได้แก่ การถูกยิง ถูกแทง ถูกสะเก็ดระเบิด เป็นต้น
ขอบเขตของช่องท้อง
ส่วนล่างของทรวงอก (Intrathoracic abdomen)
ได้แก่ ส่วนที่อยู่ใต้กะบังลม มีตับ กระเพาะอาหาร ม้าม โดยมีกระดูกซี่โครงและสันอกป้องกันแรงกระแทกจากภายนอก)
ส่วนช่องท้องแท้ (True abdomen)
ได้รับการปกป้องด้วยผนังกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง อุ้งเชิงกราน ได้แก่ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ กระเพาะปัสสาวะ ในผู้หญิงจะมีมดลูก ปีกมดลูก และรังไข่ด้วย
ส่วนหลังช่องท้อง ( Retroperitoneal abdomen)
เป็นส่วนที่อยู่หลังเยื่อบุช่องท้อง ได้แก่ ไต ดูโอดินัม หลอดไต ตับอ่อน และหลอดเลือด
การประเมินผู้ป่วย
การตรวจร่างกาย
ซักประวัติ
เกี่ยวกับกลไกการบาดเจ็บจากตัวผู้ป่วย ญาติ หรือผู้นำส่งได้แก่ สาเหตุระยะเวลาตั้งแต่บาดเจ็บจนมาถึงโรงพยาบาล ชนิดของอาวุธ จำนวนรู/วิถีกระสุน จำนวนรูที่ถูกแทง ปริมาณเลือดที่ออก อาการปวดตำแหน่งที่ปวดอาการปวดร้าวไปยังอวัยวะอื่นหรือไม่
การประเมินสภาพเบื้องต้น(Primary assessment)
การประเมินอวัยวะหรือระบบต่างๆของร่างกายโดยโดยไปยังบาดเจ็บควรตรวจซ้ำเป็นระยะระยะและทำอย่างต่อเนื่อง
การวินิจฉัย
เอ็กซเรย์คอมช่องท้องพิวเตอร์
อัลตราซาวด์
ตรวจทางรังสีวิทยา
การรักษามี 2 วิธีคือ
1.การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด
หลักการรักษา
1.ให้นอนพัก (absolute bed rest) ในวันแรกๆ
2.งดรับประทานอาหารและน้ำ
3.ใส่สาย Gastric tube และสายสวนปัสสาวะ
4.ตรวจ Hematocrit ทุก 6 ชั่วโมง ใน 24 ชั่วโมงแรก และ ทุก 8 ชั่วโมงใน 24 ชั่วโมงต่อมา
5.ทำ CT scan เป็นระยะๆ
6.ให้เริ่มรับประทานอาหารได้เมื่อลำไส้ทำงาน
7.ให้ผู้ป่วยค่อยๆเพิ่มกิจกรรม ทีละน้อยจนสามารถมีกิจกรรมได้เต็มที่ ประมาณ 6 สัปดาห์
งดกีฬาประมาณ 3-4 เดือน จนกว่า CT scan พบว่าหายดี
ข้อบ่งชี้ของการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด
1.ตรวจพบพยาธิสภาพจากการทำ CT scan
2.ผู้ป่วยมี Hemodynamic stable มีความดันเลือดและชีพจรอยู่ในเกณฑ์ปกติ
3.ไม่มี Generalized peritonitis
4.ไม่มี Hollow viscus injury โดยทราบจาก การตรวจร่างกายและทำ CT scan
5.อยู่ในสถานที่ที่สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง
2.การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด
การเปิดช่องท้องเข้าไป (Exploratory Laparotomy)
Spinal cord injury
คือ
การบาดเจ็บไขสันหลังรวมถึงรากประสาทที่อยู่
ในโพรงของกระดูกสันหลัง ดังนั้นจึงรวมถึงภาวะ Cauda equina ด้วย
อาการทางคลินิก
Central cord syndrome มีอาการอ่อนแรงของแขนมากกว่าขา รวมทั้งขามีก าลังหรือฟื้นตัวได้มากกว่ามือ/แขน
Anterior cord syndrome มีการสูญเสียกำลังและสูญเสียการรับความรู้สึกเจ็บ/ร้อน-เย็น โดยที่ความรู้สึกของข้อ(proprioception) ยังปกติอยู่
Brown – Sequard syndrome : มักมีอาการอ่อนแรงของแขน /ขาและความรู้สึกของข้อ(proprioception) ซีกเดียวกัน และสูญเสียการรับความรู้สึกเจ็บ/ร้อน -เย็นของด้านตรงข้าม
มีการพยากรณ์โรคดีที่สุดฟื้นตัวได้ใกล้เคียงปกติ
Conus medullaris syndrome : เกิดจากการบาดเจ็บบริเวณไขสันหลังส่วนปลายที่เรียวเล็กลงในผู้ใหญ่ไขสันหลังจะสิ้นสุดที่ระดับกระดูกสันหลังส่วนเอวข้อที่ 1 เรียกว่า Conus medullaris การบาดเจ็บนี้จะมีพยาธิสภาพต่อ sacral cord และ lumbar nerve root
Cauda equina syndrome : เกิดจากการบาดเจ็บบริเวณรากประสาทส่วนปลาย ที่มีลักษณะเหมือนพวงหางม้าเรียกว่า Cauda equina ท าให้เกิดการอ่อนแรงปวกเปียกของขาที่ไม่เท่ากันทั้งสองข้าง พบว่ามีreflex ลดลงหรือหายไป
การตรวจร่างกาย
การตรวจหา Neurological level
การตรวจหา Sensory level
เป็นการตรวจประเมินความรู้สึกตาม Dermatome ตั้งแต่ระดับ C2-S4-5 (28 dermatome) ทั้งสองข้าง
การตรวจ Light touch โดยใช้ก้อนส าลีและ Pin prick โดยใช้เข็มกลัดซ่อนปลาย (safety pin) ใน
การตรวจและมีระดับคะแนน 0-2 เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณใบหน้า Score 0-2
การตรวจ Rectal area examination เพื่อตรวจว่ามีความรู้สึกรอบรูทวาร หรือภายในรูทวารหรือไม่ และ/ หรือว่ามีก าลังของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักถ้าหากตรวจพบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ถือว่ามีการคงสภาพของระบบความรู้สึกเรียกว่ามี sensory sparing หรือ sacral sparing
การตรวจหา Motor level
เป็นการประเมินกล้ามเนื้อ โดยใช้ Manual muscle testingจากกล้ามเนื้อส่วนต้นไปยังส่วนปลายตามmyotome และถือตำแหน่งส่วนปลายสุดที่มี Muscle strength grade 3 ถือว่าเป็นระดับที่ปกติ ทั้งนี้กล้ามเนื้อที่อยู่ส่วนต้นต่อกล้ามเนื้อมัดดังกล่าวนี้ต้องมี Muscle strength grade 4 - 5 เท่านั้น
การรักษา
การรักษาด้วยยา methylprednisolone (ต้านการอักเสบ)
การรักษากระดูกสันหลังให้แนวกระดูกสันหลังกลับสู่สภาวะปกติและยึดไม่ให้เคลื่อนที่ มี 2 วิธี
รักษาโดยการไม่ผ่าตัด เช่น ใส่เครื่องดึงศีรษะและคอถ่วงน้ำหนักให้กระดูกกลับเข้าที่ , ใส่ HALO ,ใส่เฝือกและกายอุปกรณ์(collar)
รักษาโดยการผ่าตัด ใส่อุปกรณ์ยึดกระดูกให้คงที่ เช่น plate , rod , screw
การทำกายภาพบำบัด
เป็นสิ่งสำคัญในระยะที่ผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ , อัมพาต (Paraplegia , quadriplegia) ที่จะต้องได้รับการฝึกฝน ฟื้นฟู ให้ช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุด และป้องกันภาวะแทรกซ้อน