Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์, น.ส…
กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ลักษณะกฎหมาย
เป็นกฎหมายเอกชนที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกคน
มีความผูกพันหรือเกี่ยวข้องกับบุคคลทั้งภายในครอบครัว และบุคคลภายนอก
มีผลกระทบต่อบุคคลที่เป็นคู่กรณีเท่านั้น
การฟ้องร้องคดีผู้เสียหายจึงต้องฟ้องต่อศาลเอง
หากมีการประนีประนอมกันได้ระหว่างดำเนินคดี ศาลก็อนุญาตให้ถอนฟ้องคดีได้
ความสัมพันธ์ของบุคคล
สัญญา
คือ การตกลงด้วยความสมัครใจระหว่างบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป โดยเจตนาจะต้องถูกต้องตรงกัน
ฝ่ายหนึ่งจะต้องแสดงเจตนาขึ้นมาก่อน เรียกว่า คำเสนอ
เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งสนใจคำเสนอนั้นก็จะแสดงเจตนาตอบรับ เรียกว่า คำสนอง
สนอง เมื่อคำเสนอและคำสนองตรงกันก็จะเกิดเป็นสัญญาผูกพันคู่สัญญา
ละเมิด
คือ การกระทำหรืองดเว้นการกระทำที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิของผู้อื่น
เป็นการกระทำของบุคคลที่ไม่มีความตั้งใจให้เกิดผลผูกพันคู่กรณี
เป็นเรื่องความผูกพันที่กฎหมายกำหนดให้ผู้กระทำต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตน
องค์ประกอบของการกระทำละเมิด
กระทำโดยบุคคลอื่นโดยผิดต่อกฎหมาย
การประทุษกรรมต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ด้วยการฝ่าฝืนต่อกฎหมายที่ห้ามไว้
หรือละเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายบัญญัติให้กระทำหรือตนมีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องกระทำ
กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กระทำโดยจงใจ
ใจ คือกระทำโดยรู้สำนึกและในขณะเดียวกันก็รู้ว่าจะทำให้เกิดความเสียหาย
เรื่องละเมิดถือหลักเบาบางกว่าทางอาญา สำหรับอาญานั้นต้องกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกันผู้กระทำต้องประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลด้วย
ส่วนจงใจในเรื่องละเมิดบางกรณีอาจจะไม่ผิดทางอาญาแต่เป็นละเมิดต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
คือ การกระทำนั้นก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น
อาจเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อร่างกายหรือทรัพย์สินก็ได้
การชดใช้ค่าเสียหาย
ค่าสินไหมทดแทน
มีวัตถุประสงค์เพื่อชดใช้ให้กับผู้เสียหาย ให้สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้
กรณีสินทรัพย์เสียหาย
ป.พ.พ มาตรา 438 วรรคสอง : ได้แก่ การคืนสินทรัพย์ที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเพราะการละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินรวมค่าเสียหายอันพึงจะบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันก่อขึ้น นั้นด้วย
กรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตาย
ป.พ.พ. มาตรา 443 ค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องชดใช้ให้กับทายาท
1.ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการปลงศพ เช่น ค่าโลงศพ ค่าธรรมเนียมวัด ค่าบำเพ็ญกุศล ฯลฯ
2.ค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดู เช่น บิดามารดา มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร หรือบุตรมีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูบิดามารดา
3.ค่าขาดแรงงาน ถ้าผู้ตายมีความผูกพันตามกฎหมาย จะต้องทำงานเป็นคุณให้แก่ ครอบครัว หรือแก่บุคคลภายนอกครอบครัว ผู้กระทำละเมิดต้องชดใช้ค่าแรงงานในส่วนนี้ด้วย
4.ค่ารักษาพยาบาลและค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ก่อนตาย (ถ้ามี)
กรณีผู้เสียชีวิตไม่ถึงแก่ความตาย เพียงแต่ได้รับอันตรายแก่กาย
ค่ารักษาพยาบาลอันจำเป็นแก่อาการ
2.ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างเจ็บป่วย
3.ค่าสูญเสียความสามารถในการประกอบอาชีพทั้งในเวลาปัจจุบันและอนาคต เช่น ความพิการที่เกิดขึ้นจากการกระทำละเมิด ทำให้ผู้เสียหายไม่อาจประกอบการงานได้ทั้งหมดหรือบางส่วน (ป.พ.พ.444)
ค่าเสียหายอื่นอันมิใช่ตัวเงิน ค่าเสียหายชนิดนี้มักเรียกว่า “ค่าทำขวัญ”
ผู้ร่วมรับผิดในการกระทำละเมิด
นายจ้างกับลูกจ้าง
ป.พ.พ.มาตรา425 กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องรับผิดชอบกับลูกจ้างในผลของละเมิดที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติของลูกจ้างในทางการจ้าง
บิดามารดากับผู้เยาว์ หรือผู้อนุบาลกับคนวิกลจริต
ป.พ.พ.มาตรา429 กฎหมายกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลต้องร่วมรับผิดชอบต่อผลของละเมิดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของผู้เยาว์หรือคนวิกลจริตที่อยู่ในความดูแลของตน เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังแล้วตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ครูอาจารย์กับผู้ที่อยู่ในความดูแลของตน
ป.พ.พ.430 กฎหมายกำหนดให้ครูอาจารย์ รับผิดชอบต่อผลของการกระทำละเมิดของบุคคลที่อยู่ในความดูแลของตน ซึ่งได้กระทำลงขณะที่ผู้นั้นอยู่ในความดูแลของตน
ตัวการร่วมรับผิดชอบกับตัวแทน
ป.พ.พ.มาตรา427 กฎหมายกำหนดให้ตัวการรับผิดต่อผลการกระทำของตัวแทน ซึ่งได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนซึ่งได้รับมอบหมายจากตัวการ
การร่วมกันทำละเมิด
ป.พ.พ.มาตรา432 ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น โดยร่วมกันทำละเมิดท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่มาสามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้นคนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นด้วย
นิติกรรม
คือ การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและสมัครใจมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ เพื่อก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
ป.พ.พ.มาตรา 149
หมายความว่า การใดๆอันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
องค์ประกอบของนิติกรรม
มีการกระทำ จะเป็นการกระทำใดๆได้ทั้งสิ้น
ด้วยการบอกกล่าวด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษร
หรือโดยกระทำสัญลักษณ์
2.การกระทำนั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ขัดต่อกฎหมาย
ประเภทของนิติกรรม
นิติกรรมฝ่ายเดียว
นิติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคลากรฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว
ex. การทำพินัยกรรม
นิติกรรมสองฝ่าย
นิติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป
โดยฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำเสนอ และอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำสนอง
เมื่อคำเสนอและคำสนองตรงกัน จึงเกิดมีนิติสัมพันธ์ขึ้นหรือเรียกว่าสัญญา
ex. สัญญาว่าจ้าง สัญญาซื้อขาย
บุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการกระทำนิติกรรม
ผู้เยาว์
บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ คือ ยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
ตามกฎหมายบุคคลจะพ้นสภาพการเป็นผู้เยาว์เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย
ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม คือ บิดา มารดา หรือผู้ใช้อำนาจปกครอง
คนไร้ความสามารถ
คือ คนวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
แต่งตั้งให้คู่สมรสหรือผู้สืบสันดานหรือบุพการีของคนวิกลจริตเป็นผู้อนุบาล
ผู้อนุบาลจะเป็นผู้ทำนิติกรรมแทนคนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถ
คือ บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงานของตนเองได้
กายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
. ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ
ติดสุรายาเมา
สภาพบังคับของกฎหมาย
โมฆะกรรม
คือ ความสูญเปล่าของนิติกรรม มีผลเสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการกระทำนิติกรรมนั้นขึ้น และผู้เสียหายก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตาม ข้อผูกพันนั้น (สูญเปล่าตั้งแต่แรก)
ป.พ.พ.มาตรา150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ
องค์ประกอบที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะกรรม
ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย คือ กฎหมายห้ามกระทำ เช่น ทำสัญญารับจ้างฆ่าคน เป็นต้น
เป็นการพ้นวิสัย คือ เป็นการกระทำในสิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ เช่น ทำสัญญา ชุบชีวิต คนตายให้ฟื้นกลับมา เป็นต้น
ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น ตกลงให้ยาแก่ผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะรุนแรงให้ตายเพื่อให้พ้นทุกข์ทรมาน เป็นต้น
โมฆียกรรม
คือ นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ในขณะที่ทำ แต่อาจถูกฝ่ายที่เสียเปรียบบอกล้างได้ในเวลาต่อมา มีผลให้นิติกรรมนั้นสิ้นสุดลงและตกเป็นโมฆะกรรม โมฆียกรรมเมื่อบอกล้างแล้วให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก
องค์ประกอบที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียกรรม
1.นิติกรรมที่ทำขึ้นโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของคู่สัญญา เช่น ทำสัญญาว่าจ้างแพทย์ผ่าตัดเปลี่ยนไตโดยสำคัญผิดว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญโรคไต แต่แท้จริงเป็นสูติแพทย์ เป็นต้น
2.นิติกรรมทำขึ้นโดยคู่สัญญาหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรม
3.การบังคับชำระหนี้ อาจเป็นการบังคับชำระด้วยเงิน หรือการส่งมอบทรัพย์สิน หรือสั่งให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืองดการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพที่เกิดขึ้น
4.การชดใช้ค่าเสียหาย กฎหมายแพ่งได้รับรองสิทธิให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กระทำผิดชดใช้ค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทนแก่ตนเพื่อให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายคืนสู่ฐานะเดิมให้ได้ใกล้เคียงที่สุด
ความรับผิดทางแพ่ง
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยหรือผู้รับบริการกับแพทย์หรือพยาบาลเปลี่ยนจากความสัมพันธ์ที่มีความนับถือไว้วางใจในตัวบุคคล
ความรับผิดตามสัญญา
เป็นความตกลงด้วยในสมัครระหว่างบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปว่าจะกระทำหรืองดเว้นกระทำกี่อันชอบด้วยกฎหมาย
ความรับผิดจากการละเมิด
การกระทำ รวมถึงการงดเว้นที่ทำให้เกิดความเสียหายแกชีวิตอนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน และสิทธิต่างๆ
หลักสำคัญที่ถือว่าเป็นการละเมิด
กระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
กระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ
ทำให้บุคคลอื่นเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง
ค่าปลงศพ
ค่าขาดไร้อุปการะ
ค่าขาดแรงงาน
ค่ารักษาพยาบาลและค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างเจ็บป่วย
ค่าเสียความสามารถประกอบการงานในอนาคต
ค่าเสียหายอื่นอันมิใช่ตัวเงิน
ผู้กระทำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ความหมายของอายุความ
คือ ระยะเวลาของกฎหมายที่กำหนดไว้ บุคคลมีสิทธิเรียกร้องจำต้องใช้สิทธิเรียกร้องของตนภายในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
ถ้ามิได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลานั้นแล้ว สิทธิเรียกร้องนั้นย่อมถูกโต้แย้ง อันเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องได้หรือเรียกว่า สิทธิแห่งการเรียกร้องนั้นขาดอายุความ
ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการรับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ผู้ที่กระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือสภากาชาดไทย จะมอบหมายให้ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ต้องเป็นบุคคลซึ่งระเบียบนี้กำหนด
บุคคลซึ่งได้รับมอบหมาย จะทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้เฉพาะ
เพื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการหรือเงื่อนไขที่ระเบียบนี้กำหนด
ต้องเป็นการปฏิบัติราชการ หรืออยู่ในสถานพยาบาลของทางราชการเท่านั้น
บุคคลที่ได้รับมอบหมายตามระเบียบนี้ต้องอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
บุคคลที่สามารถทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้
พนังงานอนามัย
เจ้าพนักงานสาธารณสุข
ผู้สำเร็จประกาศนียบัตรสาธารณสุขสาสตร์
ผู้ช่วยพยาบาลและผดุงครรภ์ ผู้ช่วยพยาบาลและจิตเวช
พนักงานสุขภาพชุมชน
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ชั้นสอง
ด้านอายุรกรรม ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการของโรค
การรักษาพยาบาลอื่น
การให้น้ำเกลือในผู้ป่วยท้องเดินอย่างรุนแรง
การฉีดเซรุ่มแก้พิษงู
การสวนปัสสาวะ
การสวนล้างกระเพาะปัสสาวะอาหารโดยใช้สายยางในรายที่สงสัยว่ารับประทานสารพิษ
ด้านศัลยกรรม
ผ่าฝี
เย็บบาดแผลที่ไม่สาหัส
ชะล้าง ทำแผล ตกแต่งบาดแผล
ผ่าเอาสิ่งแปลกปลอมซึ่งอยู่ในตำแหน่งซึ่งไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกายออก โดยฉีดยาระงับความรู้สึกทางผิวหนัง
ด้านสูตินรีเวชกรรม
ทำคลอดในรายปกติ
ทำการช่วยเหลือขั้นต้นในรายที่มีการคลอดผิดปกติ
ทำการช่วยเหลือในกรณีที่จะมี การทำแท้ง หรือหลังแท้งแล้ว
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค รวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
การวางแผนครอบครัว การฉีดยาคุมและจ่ายยาเม็ดคุมกำเนิด
การเจาะโลหิตจากปลายนิ้วหรือหลอดเลือดดำเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือเพื่อบริจาคเข้าธนาคารเลือด
ด้านปัจจุบันพยาบาล ให้การปฐมพยาบาลเกี่ยวกับการได้รับสารพิษ และสัตว์ มีพิษกัดต่อย การแพ้ยา การแพ้เซรุ่ม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)
ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ทำการประกอบวิชาชีพ เวชกรรมได้ และกระทำการด้านการวางแผนครอบครัว ใส่และถอดห่วงอนามัยได้
ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นสอง ผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลหรือประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลและจิตเวช ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้
ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นสอง ซึ่งได้ผ่านการอบรมตามหลักสูตรของกระทรวงสาธารณสุข ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ได้ และกระทำการใส่และถอดห่วงอนามัย เพื่อการวางแผนครอบครัวได้ภายใต้เงื่อนไขและหลักเกณฑ์
ได้ทดสอบผู้ขอรับการใส่ห่วงอนามัยแล้วว่าไม่ตั้งครรภ์
ผู้ขอรับการใส่ห่วงอนามัยได้คลอดบุตรมาแล้ว 45-60 วัน และยังไม่มีประจำเดือน
ผู้ขอรับการใส่ห่วงอนามัยได้คลอดหรือแท้งลูกมาแล้ว 30 วัน และยังไม่มีประจำเดือน
ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลผดุงครรภ์ ซึ่งได้ผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวกับการผ่าตัดทำหมันหญิงหลังคลอด หรือหลักสูตรที่เกี่ยวกับการใส่และถอดยาฝังคุมกำเนิด ซึ่งผ่านการอบรมของกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ทำการผ่าตัดทำหมันหญิงหลังคลอดหรือใส่และถอดยาฝังคุมกำเนิดได้ แล้วแต่กรณี
ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ซึ่งได้รับประกาศนียบัตรการศึกษาหรือการอบรมในหลักสูตรวิสัญญีพยาบาลจากกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร หรือสถาบันการศึกษาของรัฐบาล ทำการให้ยาสลบเฉพาะการให้สลบชนิด gerneral anesthesia
การทำให้หมดความรู้สึกตัวแต่ไม่รวมถึงการให้ยาชาทางไขสันหลัง
หรือการระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง ทั้งนี้ ให้อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างใกล้ชิด
ให้บุคคลซึ่งได้ผ่านการศึกษาหรือฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวกับวิชาวิทยาสาสตร์การแพทย์ทำการประกอบวิชาชีพได้
ให้บุคคลซึ่งได้ผ่านการอบรมตามหลักสูตรการผดุงครรภ์โบราณของกระทรวงสาธารณสุข ทำการรับฝากครรภ์และทำคลอดในรายปกติได้
ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซึ่งได้ผ่านการอบรม ได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถจากกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงสาธารณสุขยังแต่งตั้งให้เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอยู่ ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมและใช้ยาได้
ให้อาสาสมัครของสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยหรืออาสาสมัครของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ซึ่งได้ผ่านการอบรมจากสถาบันดังกล่าวและได้รับหนังสือรับรองความรู้ ความสามารถจากกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงสาธารณสุขยังแต่งตั้งให้เป็นอาสาสมัครของสมาคมดังกล่าวอยู่ ทำการจ่ายยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีตราของสมาคมประทับที่แผงยาได้
การใช้ยาตามบัญชียา ให้บุคคลที่ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ใช้ยาตามบัญชียาที่หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือสภากาชาดไทยกำหนด ทั้งนี้ต้องไม่เกินรายการบัญชียาสามัญประจำบ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยยา รายการยาสถานีอนามัย
การประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ตามวิธีการที่กำหนดไว้ในแบบเรียนด้วยตนเองของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อบรรเทาอาการหรือโรค
ให้การปฐมพยาบาลเกี่ยวกับบากแผลสด กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นลม ชัก จมน้ำ งูกัด สุนัขกัด หรือสัตว์อื่นกัด ไฟฟ้าดูดและได้รับสารพิษ
เจาะโลหิตเพื่อตรวจหาเชื้อไข้จับสั่น การใช้ยา
ยาสามัญประจำบ้านตามกฎหมายว่าด้วยยา
ยาที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม สั่งให้จ่ายให้แก่คนไข้เฉพาะราย และเฉพาะคราว
ยาสมุนไพรที่กำหนดในแบบเรียนด้วยตนเองของกระทรวงสาธารณสุขในงานสาธารณสุขมูลฐาน
น.ส.พลอยไพริน กิมเฮียะ 36/2 เลขที่ 3 (612001083)
อ้างอิง :
นครินทร์ นันทฤทธิ์. (ม.ป.ป.).
กฎหมายกับวิชาชีพพยาบาล
. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2563, จาก
http://base.bcnpy.ac.th/elearning/laws/D001.htm
พรจันทร์ สุวรรณชาต. (ม.ป.ป.).
จริยธรรมและกฎหมายในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2563, จาก
http://www.natne.or.th/images/01_Event/18112559/002.pdf?fbclid=IwAR3b0MnfCT_j2jNl1EBK0XNH3p2FPjtVC2HvDtDylOnBHuh6LfCRVQLkeSc
วรัฐกานต์ อัศวพรวิพุ. (2559).
มาตรฐานการพยาบาล: กระบวนการพยาบาลและจริยธรรมวิชาชีพ.
วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 2 (3), 393 – 400. สืบค้นจาก
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/162546/117308
กองการพยาบาลสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.).
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์.
สืบค้น 4 พฤษภาคม 2563, จาก
http://www.nursing.go.th/?page_id=71
กรรณิกา ปัญญาอมรวัฒน์. (ม.ป.ป.).
พยาบาลกับกฎหมาย.
สืบค้น 4 พฤษภาคม 2563, จาก
https://www.slideshare.net/knurse/ss-14370110