Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 1 - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ 1
การวางแผนการพยาบาล
- แนะนำให้หลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดอาการของโรคหอบหืด
- แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
- แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ 8-10 แก้วต่อวัน หรือ 2,000-3,000 ซีซี
- แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- แนะนำให้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- แนะนำให้รักษาร่างกายให้อบอุ่น
- แนะนำให้หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดหรือสัมผัสกับบุคคลที่เป็นหวัด
- แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก หากมีอาการควรรีบมาพบแพทย์ทันที
- หากทารกดิ้นแนะนำให้นับการดิ้นของทารกในครรภ์ทุกวัน เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์
- ให้คำแนะนำสามีหากหญิงตั้งครรภ์มีอาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อยหอบมาก ให้ช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน
- ในระยะคลอด หากผู้คลอดอาการของโรคไม่รุนแรงให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดปกติทั่วไป เน้นเรื่องการสังเกตอาการที่ผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น อาการหายใจลำบาก หายใจมีเสียง wheezing
- เตรียมอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพทั้งของมารดาและทารกให้พร้อมใช้ พร้อมทั้งรายงานกุมารแพทย์
- แนะรักษาความสะอาดของร่างกาย โดยการอาบน้ำอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน และทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์หลังการขับถ่ายโดยล้างทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งจากหน้าไปหลังทุกครั้ง
- ในรายที่มีอาการของโรครุนแรง แพทย์อาจพิจารณาสิ้นสุดการตั้งครรภ์ด้วยการผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้อง
หรือทำแท้งในรายที่เป็นโรคหอบหืดเรื้อรังและมีการทำงานของหัวใจและปอดแย่ลง
ดูแลช่วยเหลือแพทย์ในการทำหัตถการโดยเตรีมผู้คลอด
และอธิบายให้ผู้คลอดและครอบครัวทราบเกี่ยวกับเหตุผล
ในการทำ
การปฏิบัติตัวและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
การรักษา
ตำรา
- ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยรักษาค่าออกิเจนในเลือด (arterial blood gas) ให้มากกว่า 60 mmHg และ O2 saturation มากกว่าร้อยละ 95 ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจต้องใส่เครื่องช่วยหายใจและให้ corticosteroid
- การให้ยาขยายหลอดลม ยาที่นิยมใช้และมีความปลอดภัยสูง คือ terbutaline และ isoproterenol แต่เนื่องด้วย terbutaline มีผลต่อการหดรัดตัวของมดลูก ดังนั้นในระยะคลอดควรให้ oxytocin เสริม ส่วน isoproterenol ใช้ควบคุมโรคที่มีอาการรุนแรงได้ดี แต่อาจทำให้ทารกผิดปกติได้จึงไม่ควรใช้ในระยะยาว
- หาสาเหตุหรือปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดอาการของโรค เช่น การติดเชื้อ การสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ แนะนำให้หลีกเลี่ยงปัจจัยส่งเสริมเหล่านั้น
- ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการของโรคไม่รุนแรง สามารถให้การดูแลเช่นเดียวกับหญิงตั้งครรภ์ปกติ
- ในระยะคลอดควรให้ยาระงับปวดชนิด non-histamine releasing nacrotic เช่น fentanyl ไม่แนะนำ meperidine หรือ morphine และในรายที่จำเป็นต้องให้ยาระงับความรู้สึก ควรใช้ epidural แทน general anesthesia เพราะการใส่ท่อจะกระตุ้นให้หลอดลมหดเกร็ง
กรณีศึกษา
สอบถามถึงสาเหตุและแนะนำให้หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้น เช่น การติดเชื้อ การสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้
สาเหตุของการเกิดโรค
ตำรา
สาเหตุที่แท้จริงไม่ทราบแต่เชื่อว่ามีการกระตุ้น mast cell ให้มีการหลั่ง histamine ทำให้มีการหดเกร็งของหลอดลม เยื่อบุหลอดลมบวม มีเสมหะมากขึ้น ทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก โดยการกระตุ้นอาจเกิดจากปัจจัยภายนอกร่างกาย (extrinsic) เช่น การแพ้เกสรดอกไม้ อาหาร ยา ขนสัตว์ หรือจากปัจจัยภายในร่างกาย (intrinsic) เช่น พันธุกรรม การติดเชื้อทางเดินหายใจ การใช้ยาบางอย่าง เช่น ยาระงับประสาทหรือยาแก้ปวด รวมทั้งความเครียด ความกลัว ความโกรธ ทำให้มีการหายใจเร็ว ตื้น เกิดการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ กระตุ้นพาราซิมพาเทติควากัส ทำให้หลอดลมมีการหดเกร็ง
-
-
อาการและอาการแสดง
ตำรา
-
-
มีการใช้กล้ามเนื้อส่วนอื่นช่วยในการหายใจ เช่น กล้ามเนื้อที่ไหล่หรือคอ ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการอุดกั้นของทางเดินหายใจอย่างรุนแรง
-
-
-
-
-
-
-