Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 3
นางสมปอง อายุ 39 ปี G4P1A2L1 บุตรคนแรกคลอดเมื่ออายุครรภ์…
กรณีศึกษาที่ 3
นางสมปอง อายุ 39 ปี G4P1A2L1 บุตรคนแรกคลอดเมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ น้ำหนักแรกคลอด 2200 กรัม ครรภ์ที่สองและสามแท้งเองไม่ได้ขูดมดลูก
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 50 กิโลกรัม ส่วนสูง 156 เซนติเมตร
ประวัติการเจ็บป่วย
ปฏิเสธการมีโรคประจำตัว ปฏิเสธการผ่าตัด ปฏิเสธการแพ้ยา
ผลตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย
หญิงตั้งครรภ์และสามี OF negative DCIP negative
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
VDRL non-reactive, HbsAg positive, HbeAg positive Blood group O Rh positive, Hct 33%
การประเมินการตรวจร่างกาย/การประเมินการตรวจครรภ์
น้ำหนัก 58 กิโลกรัม BP 130/90 mmHg, Urine albumin negative, Urine sugar negative ระดับยอดมดลูก 2/4 มมากกว่าระดับสะดือ รู้สึกลูกดิ้นดี FHS 156 ครั้ง/นาที ตรวจไม่บวม ไม่พบตกขาว ตรวจพบ มีไข้ ตัวตาเหลือง จึงส่งพบแพทย์
อาการและอาการแสดง
อาการแสดงจะคล้ายกับโรคตับอักเสบเอแต่จะมีอาการแบบค่อยไปค่อยไปไม่เฉียบพลันเหมือน โรคตับอักเสบเอ มักมีอาการของภาวะดีซ่านร่วมด้วย
-
การประเมินและการวินิจฉัย
ตรวจลักษณะทางคลินิกและการทำงานของตับแต่ที่สำคัญควรตรวจหา marker ของเชื้อไวรัสจากน้ำเหลือง ได้แก่ HBsAg, HBsAb (anti-HB), HBcAg, HBcAb (anti-HBc), HBcAg และ anti-HBe ถ้าตรวจพบ HBsAg แสดงว่ามีการติดเชื้อถ้าตรวจพบ HBeAg ร่วมด้วยจะมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นรวมทั้งทารกได้สูงการป้องกันและการรักษา
-
-
การป้องกันและการรักษา
- ตรวจคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ทุกรายโดยตรวจหา HBsAg ในเลือดเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกและในช่วงไตรมาสที่ 3 ถ้าให้ผลบวกควรตรวจหา HBsAg ในเลือดเพื่อหาความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อสู่ทารกและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคการแพร่กระจายเชื้อภาวะแทรกซ้อนการรักษาเป็นต้น
- ให้การรักษาตามอาการสำหรับ acute HBV ปกติจะหายไปเองภายใน 3-16 สัปดาห์
- แนะนำให้มาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
- การคลอดควรพิจารณาให้คลอดทางช่องคลอดเนื่องจากพบว่าอัตราการแพร่กรจากมารดาสู่ทารกในการคลอดทางช่องคลอดและการผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องไม่แตกต่างการผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องจึงควรทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางสูติศาสตร์เท่านั้นสิ่งสำคัญและคือเมื่อทารกคลอดออกมาควรรีบดูดสารคัดหลั่งออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุดเช็คและนำทารกไปทำความสะอาดร่างกายทันทีแต่ไม่จำเป็นต้องแยกมารดาและทารกในระยะหลังคลอด
- ให้ภูมิคุ้มกันแก่ทารกคือ hepatitis B immunoglobulin (HBIG) แกทารกแรกคลอดทันทีภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอดรวมทั้งให้วัคซีน H-B-Vax หรือ Engerix-B ทันทีหรือภายใน 7 วันหลังหลังจากนั้นให้อีก 2 ครั้งคือเมื่ออายุครบ 1 เดือนและ 6 เดือน
- การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาพบว่าอัตราการติดเชื้อในทารกผ่านทางน้ำนมจะสูงขึ้นหามารดามีเชื้อ HIV มีหัวนมถลอกหรือหัวนมแตกแต่ในทารกที่ได้รับวัคซีนเมื่อแรกคลอดแล้วความเสี่ยงต่อการติดเชื้อผ่านทางน้ำนมจะไม่เพิ่มขึ้น
ที่มา:ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์. 2562. เอกสารประกอบการสอนวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์2 เล่ม1
-