Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:<3:ความหมายของสถิติศาสตร์และข้อมูล :<3:, นางสาวนันทิกานต์ …
:<3:ความหมายของสถิติศาสตร์และข้อมูล :<3:
ประวัติและวิวัฒนาการของสถิติ
สถิติตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "statistik" ในภาษาเยอรมันเป็นคำที่มีรากศัพท์เดียวกับคำว่า "state" นักปรัชญาชาวเยอรมัน กอตต์ อาเชนวอลล์ (Gottfried Achenwall) เป็นผู้บัญญัติขึ้นในปี ค.ศ.1749 (พ.ศ. 2292) หมายถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องและจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของรัฐ และขณะเดียวกันก็ถือว่าเป็นรัฐศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยการใช้ข้อมูลมา บริหารกิจการของรัฐ
ความหมายของสถิติ
ตัวเลขหรือกลุ่มตัวเลขที่แทนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหหนึ่งหรือข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง อาจนำมาใช้พยากรณ์ล่วงหน้าได้ หรือนำมาใช้พยากรณ์ล่วงหน้าไม่ได้
วิชาหรือศาสตร์ที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การตีความหมายข้อมูล
ประเภทของสถิติ
สถิติเชิงพรรณนา
เป็นสถิติที่เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น ตาราง แผนภูมิ กราฟ หรือรูปภาพ เป็นต้น และยังเกี่ยวข้องกับการคำนวณค่าสถิติต่างๆ เช่น ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งค่าสถิติที่ได้จะแสดงลักษณะของข้อมู,เพียงอย่างเดียว และข้อสรุปที่ได้จากข้อมูลนี้ไม่ได้นำไปคาดคะเนหรืออ้างอิงถึงกลุ่มอื่น
สถิติเชิงอนุมาน
สถิติในส่วนนี้เป็นผลมาจากการรวมทฤษฎีความน่าจะเป็นกับการวิเคราะห์ข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อหาผลสรุปเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆของประชากรโดยศึกษาจากตัวอย่างที่สุ่มมาจากประชากร เช่น การประมาณค่าพารามิเตอร์ การทดสอบสมมตฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน
คำศัพท์สำคัญที่ควรรู้ในวิชาสถิติ
2.ตัวอย่าง (Sample) หมายถึง บางหน่วยในเรื่องที่เราสนใจศึกษา หรือบางส่วนของประชากร
3.พารามิเตอร์ (Parameter) หมายถึง ค่าที่แสดงถึงคุณลักษณะของประชากร โดยทั่วไปมักไม่ทราบค่า
1.ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยทุกหน่วยในเรื่องที่เราสนใจศึกษา ซึ่งอาจเป็น คน สัตว์ สิ่งของ
4.สถิติหรือค่าสถิติ (Statistic) หมายถึง ค่าที่แสดงถึงลักษณะของตัวอย่าง
ข้อมูลและประเภทของข้อมูล
ความหมายข้อมูล
ข้อความจริง ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขหรือข้อความก็ได้
ประเภทของข้อมูล
การจำแนกประเภทของข้อมูลจากวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ข้อมูลเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง เช่น การสัมภาษณ์ การนับ การวัด การกรอกแบบสอบถาม การทดลอง
ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งซึ่มีผู้อื่นเก็บรวบรวมข้อมูลไว้แล้ว เช่น จากการรายงานของหน่วยราชการและเอกชนต่างๆ
การจำแนกประเภทของข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล
ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) ได้แก่ ข้อมูลที่บอกขนาดหรือปริมาณที่วัดเป็นจำนวนได้ เช่น คะแนน ความสูง
ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) ได้แก่ ข้อมูลที่แสดงถึงสภาพ สถานะ สมบัติ คุณสมบัติ ซึ่งไม่ได้บอกในลักษณะที่เป็นขนาดหรือปริมาณ เช่น พ.ศ. เบอร์ของสินค้า บ้านเลขที่
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ
การสำมะโน (Census) คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกๆหน่วยของประชากรที่เราสนใจศึกษา เช่นการทำสำมะโนประชากรของประเทศไทยทุกๆ 10 ปี
การสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง (Sample survey) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบางหน่วยที่เลือกมาเป็นตัวแทนจากทุกๆหน่วยของประชากร หรือสิ่งที่เราต้องการศึกษาเท่านั้น
วิธีสังเกต
วิธีสอบถามทางโทรศัพท์
การกรอกแบบสอบถาม
วิธีทดลอง
วิธีสัมภาษณ์
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่มีผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้แล้ว โดยการคัดลอกข้อมูลเฉพาะส่วนที่ต้องการที่จำเป็นเท่านั้น
การแจกแจงความถี่โดยใช้กราฟ
1.ฮิสโทแกรม (Histogram) มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากวางเรียงติดกันบนแนวนอน โดยมีแกนนอนแสดงความกว้างของแต่ละอันตรภาคชั้น และแกนตั้งแสดงความถี่ของข้อมูลในแต่ละอันตรภาคชั้น
2.รูปหลายเหลี่ยมของความถี่ (Frequency polygon) คือ รูปหลายเหลี่ยมที่เกิดจากการลากโยงเส้นตรงระหว่างจุดกึ่งกลางยอดแท่งสี่เหลี่ยมมุมฉากของฮิสโทแกรม
3.เส้นโค้งความถี่ (Frequency curve) คือ เส้นโค้งที่ได้จากการปรับด้านของรูปหลายเหลี่ยมความถี่ให้เรียบขึ้น
4.แผนภาพต้น - ใบ (stem - leaf plot) เป็นการจัดกลุ่มของข้อมูลโดยใช้ค่าของข้อมูล ทำให้สามารถบอกรายละเอียดของข้อมูลได้มากกว่าการใช้ตารางแจกแจความถี่และฮิสโทแกรม
การแจกแจงความถี่ของข้อมูล
วิธีเรียงตามลำดับของข้อมูล วิธีนี้เหมาะกับข้อมูลที่มีจำนวนไม่มากนัก และมีข้อมูลซ้ำกันอยู่
วืธีเรียงเป็นช่วงคะแนน หรือเป็นอันตรภาคชั้น (x)
พิสัย = คะแนนสูงสุด - คะแนนต่ำสุด
ความกว้างหรือขนาดของอันตรภาคชั้น = พิสัย / จำนวนชั้น
ขีดจำกัดล่าง คือ ค่าที่เป็นไปได้น้อยที่สุดในอัตรภาคชั้นนั้น
ขีดจำกัดบน คือ ค่าที่เป็นไปได้มากที่สุดในอันตรภาคชั้นนั้น
ขอบล่างของอันตรภาคชั้น คือ ค่ากึ่งกลางระหว่างขีดจำกัดล่างของอันตรภาคชั้นนั้นกับขีดจำกัดบนของอันตรภาคชั้นที่อยู่ติดกันและเป็นช่วงคะแนนที่น้อยกว่า
ขอบบนของอันตรภาคชั้น คือ ค่ากึ่งกลางระหว่างขีดจำกัดบนของอันตรภาคชั้นนั้นกับขีดจำกัดล่างของอันตรภาคชั้นที่อยู่ติดกันและเป็นช่วงคะแนนที่มากกว่า
ความถี่ (f) คือ จำนวนคะแนนในแต่ละอันตรภาคชั้น
จุดกึ่งกลางชั้น คือ ค่ากึ่งกลางระหว่างขอบบนและขอบล่าง
การแจกแจงความถี่สะสม (F) คือ ผลรวมของความถี่ของอันตรภาคชั้นนั้นกับความถี่ของอันตรภาคชั้นที่ต่ำกว่าทั้งหมด
การแจกแจงความถี่สัมพัทธ์ = f / N
การแจกแจงความถี่สะสมสัมพัทธ์ = F / N
นางสาวนันทิกานต์ จันทร์หอม
ชั้น 6/1 เลขที่ 50