Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Research-based Learning การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน นิยามของการจัดการศึ…
Research-based Learning การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
นิยามของการจัดการศึกษาแบบใช้การวิจัยเป็นฐาน
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบ RBL มีดังนี้ คือ
หลักการที่ 1 แนวคิดพื้นฐาน เปลี่ยนแนวคิดจาก ‘เรียนรู้โดยการฟัง/ตอบให้ถูก’ เป็น ‘การถาม/หา
คําตอบเอง’
หลักการที่ 2 เป้าหมาย เปลี่ยนเป้าหมายจาก ‘การเรียนรู้โดยการจํา/ทํา/ใช้’ เป็น ‘การคิด/ค้น/
แสวงหา’
หลักการที่ 3 วิธีสอน เปลี่ยนวิธีสอนจาก ‘การเรียนรู้โดยการบรรยาย’ เป็น ‘การให้คําปรึกษา’
หลักการที่ 4 บทบาทผู้สอน เปลี่ยนบทบาทผู้สอนจาก ‘การเป็นผู้ปฏิบัติเอง’ เป็น ‘การจัดการให้
ผู้เรียน’
รู
ปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบใช้การวิจัยเป็นฐาน
การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย คือการให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติทําวิจัยในระดับต่างๆ เช่น การ
ทําการทดลองในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ การศึกษารายกรณี (Case Study) การทําโครงงาน การทําวิจัย
เอกสาร การทําวิจัยฉบับจิ๋ว (Baby Research) การทําวิทยานิพนธ์ เป็นต้น
การสอนโดยให้ผู้เรียนร่วมทําโครงการวิจัยกับอาจารย์หรือเป็นผู้ช่วยในโครงการวิจัย (Under
Study Concept) ในกรณีนี้ผู้สอนต้องเตรียมโครงการวิจัยไว้รองรับเพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ทําวิจัย เช่น ร่วม
เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะมีข้อเสียที่ผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้กระบวนการทําวิจัย
ครบถ้วนทุกขั้นตอน
การสอนโดยให้ผู้เรียนศึกษางานวิจัย เพื่อเรียนรู้องค์ความรู้ หลักการและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยเรื่อง
นั้นๆ วิธีการตั้งโจทย์ปัญหา วิธีการแก้ปัญหา ผลการวิจัย และการนําผลการวิจัยไปใช้และศึกษาต่อไป
ทําให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการทําวิจัยมากขึ้น
การสอนโดยใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้ว่า ทฤษฎีข้อความรู้ใหม่ๆ ใน
ศาสตร์ของตนในปัจจุบันเป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างศรัทธาต่อผู้สอนรวมทั้งทําให้ผู้สอนไม่เกิด
ความเบื่อหน่ายที่ต้องสอนเนื้อหาเดิมๆ ทุกป
ประโยชน์จากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
ประโยชน์ต่อผู้เรียน โดยผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเกิดทักษะการใช้การวิจัยในการ
แสวงหาความรู้ เรียนรู้ทฤษฎี แนวคิด หลักการและข้อค้นพบที่มีความหมายมีความเที่ยงตรง รู้จักวิเคราะห์
ปัญหา การวางแผนการแก้ปัญหาหรือการพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูล สรุปผลนําผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้
นอกจากนี้ ผู้เรียนมีโอกาสได้รักการพัฒนาทักษะการคิด
ประโยชน์ต่อครู ทําให้ครูมีการวางแผนทํางานในหน้าที่ของตนอย่างเป็นระบบ ได้แก่ วาง
แผนการสอน ออกแบบกิจกรรมโดยให้ผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับ
ผู้เรียน ประเมินผลการทํางานเป็นระยะโดยมีเป้าหมายชัดเจนว่าจะทําอะไรเมื่อไร เพราะอะไร และทําให้ทราบ
ผลการกระทําว่าบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร
ประโยชน์ต่อวงการการศึกษา ซึ่งผลของการจัดเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน
สามารถนํามาเป็นข้อมูลในการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ของครู เกี่ยวกับวิธีการจัดการการเรียนการสอนเพื่อ
พัฒนาผู้เรียนที่ครูแต่ละคน ซึ่งครูแต่ละคนสามารถจะประยุกต์และนําไปใช้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
ของครูอย่างต่อเนื่อง
สรุปได้ว่าการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานช่วยให้ผู้เรียนได้รู้จักวิธีการแสวงหาความรู้
จนกระทั่งสามารถนําไปใช้ในการค้นคว้าหาความรู้ที่มีอยู่รอบตัวและเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หรือเรียกว่าเป็น
การศึกษาตลอดชีวิต ผู้เรียนจึงต้องเรียนรู้ที่จะแสวงหาความรู้ได้ด้วยวิธีการของตนเอง การเรียนรู้ที่ตัวเนื้อหา
แต่อย่างเดียวจึงไม่ใช่เป้าหมายสําคัญของการเรียนการสอนในยุคปฏิรูปการศึกษาอีกต่อไป
ทฤษฎีหรือหลักการแนวคิด ของรูปแบบ
แนวคิดการสร้างความรู้
แนวคิดกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ
แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้
แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้
แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนความรู
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ซิปปา (CIPPA) เป็นการหลักซึ่งสามารถนําไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ให้แก่
ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA” นี้สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่
หลากหลาย ซึ่งอาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่ผู้เขียนได้นําเสนอไว้และได้มีการนําไป
ทดลองใช้แล้วได้ผลดี ประกอบด้วยขั้นตอนการดําเนินการ 7 ขั้นตอน