Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 2 หญิงตั้งครรภ์อายุ 28 ปี G1P0A0L0 GA 12 Wks.,…
กรณีศึกษาที่ 2 หญิงตั้งครรภ์อายุ 28 ปี G1P0A0L0 GA 12 Wks.
สาเหตุ
ตามทฤษฎี:ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ E.coli อาจเกิดจากการอุดกั้นของท่อทางเดินปัสสาวะหรือปัจจัยส่งเสริมต่อการติดเชื้อ เช่น ลักษณะของท่อปัสสาวะเพศหญิงที่สั้นอยู่ใกล้กับทวารหนัก จึงมีโอกาสสัมผัสเชื้ิอโรค กระเพาะปัสสาวะยืดขยาย ทำให้มีปัสสาวะคั่ง เกิดการติดเชื้อและมีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะและอาจลุกลามไปที่ไตหรือกรวยไต
ผู้ป่วย:กรณีศึกษาเป็นหญิงตั้งครรภ์ จึงมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของระบบทางเดินปัสสาวะในขณะตั้งครรภ์จากผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน กระเพาะปัสสาวะจึงยืดขยาย เกิดปัสสาวะคั่ง จึงมีการติดเชื้อและอักเสบของกระเพาะปัสสาวะขึ้น ร่วมกับผู้ป่วยมีพฤติกรรมกลั้นปัสสาวะบ่อย
อาการ
ตามทฤษฎี:ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปวดหลังหรือปวดหัวหน่าว มีไข้ต่ำๆ ปัสสาวะสีขุ่นอาจมีเลือดปน
ผู้ป่วย:มีอาการปวดหน่วงท้องน้อย ปัสสาวะกระปริบกระปรอย ปัสสาวะแสบขัดตอนถ่ายสุด ปัสสาวะไม่มีเลือดปน
การตรวจวินิจฉัย
ตามทฤษฎี:1.การซักประวัติ อาการและอาการแสดง 2.การตรวจร่างกาย จะพบอุณหภูมิร่างกายมากกว่า 37.5 องศา มีอาการปวดท้องน้อย ปวดเหนือหัวหน่าว ปวดหลัง 3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การเก็บปัสสาวะส่งตรวจหรือส่งเพาะเชื้อ จะพบว่ามีค่าความถ่วงจำเพาะสูง พบเซลล์เม็ดเลือดขาวผิดปกติ ย้อมติดสีแกรมลบ พบเชื้อ E.coli มากกว่า 105 colonies/ml
ผู้ป่วย
จากการซักประวัติ ผู้ป่วยมีอาการปวดหน่วงท้องน้อย ปัสสาวะกระปริบกระปรอย ปัสสาวะแสบขัดตอนถ่ายสุด มีพฤติกรรมกลั้นปัสสาวะบ่อย
การตรวจร่างกาย อุณหภูมิร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ 36.5-37.4 องศา มีอาการปวดหน่วงท้องน้อย
ผลการตรวจ Urine analysis
WBC 10-20 cell/HPF มีการติดเชื้อแบคทีเรีย
Squamous epithelial cell 1-2 cell/HPF=มีเซลล์เยื่อบุผิวหลุดปนออกมา แสดงว่ามีการอักเสบหรือติดเชื้อเกิดขึ้น
Bacteria numerous=มีแบคทีเรียจำนวนมากในปัสสาวะ
ผลของโรคต่อทารก
ตามทฤษฎี: ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า น้ำหนักทารกแรกเกิดน้อยหรือพิการแต่กำเนิด
ผลของโรคต่อหญิงตั้งครรภ์
ตามทฤษฎี:การแท้ง การคลอดก่อนกำหนด
ผลของการตั้งครรภ์ต่อโรค
ตามทฤษฎี:อาการของการติดเชื้อรุนแรงขึ้น
การรักษา
ตามทฤษฎี
1.การให้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ยา ampicillin 500 mg วันละ 3-4 ครั้ง นาน 7-10 วัน แต่รายที่มีอาการรุนแรงควรให้ ampicillin 1 mg ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ทุก 4-6 ชั่วโมง นาน 3 วัน และติดตามผลการตรวจเพราะเชื้อเป็นระยะ
2.รายที่มีการติดเชื้อรุนแรง ควรรักษาภาวะขาดน้ำและภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและอิเล็คโตรไลต์ โดยให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
การพยาบาล
ระยะคลอด
1.ประเมินความก้าวหน้าของการคลอด Pathograph
2.ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกอย่างใกล้ชิด ถ้าพบว่าเต้นเร็วผิดปกติควรรีบรายงานแพทย์
3.สอนเทคนิคการหายใจ เพื่อบรรเทาความปวด และสอนการหายใจเพื่อเบ่งคลอดอย่างถูกวิธี
4.ดูแลให้ได้รับสารน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอ
5.เตรียมอุปกรณ์ในการทำคลอด อุปกรณ์ในการช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ รวมทั้งอุปกรณ์ช่วยฟื้ืนคืนชีพมารดาและทารกให้พร้อมใช้
ระยะหลังคลอด:แนะนำมารดาให้รับประทานครบ 5 หมู่อย่างเพียงพอ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ อย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ แนะนำเรื่องการสังเกตอาการที่ผิดปกติ เช่น ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะแสบขัด มีไข้ เป็นต้น ควรรีบมาพบแพทย์ แนะนำให้รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยการอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่าย สวมใส่เสื้อผ้าที่แห้งสะอาด โดยเฉพาะกางเกงชั้นใน
ระยะตั้งครรภ์:แนะนำมารดาให้รับประทานครบ 5 หมู่อย่างเพียงพอ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ อย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ แนะนำเรื่องการสังเกตอาการที่ผิดปกติ เช่น ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะแสบขัด มีไข้ เป็นต้น ควรรีบมาพบแพทย์ แนะนำให้รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยการอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่าย สวมใส่เสื้อผ้าที่แห้งสะอาด โดยเฉพาะกางเกงชั้นใน ให้มารดาสังเกตและนับการดิ้นของทารกในครรภ์ทุกวัน ให้มาตรวจครรภ์ตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
นางสาววรินรัตน์ สว่างศรี เลขที่ 85(603101086)