Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 1 มารดาเป็นหอบหืด - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ 1 มารดาเป็นหอบหืด
สาเหตุ
ทางเดินหายใจที่มีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ แล้วไปกระตุ้น mast cell ให้มีการหลั่ง histamine ทำให้มีการหดเกร็งของหลอดลม เยื่อบุหลอดลมบวม มีเสมหะ หายใจลำบาก โดยสิ่งกระตุ้นภายนอก เช่น เกสรดอกไม้ อาหาร ขนสัตว์ ภายใน เช่น พันธุกรรม การติดเชื้อทางเดินหายใจ ความเครียด ความโกรธ
อาการและอาการแสดง
หายใจลำบาก
ใช้กล้ามเนื้อส่วนอื่นช่วยในหายใจ
ไอ
หายใจเร็ว
ชีพจรเร็ว
เหงื่ออกมาก
อ่อนเพลีย
ผลของโรคหอบหืดต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
แท้ง
อัตราตายสูงขึ้น
เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง
ภาวะแทรกซ้อน เช่น pneumothorax , cardiac arrhythmias
หยุดหายใจ
ผลต่อทารก
คลอดก่อนกำหนด
น้ำหนักแรกเกิดน้อย
เสียชีวิตในครรภ์
มีโอกาสเป็นหอบหืดมากกว่าทารกที่เกิดจากมารดาปกติ 2-4 เท่า
การตรวจวินิจฉัย
ซักประวัติ
ตำรา : มีประวัติการเป็นหอบหืด การแพ้ยา สารเคมี อาหาร เกสรดอกไม้ ฝุ่น ขนสัตว์ ประวัติการใช้ยา อาการแสดงของโรคหอบหืด
เคส : ไม่ได้ประกอบอาชีพเนื่องจากเจ็บป่วยบ่อย มีประวัติหอบหืดตั้งแต่เด็ก มีอาการครั้งสุดท้ายเมื่อปีที่แล้ว
การตรวจร่างกาย
ชีพจรเร็ว หายใจเร็ว หายใจลำบาก ฟังปอดพบ wheezing ตรวจครรภ์พบขนาดของมดลูกน้อยกว่าอายุครรภ์
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก ผลการเพราะเชื้อจากเสมหะ การตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด(สไปโรเมตรีย์) โดยมีการเพิ่มขึ้นจากเดิมของ FEV1 (forced expiratory volume in one second) หลังการสูดยาขยายหลอดลม มากกว่าร้อยละ 12
การรักษา
หาสาเหตุหรือปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดอาการของโรค เช่น การติดเชื้อการสัมผัสสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ แนะนำให้หลีกเลี่ยงปัจจัยส่งเสริม
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอโดยรักษาค่าออกซิเจนในเลือด (arterial blood go6) "มากกว่า 60 mmHg และ O2 saturation มากกว่าร้อยละ 95 ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจต้องใสเครื่องช่วยหายใจและให้ corticosteroid
การให้ยาขยายหลอดลมยาที่นิยมใช้และมีความปลอดภัยสูง คือ terbutaline และ isoproterenol แต่เนื่องด้วย terbutaline มีผลต่อการหดรัดตัวของมดลูก ดังนั้นในระยะคลอดควรให้ Oxytocin เสริมส่วน isoproterenol ใช้ควบคุมโรคที่มีอาการรุนแรงได้ดีแต่อาจทำให้ทารกผิดปกติใดจึงไม่ควรใช้ในระยะยาว
. ในระยะคลอดควรให้ยาระงับปวดชนิด non-histamine releasing nacrotic เช่น fentanyl ไม่แนะนำ meperidine หรือ morphine และในรายที่จำเป็นต้องให้ยาระงับความรู้สึกควรใช้ epidural แทน general anesthesia เพราะการใส่ท่อจะกระตุ้นให้หลอดลมหดเกร็ง
การพยาบาล
หลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดอาการของโรคหอบหืด หลีกเลี่ยงการทำงานหรืออกกำลังกายอย่างหนัก
รับประทานอาหารให้ครบหม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยเลือกวิธีที่เหมาะสมและพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
เฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในร่างกายโดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนด้วยการรักษาร่างกายให้อบอุ่นดื่มน้ำมากๆหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้หรือสัมผัสบุคคลที่เป็นหวัดสังเกตอาการผิดปกติเช่นไอมีเสมหะหายใจลำบากเป็นต้นหากมีอาการควรรีบมาพบแพทย์ทันที
รายที่มีอาการหอบหืดและใช้ยารักษาควรให้คำแนะนำเรื่องการใช้ยาถ้าใช้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์นับการดิ้นของทารกในครรภ์ทุกวันเพื่อประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์
หากอาการของโรคกำเริบต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ควรดูแลดังนี้
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอเช่นจัดให้นอนท่าศีรษะสูงหรือให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์พักผ่อนอย่างเพียงพอจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบและสะอาด
ดูแลให้ได้รับขยายหลอดลมยาขับเสมหะหรือยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาก 4 ชั่วโมงโดยเฉพาะการหายใจและสังเกตอาการหายใจ
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะการหายใจและสังเกตลำบาก
สังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอเสมหะมีสีเหลืองหรือเขียวหายใจกล้ามเนื้อไหล่และคอช่วยในการหายใจเยือบุหรือสีผิวเขียวคล้ำเป็นต้นถ้ามีอากวรหรือสิ่งที่ เช่น ไอเสมหะมีสีเหลืองหรือเขียวหายใจลำบากหรือมีการใช้มีหรือสีผิวเขียวคล้ำ เป็นต้น ถ้ามีอาการควรรายงานแพทย์
ดูแลความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก เพื่อลดการติดเชื้อของร่างกาย
ช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยหอบมาก
ในระยะคลอด ผู้คลอดที่อาการของโรคไม่รุนแรงให้ดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดปกติทั่วไป เน้นเรื่องการสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เช่น อาการหายใจลำบาก หายใจมีเสียง wheezing เป็นต้น ในรายที่มีอาการของโรครุนแรงแพทย์อาจพิจารณาสิ้นสุดการตั้งครรภ์ด้วยการผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องหรือทำแท้งในรายที่เป็นโรคหอบหืดเรื้อรังและมีการทำงานของหัวใจและปอดแย่ลง อธิบายให้ผู้คลอดและครอบครัวทราบเกี่ยวกับเหตุผลในการทำภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและการปฏิบัติตัวเป็นต้น
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
มีโอกาสเกิดภาวะเนื้อเยื่อในร่างกายพร่องออกซิเจนเนื่องจากการหดเกร็งของหลอดลม จากพยาธิสภาพของโรคหอบหืด
หญิงตั้งครรภ์วิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับโรค
มีโอกาสเกิดการกำเริบของโรค เนื่องจากขาดการรักษาอย่างต่อเนื่อง
มีโอกาสแท้ง คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย หรือ
เสียชีวิตในครรภ์ เนื่องจากพยาธิสภาพของโรค