Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 กลวิธีการสาธารณสุขและการพัฒนาสุขภาพชุมชนเข้มแข็ง, นางสาวอมรรัตน์…
บทที่ 2 กลวิธีการสาธารณสุขและการพัฒนาสุขภาพชุมชนเข้มแข็ง
การสาธารณสุขมูลฐาน(PRIMARY HEALTH CARE)
หมายถึง การจัดระบบบริการสุขภาพพื้นฐานที่ทำให้ประชาชนมีสุขภาวะ ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเอง (ร่วมกำหนดปัญหา วางแผน ดำเนินงานแก้ไขปัญหา และควบคุมกำกับและประเมินผล) โดยการสนับสนุนจากภาครัฐด้านนโยบาย การจัดหรือปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพและองค์ความรู้ที่เอื้อต่อการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน
การสาธารณสุขมูลฐานเป็นกลยุทธ์เพื่อทำให้เกิดสุขภาพดีถ้วนหน้า
แนวคิดการสาธารณสุขมูลฐาน(PRIMARY HEALTH CARE)
มุ่งเน้นการบริการสุขภาพตามความจำเป็นของบุคคล (Health Individual’s Need)
ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้
ปัจจุบันการสาธารณสุขมูลฐานเป็นการบูรณาการบริการสุขภาพแก่ประชาชนทุกกลุ่มวัย (Care for All at All Ages)
ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการสาธารณสุขมูลฐาน
หลักสำคัญการสาธารณสุขมูลฐาน 11 องค์ประกอบ
5.เป็นความร่วมมือของชุมชนโดยการสมัครใจ
7.เป็นการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชนโดยการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น
4.การสาธารณสุขของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน
8.เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน
2.การจัดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพชุมชนที่เกิดจากการร่วมมือกันของชุมชน
9.เป็นการดำเนินงานตามบริบทของชุมชน
3,ชุมชนเข้าใจปัญหาสุขภาพชุมชน โดยเกิดจากการค้นหาข้อมูลชุมชนและร่วมกันพิจารณาปัญหาร่วมกัน รัฐมีหน้าที่สนับสนุนและช่วยเหลือให้ชุมชนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนได้
1.ระบบบริการสาธารณสุขระดับหมู่บ้าน ตำบล เกิดจากการร่วมมือที่จะรับผิดชอบสุขภาพของชุมชน
6.เป็นการดำเนินงานที่ผสมผสานกับงานพัฒนาด้านอื่นๆ เช่น การศึกษา การเกษตร การสหกรณ์และการพัฒนาชุมชน
10.เป็นการเชื่อมโยงกับงานบริการสาธารณสุขของรัฐ เช่น การสนับสนุนการส่งต่อ และการให้ข้อมูลข่าวสาร
11.กิจกรรมของงานสาธารณสุขมูลฐาน
กลวิธีการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานที่สำคัญ
การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
การปรับระบบบริการพื้นฐานของรัฐ ครอบคลุม กระจายทรัพยากร ระบบส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ
การมีส่วนร่วมของชุมชน
การผสมผสานกับงานของกระทรวงอื่น
การสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน มี 5 ระดับ
การเกี่ยวข้อง เปิดโอกาสให้ร่วมปฏิบัติและให้ข้อเสนอแนะที่นำไปสู่การตัดสินใจ
ความร่วมมือ เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาสุขภาพชุมชน
การรับฟังความคิดเห็น เปิดโอกาสให้ประชาชนให้ข้อมูลที่เป็นจริงและเสนอความคิดเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจ
การรับข้อมูลข่าวสารโดยภาคราชการเป็นผู้ให้ข้อมูล
การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ประชาชน เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจในการพัฒนาสุขภาพชุมชน เช่น กองทุนสุขภาพตำบล
หลักการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน 6 ประการ
3.การเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม
4.การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นเจ้าของ
2.การคำนึงถึงศักยภาพที่มีอยู่ของชุมชน
5.การให้ชุมชนเป็นผู้ดำเนินงานหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรม
1.การให้ความสำคัญกับประชาชนเป็นหลัก
6.การพัฒนาการมีส่วนร่วมเป็นไปตามลักษณะ/บริบทของพื้นที่
กระบวนการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน
มี 2 กระบวนการ ได้แก่
กระบวนการเสริมพลังอำนาจ (empowerment)
หลักการที่สำคัญในการสร้างเสริมพลังอำนาจ(EMPOWERMENT)
4.การเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดและประสบการณ์จนเกิดความรู้สึกเป็นกลุ่ม มีความคิดและกระทำร่วมกันจนเป็นแรงผลักดันที่ต้องการจะแก้ไขปัญหาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
5.การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นการสนับสนุนกระตุ้นให้มีการวางแผนร่วมกันจนนำไปสู่การปฏิบัติที่แท้จริง
3.การเรียนรู้จากการมีส่วนร่วม โดยการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการพัฒนาสุขภาพชุมชน
6.การเรียนการสอนที่มีความหยืดหยุ่น เป็นการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงตามความเหมาะสมกับผู้เรียน สถานการณ์หรือบริบทของปัญหา
2.การเรียนรู้ที่เริ่มจากประสบการณ์ของผู้เรียน สนับสนุนให้เกิดการวิเคราะห์ปัญหาโดยการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
7.การเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง เป็นการนำความรู้จากการฝึกอบรมและมีปฏิบัติกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจนเกิดการเรียนรู้ใหม่
1.การเรียนการสอนที่เน้นการสร้างพลังให้แก่บุคคล โดยการสนับสนุนให้เกิดการตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและสิ่งแวดล้อมและเชื่อว่าสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสุขภาพตนเอง ชุมชนและสังคมได้
8.การเรียนการสอนที่มีความสนุกสนาน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการเล่น
กระบวนการ AIC (Appreciation, Influence, and Control) โดยการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมาประชุมร่วมกัน
นวัตกรรมทางสาธารณสุข
นวัตกรรม หมายถึง การสร้างพัฒนาและสรุปความรู้ วิธีการบนฐานของความรู้ให้เกิด สิ่งใหม่ หรือปรับปรุง ให้เป็นของที่แตกต่างจากเดิมเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นวัตกรรมสาธารณสุข หมายถึง สิ่งใหม่ที่สร้างสรรค์การบริการพยาบาล ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ เครื่องมือในการให้บริการพยาบาล วิธีการให้บริการแบบใหม่ ระบบงานพยาบาลชุมชน
นวัตกรรมทางสาธารณสุขกับการสาธารณสุขมูลฐาน
เนื่องจากการสาธารณสุขมูลฐานเป็นกระบวนการพัฒนาชุมชน เน้นการเรียนรู้ สร้างเสริมประสบการณ์และพัฒนาศักยภาพชุมชนทั้งระดับบุคคล ผู้นำชุมชนและองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน ดังนั้นนวัตกรรมสาธารณสุขจึงเน้นที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
ตัวอย่างนวัตกรรมสาธารณสุข ได้แก่ โครงการหมู่บ้านพึ่งตนเองทางสาธารณสุข กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน บัตรสุขภาพ คณะกรรมการประสานงานระดับอำเภอ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คลินิกหมอครอบครัว การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
ความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนานวัตกรรม
3.เพื่อลดค่าใช้จ่ายหรือการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
4.เพื่อประสานความร่วมมือกับหุ้นส่วนทางสุขภาพในการพัฒนาการพยาบาล
2.เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางการพยาบาลสาธารณสุข
5เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจและการมีคุณค่าเป็นการแสดงศักยภาพที่เป็นเอกลักษณ์และต่อยอดองค์ความรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
1.เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการพยาบาลสาธารณสุข
ลักษณะนวัตกรรมทางสาธารณสุข
3.การประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยในการให้บริการ
4.บริการที่แสดงออกถึงการใช้ความคิดสร้างสรรค์
2.วิธีการจัดการระบบแบบใหม่มาใช้ในการประเมินกระบวนการและผลลัพธ์จากการเปรียบเทียบก่อน-หลัง
5.บริการหรือการใช้อุปกรณ์เดิมมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่อยอดจากของเดิม
1.การให้บริการหรือวิธีบริการแบบใหม่ที่ใช้งานได้จริง คุ้มค่า คุ้มทุนก่อเกิดการเรียนรู้และมีผลลัพธ์ที่ดี
นางสาวอมรรัตน์ พูลเพิ่ม เลขที่ 81 ห้อง A
รหัส 601216175