Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 ระยะเวลาการคลอดผิดปกติ :การคลอดเฉียบพลัน (Precipitate labor),…
บทที่ 5 ระยะเวลาการคลอดผิดปกติ :การคลอดเฉียบพลัน (Precipitate labor)
หมายถึง การเจ็บครรภ์และการคลอดทารกภายในเวลา 3 ชั่วโมง หรือการเจ็บครรภ์ที่มีอัตรา การเปิดขยายของปากมดลูกมากกว่า 5 เซนติเมตรต่อชั่วโมงในครรภ์แรก และเปิด 10 เซนติเมตรต่อชั่วโมงในครรภ์หลัง
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ผู้คลอดที่มีเชิงกรานกว้าง
เคยมีประวัติการคลอดเฉียบพลันหรือการคลอดเร็ว
ผู้คลอดครรภ์หลัง ทำให้ส่วนต่างๆ ได้แก่ คอมดลูก พื้นเชิงกราน
ช่องคลอด และฝีเย็บหย่อนตัว
ผู้คลอดไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดจากการคลอด หรือไม่รู้สึกอยากเบ่ง
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกและกล้ามเนื้อหน้าท้องแรงผิดปกติ อาจเกิดเองหรือได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกในปริมาณที่มากเกินไป
ทารกตัวเล็ก
แรงต้านทานของเนื้อเยื่อที่หนทางคลอดไม่ดี
ผู้คลอดไวต่อยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
การวินิจฉัย
ตรวจภายใน พบว่า ปากมดลูกเปิดมากกว่า 5 เซนติเมตรต่อชั่วโมงในครรภ์แรก และเปิด 10 เซนติเมตรต่อชั่วโมงในครรภ์หลัง
Uterine Contraction ≤2 นาที นาน > 90 วินาที หรือไม่คลายตัว
ความดันภายในโพรงมดลูก 50- 70 mmHg
ตรวจทางหน้าท้อง พบว่า มดลูกหดรัดตัวถี่ นาน และแรงกว่าปกติ
ภาวะแทรกซ้อน
มารดา
อาจเกิดภาวะน้ำคร่ำอุดตันในหลอดเลือด
มดลูกแตกจากการหดรัดตัวแรง
ตกเลือดหลังคลอดจากเลือดออกจากแผล กล้ามเนื้อมดลูกอ่อนล้า
มีการคั่งของเลือดใต้ผิวหนังที่ฉีกขาด
ติดเชื้อที่แผล
อาจเกิดมดลูกปลิ้นได้
เนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอดคลอดฉีกขาด
ทารก
สายสะดือขากจากสายสะดือสั้น/รกไม่ลอกตัว
ถ้าคลอดมาทั้งถุง (caul delivery) ทารกอาจสาลักน้ำคร่ำได้
Asphyxia
ติดเชื้อจากเตรียมคลอดไม่ทัน
บาดเจ็บจากการคลอด Erb’ palsy
รกลอกตัวก่อนกำหนด
เลือดออกในสมอง (subdural hemorrhage)
แนวทางการรักษา
ติดตามความก้าวหน้าของการคลอดอย่างใกล้ชิด
และเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดอย่างเร่งด่วน
การพยาบาล
เตรียมอุปกรณ์การทำคลอดให้พร้อมใช้ และผู้ทำคลอดต้องมีความพร้อมในการรับทารกที่กำลังจะเกิด
แนะนำเทคนิคการหายใจเพื่อชะลอแรงเบ่งของมารดา
กรณีที่ทารกคลอดออกมาพร้อมถุงน้ำคร่ำ ควรเจาะและฉีก ถุงน้ำคร่ำแล้วจับตัวทารกให้อยู่ในลักษณะที่ศีรษะต่ำกว่าลาตัว ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันการสูดสาลัก
หลังคลอด ติดตามการฉีกขาดของช่องทางคลอด การตรวจร่างกายทารก
ประเมินความก้าวหน้าของการคลอดและเสียงหัวใจ
ของทารกอย่างใกล้ชิด
ดูแลให้ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษา
ผู้คลอดที่มีปัจจัยเสี่ยง ควรแนะนำเรื่องการสังเกตอาการเจ็บครรภ์และอาการนาเข้าสู่ระยะคลอด หากมีอาการให้รีบมาโรงพยาบาลทันที
นางสาว จิราภรณ์ สนธิสัมพันธ์ เลขที่ 7
รหัสนึกศึกษา 603901008