Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทักษะ เทคนิคการจัดการเรียนรู้ และการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน -…
ทักษะ เทคนิคการจัดการเรียนรู้ และการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ความหมายทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้หรือการสอน หมายถึง การจัดสภาพการณ์ สถานการณ์ หรือกิจกรรม เพื่อช่วยให้
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่าย
คำว่า “เทคนิค” (Techniques) หมายถึง กลวิธีต่าง ๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน
หรือการกระทำต่าง ๆ ในการสอน
คำว่า “ทักษะ” (Skill) หมายถึงความสามารถของผู้สอนที่สามารถประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่
ประกอบการสอนได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว ชำนาญ
ความสำคัญของทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนร
ผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในการสอน และการจัดกิจกรรม รวมทั้งใช้เทคนิคการสอน
ได้อย่างเหมาะสม หากผู้สอนขาดทักษะในการสอน นักเรียนอาจเกิดความสับสนไม่เข้าใจในบทเรียน ดังนั้น
ทักษะและเทคนิคการสอนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสอน
ทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู
ความหมาย ความสำคัญ ขอบข่ายของทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ เช่น ทักษะการนำเข้าสู่
การจัดการเรียนรู้ ทักษะการเร้าความสนใจ ทักษะการเสริมแรง ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการอธิบาย
ทักษะการยกตัวอย่าง ทักษะการใช้สื่อและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ ทักษะการเล่าเรื่องและนิทาน ทักษะ
การใช้สีหน้า ท่าทางและวาจา ทักษะการแสดงบทบาทสมมติ ทักษะการสรุปการจัดการเรียนรู้ เทคนิคการใช้
เพลงประกอบการจัดการเรียนรู้ ทักษะการใช้เกมประกอบการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้กลุ่มย่อย การ
จัดการเรียนรู้รายบุคคล การจัดการเรียนรู้โดยการวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง การกำหนดโครงการและ
วิธีการอื่น ๆ
ความสำคัญของทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู
ทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ใน
การเรียนรู้ อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และการ
แสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน
ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือ ครู แต่จากข้อมูลอัน
เป็นปัญหาวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ครูยังแสดงบทบาทและทำหน้าที่
ของตนเองไม่เหมาะสม จึงต้องทบทวนทำความเข้าใจ ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตทาง
การศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนต่อไป
ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน
การนำเข้าสู่บทเรียน หมายถึง การเตรียมตัวนักเรียนก่อนเริ่มเรียน และก่อนที่ครูจะสอนเนื้อหาทุก
วิชา เพื่อเป็นการเตรียมนักเรียนให้รู้ว่ากำลังเรียนเรื่องอะไร สามารถนำเอาความรู้และทักษะที่นักเรียนมีอยู่เดิม
มาสัมพันธ์กับบทเรียนที่ครูกำลังจะสอนได้ ซึ่งทำได้โดยการหากิจกรรมที่เร้าความสนใจของนักเรียนแล้ว
เชื่อมโยงไปสู่บทเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น
ทักษะการเร้าความสนใจ
ทักษะการเร้าความสนใจ หมายถึง ความสามารถในการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยาก
เห็น สนใจที่จะเรียน หรือติดตามการเรียนการสอนตลอดเวลา ทักษะการเร้าความสนใจ จึงจำเป็นและสำคัญ
ยิ่งสำหรับผู้สอนในอันที่จะปรับปรุงกลวิธีในการสอนของตนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กล่าวคือช่วยให้ผู้เรียนไม่
เบื่อหน่ายในการเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในช่วงเวลาของการสอน ผู้สอนควร
จะต้องพยายามใช้เทคนิคต่าง ๆ มากระตุ้นให้นักเรียนสนใจอยู่ตลอดเวลาคือตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งการสอน
สิ้นสุดลง
ทักษะการเสริมกำลังใจ
วิธีการที่ผู้สอนจะนำมาใช้มีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การที่ผู้สอนแสดงท่าทางยอมรับ การกล่าวคำ
ชมเชยโดยตรง การยิ้ม แสดงสีหน้าพอใจ การพยักหน้า ให้ผู้เรียนเห็นความก้าวหน้าของตนเอง การให้รางวัล
การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นและการช่วยเสริมในสิ่งที่ผู้เรียนกระทำอยู่ให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ผู้สอนควรจะนำการเสริมกำลังใจหรือการเสริมแรงมาใช้อย่างเหมาะสมในการเรียนการสอน โดยพิจารณา
เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และวัยของผู้เรียน รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงการให้กำลังใจที่เป็นสิ่งของ
เพราะจะทำให้เกิดความเคยชินกับการรับของรางวัลถ้าไม่ได้เมื่อไรอาจทำให้ไม่ยอมกระทำพฤติกรรมเช่นนั้น
ทักษะการใช้คำถาม
ทักษะการใช้คำถาม คือ ความสามารถในการใช้คำพูดหรือประโยคที่มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นหรือดึง
(elicit) การตอบสนองของผู้เรียนออกมา จุดมุ่งหมายที่ครูใช้คำถามถามนักเรียนมีหลายประการด้วยกัน เช่น
ต้องการทราบว่านักเรียนเข้าใจหรือรู้เรื่องที่ครูสอนแล้วหรือไม่เพียงไร นักเรียนอ่านหรือทำการบ้านที่กำหนดให้
หรือไม่ หรืออาจจะถามเพื่อเร้าความสนใจหรือทำความกระจ่างในจุดใดจุดหนึ่งโดยตรงก็ได้
ทักษะการอธิบายและเล่าเรื่อง
การอธิบายนับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน เพราะผู้สอนจะช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความ
กระจ่างและเข้าใจเนื้อหาวิชาได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนจึงมีความ
จำเป็นที่จะต้องสอดแทรกอธิบายเพิ่มเติมเข้าไปในทุกขั้นตอนของเนื้อหาที่เห็นว่าสำคัญหรือเป็นเนื้อหาที่ยาก
ต่อการเข้าใจ นิทานและวิธีเล่านิทานเป็นกิจกรรมการสอนวิธีหนึ่งที่นักการศึกษาให้ความสนใจที่ศึกษาค้นคว้า
และยอมรับว่านิทานมีความสำคัญต่อเด็ก การเล่านิทานจึงนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในเรื่อง