Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีแบบแผนสุขภาพ (Functional Health Pattern) - Coggle Diagram
ทฤษฎีแบบแผนสุขภาพ
(Functional Health Pattern)
แบบแผนการประเมินสุขภาพของกอร์ดอน มีความสำคัญเนื่อง
จากช่วยให้พยาบาลสามารถรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบมาก
ยิ่งขึ้น และสามารถให้บริการสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แบบแผนการประเมินสุขภาพของกอร์ดอน (Marjorie Gordon) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมินภาวะสุขภาพของบุคคล ครอบครัวหรือชุมชนทั้งในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วยโดยประเมินจากพฤติกรรมทั้งภายใน และภายนอก
ใช้แบบแผนสุขภาพเป็นแนวทางในการประเมินภาวะสุขภาพและวินิจฉัยการพยาบาลนั้นจำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจในความหมาย องค์ประกอบ
ขอบเขต จุดเด่นและจุดด้อยของแบบแผนการประเมินสุขภาพ
ความหมายของแบบแผนสุขภาพ
ใช้เป็นแนวทางในการประเมินภาวะสุขภาพของบุคคล ครอบครัว หรือชุมชน โดยการมองแบบแผนพฤติกรรมของบุคคลในช่วงระยะเวลาหนึ่งและมีผลต่อสุขภาพ โดยพฤติกรรมของบุคคลแบ่งออกเป็นพฤติกรรมภายใน และพฤติกรรมภายนอก โดยพฤติกรรมภายในได้แก่ ความรู้สึก นึกคิด ค่านิยม พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งประกอบไปด้วยพฤติกรรมที่เป็นคำพูด (verbal behavior) เช่นการพูดคุยโต้ตอบ และพฤติกรรมที่ไม่ใช่คำพูด (Non -verbal behavior) เช่น การแสดงสีหน้าท่าทางรวมทั้งระบบต่างๆของร่างกายภายใน เช่น การทำงานของระหัวใจ และการไหลเวียนโลหิต
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินภาวะสุขภาพ
ชนิดของข้อมูล ข้อมูลสุขภาพแบ่งเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1.2 ข้อมูลปรนัย (OBJECTIVE DATA) เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตโดยตรง โดยอ้อมข้อมูลจากการตรวจลักษณะทั่วไป พฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์จิตใจ อาการแสดง การตรวจร่างกาย ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1.1 ข้อมูลอัตนัย (SUBJECTIVE DATA) ข้อมูลอัตนัยเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความรู้สึก หรืออาการที่ผู้รับบริการบอกกล่าว การรับรู้ความเชื่อ ความคิด ความปรารถนา สิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบ และข้อมูลส่วนบุคคล
การตรวจสอบความเที่ยงตรงของข้อมูล (VALIDATION OF ASSESSMENT DATA)เช่น การตรวจหรือการประเมินซ้ำหากข้อมูลที่ได้มายังไม่แน่ใจหรือมีความคลุมเครือ การปรึกษาเพื่อนร่วมงานเพื่อช่วยประเมินซ้ำ การสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทั้งจากตัวผู้รับบริการหรือญาติที่นาส่งโรงพยาบาล
การซักประวัติผู้ป่วยจัดเป็นการรักษาพยาบาลอันดับแรก
รวบรวมข้อมูล เรื่องราวความเจ็บป่วยของผู้ป่วยว่า เป็นอะไร รุนแรงมากน้อยแค่ไหนเป็นมานานเท่าไรเคยรักษาแล้วหรือยัง
สูบบุหรี่ดื่มสุรา หรือใช้ยาเสพติดอะไรหรือไม่
ประกอบอาชีพอะไร ฐานะทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไร
เกิดความร่วมมือในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วย
เกิดสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย
การเตรียมพร้อมก่อน และเริ่มสัมภาษณ์
ศึกษาข้อมูลก่อนการสัมภาษณ์จากเวชระเบียน
เริ่มสัมภาษณ์ควรแนะนาตัวเอง บอกวัตถุประสงค์และลำดับขั้นตอน
บันทึกข้อมูลที่ผู้รับบริการให้อย่างเป็นระบบ
ข้อมูลพื้นฐานของประวัติควรได้ครบถ้วน ได้แก่
ข้อมูลส่วนบุคคล : ให้ระบุเฉพาะหมายเลขห้องหรือเตียง ที่ผู้ป่วยนอนพักรักษา อายุ เพศ สถานภาพสมรส โสค หย่าร้าง แยกกันอยู่ หม้าย ศาสนา อาชีพ
รายได้ของครอบครัว : ระบุรายรับของคนในครอบครัวทั้งหมด ต่อเดือน
วันที่รับไว้ในโรงพยาบาล : ระบุวันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
การวินิจฉัยโรคระบุ : การวินิจฉัยของแพทย์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
การผ่าตัด : ระบุการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยครั้งนีให้ระบุวันที่ทาผ่าตัดทุกครั้ง
ประวัติทางการพยาบาล
อาการสำคัญนำส่ง (CHIEF COMPLAINT) คือ อาการสำคัญ 1-2 อาการที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาโรงพยาบาลและระบุระยะเวลาที่มีอาการนั้นมาด้วยเช่น ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ 7-8 ครั้งและมีไข้2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลในกรณีที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลอื่น ควรระบุว่าชื่อโรงพยาบาลที่ส่งต่อมาให้ชัดเจน
ประวัติเจ็บป่วยปัจจุบัน(PRESENT ILLNESS)
หมายถึง ประวัติความเจ็บป่วยในครั้งนี้ซึ่งอาจมีความเจ็บป่วยต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีต เป็นๆ หายๆ และมีอาการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันโดยซักประวัติเรียงลาดับตามระยะเวลาที่เกิดโรคจนถึงมาโรงพยาบาล
โดยระบุดังนี้ 1 วันก่อนมา 5 ชั่วโมงก่อนมา 2 ชั่วโมงก่อนมา โรงพยาบาล
การรวบรวมประวัติเจ็บป่วยปัจจุบันจะต้องครอบคลุมถึง
ระยะเวลาที่เริ่มเกิดอาการ ( ONSET) หมายถึง ระยะเวลาที่เริ่มเป็นจนถึงเวลาที่สัมภาษณ์รวมถึงระยะเวลา ที่ปราศจากอาการในกรณีที่เป็นๆหายๆหรืออาการกำเริบใหม่
ลักษณะของการเกิดอาการหรือโรค (CHARACTER) เกี่ยวข้องกับ วิธีการเกิด
Link Title
ตำแหน่งของอาการ (LOCATION)
การเริ่มต้นและการแพร่กระจายของอาการ(RADIATION)
ความรุนแรง (QUANTITY OR SEVERITY)
ระยะเวลาที่เป็น (TIMING) เริ่มเป็นเมื่อไหร่นานเท่าไหร่ บ่อยเท่าไหร่
สภาพแวดล้อมที่เกิดอาการรวมสิ่งแวดล้อม อารมณ์หรือเกิดขณะทาอะไร (SETTING)
สิ่งที่ทำให้เป็นมากขึ้นหรือน้อยลง (REMITTING OR EXACERBATING FACTOR)
ผลกระทบต่อการทำงานและชีวิตประจำวัน (EFFECT OF SYMPTOMS)
อาการร่วม (ASSOCIATED MANIFESTRATION)
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต หมายถึง การเจ็บป่วยที่ผ่านมาและ
การตรวจรักษาที่เคยได้รับตั้งแต่เกิดจนถึงครั้งสุดท้ายก่อนการเจ็บป่วย
ประวัติโรคภูมิแพ้การแพ้ยา อาหาร สารเคมี
ประวัติปัญหาสุขภาพที่ผ่านมา หรือโรคประจำตัว
ประวัติการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
ประวัติการได้รับอุบัติเหตุการผ่าตัด การได้รับบาดเจ็บการได้รับเลือด
ประวัติการผ่าตัดคลอด การตั้งครรภ์การคลอดบุตร
ประวัติด้านสภาพอารมณ์หรือจิตเวช
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว (FAMILY HISTORY)
การประเมินทางด้านจิตสังคม
วิธีการพูดจาติดต่อสื่อสารที่ใช้และปัญหา
อารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงออกขณะประเมิน
ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุความเจ็บป่วย
ความรู้สึก/การรับรู้ของผู้ป่วยและครอบครัวต่อความเจ็บป่วย
ความคาดหวังของผู้ป่วย/ครอบครัวต่อการรักษา/การพยาบาลในครั้งนี้
ผลกระทบต่อความเจ็บป่วยต่อภาวะเศรษฐกิจของครอบครัวการเจ็บป่วย
ผลกระทบต่อความเจ็บป่วยต่อบทบาทและสัมพันธภาพในครอบครัว
ประวัติส่วนตัว (PERSONAL HISTORY) และแบบแผน
การดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นข้อมูลรายละเอียดของผู้รับ
บริการแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ เพศ ประวัติ
การศึกษา การรับวัคซีน การเติบโต
การประเมินด้านจิตวิญญาณ
เป็นการตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจเกี่ยวกับความเชื่อทางด้านศาสนา หรือเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
องค์ประกอบของแบบแผนการประเมินสุขภาพประกอบด้วย 11 แบบแผนดังนี้
แบบแผนการรับรู้ภาวะสุขภาพ และการดูแลสุขภาพ
(Heal thperception- Health management Pattern)
1.1. การรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองและผู้ที่ตนรับผิดชอบ
เป็นความ เข้าใจ
1.2. การดูแลสุขภาพของตนเอง และผู้ที่ตนรับผิดชอบ
แบบแผนโภชนาการ และการเผาผลาญอาหาร (Nutritional – metabolic Pattern)
2.1 อาหาร และภาวะโภชนาการ
2.2 การเผาผลาญสารอาหาร
2.3 น้ำ และอิเล็คโทรไลต์
2.4 อุณหภูมิของร่างกาย
2.5 การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
2.6 ผิวหนังและเยื่อบุ
2.7 ภูมิคุ้มกันโรค
แบบแผนการขับถ่าย (Elimination Pattern)
3.1 การขับถ่ายอุจจาระ
3.2 การขับถ่ายปัสสาวะ
แบบแผนกิจกรรม และการออกกำลังกาย (Activity- exercise Pattern)
4.1 การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจาวันและการออกกำลังกาย
4.2 การทำงานของโครงสร้าง (กระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ)
4.3 การทำงานของระบบหายใจ
4.4 การทำงานของระหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
แบบแผนการนอนหลับ (Sleep-rest Pattern)
แบบแผนการรับรู้ตนเอง และอัตมโนทัศน์ (Self perception – Self concept Pattern)
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ (Role-relationship Pattern) เป็นแบบแผนที่เกี่ยวกับเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ การติดต่อสื่อสาร และการมีสัมพันธภาพกับบุคคลทั้งภายในครอบครัวและสังคม
แบบแผนเพศ และการเจริญพันธุ์ (Sexuality- reproductive Pattern) เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเพศ และระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางเพศ
แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้ (Cognitive- perceptual Pattern)
6.1 การรับรับรู้และการตอบสนอง
6.2 เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการรับรู้สิ่งเร้าและการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
6.3 ความสามารถทางสติปัญญา
แบบแผนการปรับตัว และการเผชิญความเครียด ( Coping –stress tolerance Pattern) สิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด วิธีแก้ไขเมื่อเกิดความเครียด ผู้ให้คำปรึกษาหรือให้คำแนะนำเมื่อเกิดความเครียด
แบบแผนค่านิยม และความเชื่อ (Value – belief Pattern) เป็นแบบแผนเกี่ยวกับความเชื่อถือ ความศรัทธา ความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ สิ่งที่มีคุณค่ามีความหมายต่อชีวิต สิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ
จุดเด่นและจุดด้อยของแบบแผนสุขภาพ
จุดเด่น
เป็นแบบแผนที่กว้างและยืดยืดหยุ่น ใช้ได้ทั้งประเมินบุคคล ครอบครัว ชุมชน
ไม่ได้เน้นเฉพาะผู้เจ็บป่วย พฤติกรรมสุขภาพปกติก็สามารถเขียนเป็นข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
แบบแผนทั้ง 11 แบบแผน เป็นการมองถึงภาวะสุขภาพ หรือพฤติกรรมที่พบเห็นได้ทั่วไป
กระตุ้นให้เตือนให้พยาบาลมองภาวะสุขภาพของผู้รับบริการเป็นองค์รวม
สามารถนำไปใช้ในการกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลรูปแบบของ NANDA ได้
จุดด้อย
แบบแผนบางแบบแผนมีขอบเขตที่กว้างมาก ซึ่งอาจทำให้การประเมินทาได้ไม่ครอบคลุมทั้งแบบแผนประเมินปัญหาผู้ป่วยได้ไม่ครบถ้วน
บางแบบแผนมีความซ้ำซ้อนกัน เช่น แบบแผนการการรับรู้ตนเอง และอัตมโนทัศน์ แบบแผน
บทบาท และสัมพันธภาพ แบบแผนเพศ และการเจริญพันธุ์ แบบแผนการปรับตัว และการทนต่อความเครียดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงเข้มแข็งด้านจิตใจความเครียด และ แบบแผนคุณค่า และความเชื่อ