Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวการสอนแบบเรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia) - Coggle Diagram
แนวการสอนแบบเรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia)
การจัดกิจกรรมโดยใช้นวัตกรรมตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia) เป็นการเน้นทักษะกระบวนการทางความคิด การวางแผน และการคาดคะเนคำตอบ โดยเด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ เพื่อหาสิ่งที่เด็กมีความต้องการที่จะเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ที่ตนเองเกิดความสนใจผ่านงานศิลปะ นวัตกรรมตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia) นี้ เมื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมจะเป็นการช่วยให้การเรียนรู้เกิดขึ้นในเด็ก
เรกจิโอ เอมิเลียคืออะไร
การกิจกรรมโดยใช้นวัตกรรมตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia) เป็นการจัดกิจกรรมแบบโครงการที่แสดงออกทางความคิดและภาษาด้วยงานศิลปะสร้างสรรค์ ไม่มีการกำหนดระยะที่แน่นอน
เรกจิโอ เอมิเลียมีที่มาอย่างไร
นวัตกรรมตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia) มีต้นกำเนิดจากประเทศอิตาลี โดยลอริส มาลากุซซี่ (Loris Malaguzzi) และกลุ่มนักการศึกษาที่ได้ทำการศึกษาทฤษฎีต่างๆ และผลการวิจัยนำมาทดลองใช้ มีการปรับปรุงจนเกิดผลสำเร็จ แนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย เป็นการจัดเนื่องจากต้องการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก และต้องการสร้างโรงเรียนปฐมวัยในรูปแบบใหม่ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีความเชื่อที่ว่า เด็กทุกคนมีความสามารถภายในตัวเองติดตัวมาแล้วทุกคน แต่จะทำอย่างไรจึงจะสามารถดึงศักยภาพที่อยู่ภายในตัวของเด็กให้ออกมาให้ได้อย่างเต็มที และเด็กทุกคนสามาเรียนรู้ไปด้วยกันได้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในรูปแบบของตน
แนวคิดของเรกจิโอ เอมิเลีย
การศึกษาแบบเรกจิโอ เอมิเลีย มีหลักคิดสำคัญคือ การเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์และบริบทที่เด็กอยู่เป็นตัวกำหนด ซึ่งหมายความว่าชุมชน สภาพแวดล้อมที่อยู่โดยรอบจะเป็นตัวกำหนดและมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก เช่น อาคารสถานที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรม พ่อแม่ เพื่อน หรือแม้แต่สัตว์ ก็เป็นสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็ก
หลักสูตร
ไม่มีการกําหนดเนื้อหาแน่นอนชัดเจน วิธีปฏิบัติคือแต่ละโรงเรียนใน Reggio Emilia จะรวบรวมรายชื่อหัวข้อโครงการที่คาดว่าจะสัมพันธ์กับความสนใจของเด็ก โครงการที่เตรียมอยู่ในมือครนั้นจะมีทั้งโครงการระยะสั้นและโครงการระยะยาว แต่ถ้าเด็กสนใจในเรื่องที่อยู่นอกเหนือรายการหัวข้อที่ครูกําหนดไว้ล่วงหน้า กิจกรรม โครงการ ในห้องเรียนก็จะปรับเปลี่ยนไปตามความสนใจของเด็ก สภาพการจัดกิจกรรมและประสบการณ์จะลื่นไหลไปตามสภาวการณ์ที่สนองความสนใจของเด็กในขณะนั้น เช่นหัวข้อโครงการ "สิ่งปลูกสร้าง" (building) เมื่อเสร็จสิ้นโครงการอาจปรากฏชิ้นงานของเด็กเป็นกระท่อม เสาสูง บ้านเช่าแบบห้องชุด หรืออื่นๆ ตามจินตนาการและการสร้างสรรค์จากเด็ก
การเรียนการสอนแบบเรกจิโอ เอมิเลียเป็นอย่างไร
1.เด็กที่เรียนการเรียนการสอนแบบเรกจิโอ เอมิเลียจะได้เรียนรู้ผ่านการทำโครงการต่างๆ (Project Approach) ซึ่งจะมีครูเป็นผู้แนะนำหรือทำรายการของหัวข้อโครงการที่น่าสนใจไว้ให้เด็กได้เลือกตามความสนใจของตัว
2.เด็กที่เรียนการเรียนการสอนแบบเรกจิโอ เอมิเลียจะได้ออกไปค้นคว้าหาความรู้อยากสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์จริง
3.เด็กที่เรียนการเรียนการสอนแบบเรกจิโอ เอมิเลียจะใช้ศิลปะ เป็นหนึ่งเครื่องมือในการสื่อสารสิ่งที่ตัวเองคิด และกระบวนการเรียนรู้ของตัวเอง
4.โรงเรียนเป็นสถานที่สำหรับบูรณาการความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ให้กับเด็ก โดยโรงเรียนเป็นเหมือนสถานที่ระกว่างกลางของเด็ก ผู้ใหญ่ และสังคม ที่จะมามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน
ปรัชญาเรกจิโอ เอมิเลีย
ตามปรัชญาของ เรกจิโอ เอมิเลียนั้น เราจะมองว่าเด็กแต่ละคนเต็มไปด้วยพลังและความสามารถตั้งแต่แรกเกิด และมุ่งหวังที่จะเป็นคนเก่งและคนดี เด็กมีวิถีของการเรียนรู้เป็นไปตามระยะ ของพัฒนาการในแต่ละวัย เด็กมีความสามารถที่จะแสดงออกในทิศทางเพื่อที่จะสัมพันธ์และสื่อสารกับผู้ อื่นรวมถึงสิ่งต่างๆ รอบตัว
หลักการและกระบวนการ ของ แนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย
1.ครูกับเด็กเรียนรู้ร่วมกัน
2.โครงการเป็นประสบการณ์ที่สำคัญ
3.ตารางกิจกรรมประจำวันและการจัดการในชั้นเรียน
4.การบันทึกข้อมูลสาระการเรียน
5.การแสดงผลงานเด็ก
บทบาทของครูในการจัดการเรียนการสอน
ครูจะต้องเคารพสิทธิของเด็กในความต้องการที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจ ครูจะต้องเป็นคนช่างสังเกต เข้าใจและรู้เท่าทันถึงความต้องการ หรือความสนใจในการเรียนรู้ของเด็ก และสามารถที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การนำไปใช้
• ข้อจำกัดที่เป็นข้อสังเกตของการสอนแบบ เรกจิโอ เอมีเลีย คือ ใช้เวลาในการเรียนแต่ละเรื่องนาน ทำให้มีโอกาสเรียนได้น้อยเรื่อง ขอบเขตของการเรียนรู้แคบ สาระการเรียนรู้ได้มีเฉพาะเรื่องที่เรียนเท่านั้น
• ข้อดีของการเรียนการสอนแบบ เรกจิโอ เอมิเลีย คือ การจัดกลุ่มเด็กเป็นกลุ่มเล็ก จะช่วยเด็กในการเรียนรู้สังคมเพิ่มขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สังเกตการณ์ทำงานร่วมกัน เกิดการยอมรับ สร้างความอดทน ทำให้เกิดพัฒนาการด้านสังคม