Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีผูกพัน Attachment theory - Coggle Diagram
ทฤษฎีผูกพัน Attachment theory
การประยุกต์ใช้
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงดูทารกของพ่อแม่ ทฤษฎีดังกล่าวคือ การตอบสนองของมนุษย์ภายในสัมพันธภาพเมื่อเจ็บ ถูกพรากจาากคนรัก หรือรู้สึกว่ามีอันตราย โดยพื้นฐานแล้วทารกอาจจะผูกพันธ์กับคนเดียวตามลักษณะของความสัมพันธ์ของแต่ละคนจะแตกต่างกันในทารก ความผูกพันโดยเป็นส่วนของระบบแรงจูงใจและพฤติกรรมจะสั่งการให้เด็กเข้าไปอยู่ใกล้ชิดกับคนดูแดที่คุ้นเคยเมท่อตกใจ
Separation-individuation phase
Differentiation (อายุ6-9 เดือน) เป็นระยะที่เด็กเริ่มแยกตัวออกจากแม่ มีความสนใจสิ่งแวดล้อม
นอกจากตัวแม่มากขึ้นแต่ยังหันกลับมาสนใจแม่
Practicing (อายุ9-15 เดือน) เป็นระยะที่เด็กสามารถคลานหรือเดินออกห่างจากแม่ได้มากขึ้น
Rapprochement (อายุ15-24 เดือน) เป็นระยะที่เด็กเริ่มเดินและวิ่งได้คล่องแคล่วเด็กเริ่มพบว่าตนเองไม่ สามารถทำทุกอย่างที่ต้องการได้ด้วยตนเอง และยังต้องการการดูแลจากแม่อยู่
Object constancy (อายุ24-30 เดือน) ความสัมพันธ์ที่ดีกับแม่ที่ช่วยให้เด็กเก็บภาพของแม่ไว้ ผลลัพธ์คือเด็กสามารถแยกจากแม่และพัฒนาความเป็นตัวตน
วิเคราะห์ประเด็นสาดหตุ
ตามทฤษฎีผู้ดูแลเด็กอาจจะไม่ใช่พ่อแม่แท้ๆแต่เด็กจะสร้างความสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงเปรียบเสมือน "เสาหลัก" ในชีวิต
จอห์น โบลบี้(John Bowlby)
“ทารกจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์กับคนเลี้ยงหลักอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อให้เกิดพัฒนาการทาง
สังคมและทางอารมณ์ได้อย่างสำเร็จ โดยเฉพาะการเรียนรู้เพื่อควบคุมอารมณ์ตนเองอย่างมีประสิทธิผล”
กล่าวถึงทฤษฎีความผูกพัน หรือ Attachment theory ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลายทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของมนุษย์ครอบครัว ได้แก่ ทฤษฎีEvolutionary theory และและEthological theory และ Cognitive science
การพัฒนา
ความผูกพันทางอารมณ์ต่อผู้เลี้ยง
ระยะที่ 2 Discriminating social responsiveness (อายุ2-7 เดือน) เด็กสามารถแยกแม่และผู้ที่
คุ้นเคยจากคนแปลกหน้าได้เมื่อเด็กร้องไห้แม่หรือผู้ดูแลหลักอุ้มหรือปลอบโยนจึงหยุดร้อง
ระยะที่ 4 Goal-corrected partnership (อายุ มากกว่า 3 ปี) เป็นระยะที่เด็กเข้าใจความต้องการ
และเป้าหมายของทั้งตนเองและผู้เลี้ยงดูได้และสามารถสร้างความสัมพันธ์โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน
ระยะที่1 Undiscriminating social responsiveness (อายุ0-2 เดือน) เด็กแสดงพฤติกรรมผูกพัน
ต่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูแต่ยังไม่สามารถแยกผู้เลี้ยงดูกับผู้อื่นได้
ระยะที่ 3 Active initiation in seeking proximity and contact (อายุ7 เดือน-3 ปี) เป็นระยะที่
เด็กพยายามเข้าหาและอยู่ใกล้ชิดแม่หรือผู้เลี้ยงดูหลักเพื่อความอุ่นใจและแสดงท่าทางไม่สบายใจเมื่อต้องแยกจากแม่
สถานการณ์
นางสาว บี มีลูกชาย 1คนหลังจากลาคลอดและครบกำหนดลางาน ซึ่งแม่ของตนเป็นคนเลี้ยงลูกชายให้ แต่เวลาเลิกงานตนก็จะเป็นคนดูแลลูกชายเอง เมื่อเด็กชายได้เติบโตประมาณ 1 ปี - 2 ปี ลูกชายของนางสาว บี เริ่มติดยายมากขึ้นเพราะใช้ชีวิตประจำวันอยู่กับยายผูกพันและคุ้นเคยกับยายมากกว่าแม่ เวลาหกล้อม เจ็บร้องไห้ เด็กชายก็จะร้องหาแต่ยายให้เป็นคนดูแล
แนวทางการแก้ไขปัญหา
เด็กต้องการการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูสร้างความคุ้นเคย ความสัมพันธ์กับครอบครัวเพราะฉนั้น แม่เมื่อมีเวลาว่างควรมาดูแลและเอาใจใส่เด็กเพื่อให้เด็กเกิดความรักและความคุ้นเคยกับแม่ตนเอง
ความผูกพันระหว่างเด็กกับผู้เลี้ยงดู(bonding attachment)
Attachment หมายถึง พฤติกรรมแสดงความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างเด็กกับผู้เลี้ยงดูหลักในขณะเดียวกันยังอธิบายความพร้อมของผู้เลี้ยงดูในการตอบสนองต่อความต้องการของเด็กและสื่อสารความรู้สึกต่อกัน และยังหมายถึงกระบวนการที่ช่วย ปรับเปลี่ยนความรู้สึกที่เด็กมีต่อตนเองและการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น
Bonding หมายถึง ความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างบุคคลที่เกิดจา กการมีความสัมพันธ์ต่อกันเป็น
ระยะเวลานาน