Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 4 โรคเอดส์, ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์10,…
กรณีศึกษาที่ 4 โรคเอดส์
สาเหตุของการเกิดโรค อาการและอาการแสดง การตรวจวินิจฉัยและการแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษา
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อ HIV โดยสามารถติดต่อได้ทางเลือด สารคัดหลั่ง การมีเพศสัมพันธ์ การให้เลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน รวมทั้งการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก
จากกรณีศึกษา : ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยมารดามีบุตรคนแรกเกิดกับสามีคนแรก อายุ 3 ปี, เคยมีเพศสัมพันธ์กับนักศึกษาก่อนตั้งครรภ์กับสามีคนที่ 2 นาน 8-9 เดือนและมารดามีหลายคู่นอน
อาการและอาการแสดง
ระยะฟักตัวประมาณ 2-3 เดือน โดยระยะเวลาเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงจากการติดเชื้อที่ไม่มีอาการจนเริ่มมีอาการใช้เวลาประมาณ 7-10 ปี ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัส HIV และภาวะภูมิต้านทานของผู้ติดเชื้อ จำนวนเชื้อไวรัสในเลือด และจำนวน CD4 สามารถแบ่งอาการออกได้เป็น 4 ระยะ
ระยะแรกที่ได้รับเชื้อ (acute HIV Infection) อาจมีอาการแบบไข้หวัดหรือ infectious Mononucleosis คือ มีไข้ มีผื่นแดงที่หน้า คอ ลำตัว และต่อมน้ำเหลืองโต บางรายมี aseptic meningitis ประมาณ 2-6 สัปดาห์ จะสามารถตรวจสอบ antibody ของ HIV แต่ในระยะนี้ส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการรักษา
ระยะเลือดบวกเอดส์โดยไม่มีอาการ (asymptomatic HIV Infection) สามารถพบ Anti-HIV antibody ในเลือด ระยะนี้อาจใช้เวลาหลายปีที่ไม่แสดงอาการ แต่ระดับ Anti p24, anti-gp 160 และCD4 ยังสูงอยู่
ระยะติดเชื้อมีอาการ (symptomatic HIV Infection) เชื้อ HIV เริ่มทำลายภูมิคุ้มกันจะตรวจพบ Anti HIV antibody และมีอาการ ได้แก่ เป็นเชื้อราบริเวณปาก มีไข้เป็นๆหายๆ ถ่ายเหลวเรื้อรัง น้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 10 และต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า 2 ที่โดยไม่ทราบสาเหตุ
ระยะเอดส์ขั้นเต็ม (fullblown AIDs) หรือโรคเอดส์ เป็นระยะที่มีการติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น เชื้อราในปอดหรือหลอดอาหาร วัณโรค ปอดอักเสบ หรือมะเร็ง เช่น มะเร็งปากมดลูก พบว่าระดับ CD4 ต่ำกว่า 200 cell/μl อัตราการตายสูง ส่วนมากจะเสียชีวิตภายใน 2 ปี
จากกรณีศึกษา : มารดาอยู่ในระยะเลือดบวกเอดส์โดยไม่มีอาการ (asymptomatic HIV Infection) โดยผลตรวจเลือด พบว่า anti HIV = positive แต่ยังไม่มีอาการและอาการแสดงของโรค
การวินิจฉัย
จากทฤษฎี
การซักประวัติ ซักประวัติเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น การมีคู่นอนหลายคนหรือคู่นอนมีภาวะเสี่ยง มีประวัติติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เป็นต้น
การตรวจร่างกาย พบอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลดลง มีไข้ ถ่ายเหลว มีผื่นหรือจ้ำเลือดตามตัวที่ไม่ทราบสาเหตุ มีอาการทางประสาท ซีด lymphocytopenia และเกล็ดเลือดต่ำ บางรายมีการติดเชื้อของรากฟันชนิดรุนแรง มีการติดเชื้อที่ตา โดยเฉพาะในระยะท้ายของโรคจะพบ cytomegalovirus retinitis ส่วนใหญ่จะพบการติดเชื้อโรคที่ช่องคลอดเรื้อรัง โดยเฉพาะเชื้อราและหูดหงอนไก่ หรือ cervical intraepithelial neoplasm (CIN) ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจ vaginal swab เพื่อดูเชื้อรา ทำ gramstain ดูการติดเชื้อหนองใน ตรวจ pap smear เพื่อหามะเร็งปากมดลูก ตรวจ VDRL เพื่อตรวจหาเชื้อซิฟิลิส ส่วนการตรวจอื่นๆเช่น การเจาะเลือดดูจำนวนเม็ดเลือดแดง ปริมาณเกล็ดเลือด การทำงานของไตและตับ เพื่อประกอบการให้ยา AZT ทำ Tubercullin skin test chest X-ray หรือ อัลตร้าซาวด์ เพื่อดูขนาดของมดลูก อายุครรภ์ เป็นต้น
จากกรณีศึกษา : ได้รับการตรวจเลือดพบว่า anti HIV = positive แต่ยังไม่มีอาการและอาการแสดงของโรค
การรักษา
จากทฤษฎี
สตรีที่ติดเชื้อ HIV ไม่แนะนำให้ตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับคำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการตรวจเลือดทั้งในหญิงตั้งครรภ์และสามีโดยความสมัครใจ
หญิงตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับการตรวจหาเชื้อ HIV
การตรวจเพื่อคัดกรองหาแอนติบอดีด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ELISA โดยควรตรวจติดต่อกันอย่างน้อย 2 ครั้ง ถ้าพบผลเลือดบวกทั้ง 2 ครั้งจะวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อ
การตรวจเพื่อยืนยัน โดยหาแอนติบอดีด้วยวิธี western blot ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด โดยดูว่าในซีรั่มของสตรีมีครรภ์มี antibody ต่อเชื้อเอดส์หรือไหม ผลลบแสดงว่าไม่มีแอนติบอดี้
การตรวจหาเชื้อด้วยวิธีการอื่น เช่น immunofluorescence, Radioimmunoprecipitation, และตรวจหาแอนติบอดีของ HIV โดยวิธี PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาvirus DNA
หญิงตั้งครรภ์ที่ผลการตรวจหาเชื้อ HIV เป็นลบ ควรเน้นย้ำถึงการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ติดเชื้อ ส่วนในรายที่มีผลเลือดเป็นบวก ต้องให้ข้อมูลคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว เพื่อไม่ให้รับเชื้อเพิ่มหรือแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
ติดตามภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ เช่น การตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์ เพื่อประเมินภาวะเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เน้นให้มาตรวจตามนัด
ติดตามภาวะความรุนแรงของโรค โดยตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดแดง ไฟเตอร์ หัดเยอรมัน ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี ตรวจภาพถ่ายรังสีทรวงอก ตรวจระดับ CD4 เป็นต้น
ทารกที่มีการติดเชื้อควรได้รับการวินิจฉัยและคลอด ได้แก่ การตรวจvirus DNA ด้วยวิธี PCR ส่วนการตรวจหาแอนติบอดี ควรตรวจเมื่อทารกอายุหลัง 15-18 เดือน เนื่องจากแอนติบอดี้ที่ผ่านมาจากมารดาจะค่อยๆหายไปใน 15-18 เดือนหลังคลอด
จากกรณีศึกษา : มารดายังไม่ได้รับการรักษา
ป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะในรายที่มี CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อไมโครลิตร
ถ้า Tuberculin Skin Test ได้ผลบวก ควรให้ยา INH รับประทานร่วมกับ Pyridoxine วันละครั้ง นาน 2 เดือน
ป้องกันการติดเชื้อ pneumocystis carinii โดยให้ยา Trimeroprim และ Sulfamethoxazole 480 mg 2 เม็ด 3 สัปดาห์
รายที่มีอาการแสดงของโรคควรให้ยา Zidovudine (AZT) แต่ในปัจจุบันพบว่าการใช้ยารวมกลุ่มกัน ดีกว่าการรักษาเพียงกลุ่มเดียว
รายที่มีภาวะแทรกซ้อน ให้การรักษาตามอาการ เช่น รักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาส รักษามะเร็ง เป็นต้น
ผลของการตั้งครรภ์ต่อโรค ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลของการตั้งครรภ์ต่อโรค
จากการศึกษายังไม่พบว่าการตั้งครรภ์มีผลกระทบต่อโรค HIV ที่ชัดเจน แต่การลดลงของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในระยะตั้งครรภ์ อาจทำให้มีโอกาสแสดงอาการของโรคได้
ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์ของมารดา
การต้องยุติการตั้งครรภ์
การติดเชื้อในโพรงมดลูกหลังคลอด
ผลของโรคต่อทารก
ทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ทารกตายในครรภ์หรือตายคลอด
น้ำหนักทารกแรกเกิดน้อย
คลอดก่อนกำหนด
เมื่อแรกเกิดอาจตรวจพบว่าทารกตัวเล็กกว่าอายุครรภ์ เลี้ยงไม่โต มีเชื้อราในปาก ตับโตและปอดอักเสบ
แผนการพยาบาลมารดาและทารกที่มีปัญหาสุขภาพ ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ เพื่อติดตามสุขภาพทารกในครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับคำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการตรวจเลือดทั้งในหญิงตั้งครรภ์และสามีโดยความสมัครใจ เพื่อค้นหาความผิดปกติก่อนตั้งครรภ์
ก่อนมีบุตร ควรวางแผนครอบครัว โดยการตรวจเลือดทั้งหญิงตั้งครรภ์และสามี เพื่อค้นหาความผิดปกติก่อนตั้งครรภ์และแก้ไขได้ทันเวลา
ให้คำแนะนำเพื่อป้องกันการรับเชื้อเพิ่มหรือการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น เช่น ไม่มีเพศสัมพันธ์หลายคน ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
แนะนำเรื่องการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน เช่น อาหารพวกเมล็ดธัญพืช ข้าวไม่ขัดสี ผักปลอดสารพิษ ดื่มน้ำสะอาด
หลีกเลี่ยงความเครียด
หลีกเลี่ยงดื่มสุราเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือน้ำอัดลม ของหมักดอง อาหารกระป๋องอาหารที่มีสารกันบูด เพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่ม
แนะนำสังเกตอาการและอาการแสดงของโรคเอดส์ จดบันทึกอาการที่เปลี่ยนแปลงทุกระยะ และรายงานแพทย์หรือพยาบาลให้ทราบโดยเร็ว
ดูแลหญิงตั้งครรภ์ในหน่วยฝากครรภ์เสี่ยงสูง เพื่อจัดลำดับความสำคัญในการดูแลเมื่อมาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง
ระยะคลอด
ดูแลการคลอดโดยยึดหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ดูแลไม่ให้เกิดบาดแผลทั้งในมารดาและทารก
หลีกเลี่ยงการโกนขนบริเวณหัวหน่าว เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำหรือการตัดฝีเย็บ โดยเฉพาะในครรภ์หลัง แต่ถ้ามีการแตกของถุงน้ำคร่ำ ควรให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก เพื่อลดระยะเวลาของการคลอดภายหลังถุงน้ำคร่ำแตก เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อ
เมื่อศีรษะทารกคลอดควรรีบดูดสารคัดหลั่งจากปากและจมูกของทารกออกให้มากที่สุดอย่างรวดเร็วและนุ่มนวล เพื่อลดการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกจากการกลืนสารคัดหลั่งของมารดา
หลีกเลี่ยงการใช้หัตถการหรือการทำให้เกิดบาดแผลในทารก เช่นการช่วยคลอดด้วยคีมหรือเครื่องดูดสูญญากาศ เพื่อลดการแพร่เชื้อ
ถ้าเป็นไปได้ ควรจัดลำดับการทำคลอดเป็นเคสสุดท้าย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่มารดารายอื่น
ระยะหลังคลอด
แนะนำให้มารดามารับการตรวจติดตามภาวะของโรคและเฝ้าระวังอาการและอาการแสดงของโรคเอดส์โดยมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
แนะนำให้มารดาตรวจ pap smear บ่อยกว่ามารดาหลังคลอดปกติ เพื่อเฝ้าระวังและติดตามการดำเนินโรค
กระตุ้นให้มารดามาตรวจภายใน 4-6 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อตรวจมดลูก
แนะนำให้มารดาพาเด็กมาตรวจหลังคลอดเป็นระยะตามนัด เพื่อประเมินการดำเนินการของโรค
แนะนำให้มารดาใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ
แนะนำเรื่องการคุมกำเนิด ควรทำหมัน เพื่อลดอัตราเสี่ยงของทารกและลดการแพร่เชื้อ
แนะนำและเน้นย้ำให้มารดาเลี้ยงบุตรด้วยนมผสม เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อเพิ่มจากการถ่ายทอดเชื้อผ่านทางน้ำนม
แนะนำให้มารดาปรึกษากับนักจิตวิทยา เพื่อหาแนวทางในการบอกสามีและครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรคที่เป็น และลดความวิตกกังวล
นางสาวธัญญามาศ สร้อยระย้า เลขที่ 34 (603101034)