Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลในระยะที่ 1 ของการคลอด, นางสาวสิริรัตน์ ขัตติยะ ปี 2 เลขที่ 133…
การพยาบาลในระยะที่ 1 ของการคลอด
ซักประวัติ และศึกษาจากประวัติการฝากครรภ์ในสมุดฝากครรภ์
1ประวัติการเจ็บครรภ์ หรืออาการนำส่งโรงพยาบาลเพื่อให้ทราบว่าเข้าสู่ระยะคลอดหรือไม่
2 มูก (show) ถามว่ามีอะไรออกมาทางช่องคลอดหรอไม่ สิ่งที่ออกมา ลักษณะ อย่างไร
1 การเจ็บครรภ์ ( Labor pain ) ควรซักประวัติแยกให้ได้ว่าเป็นการเจ็บครรภ์จริง (True labor pain ) หรือ เจ็บครรภ์เตือน (False labor pain)
3 มีน้ำเดินหรือถุงน้ำแตก (rupture of membranes) ถามว่ามีหรือไม่ ถ้ามีเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ลักษณะเป็นอย่างไร จำนวนเท่าไหร่
ประวัติทางสูติกรรม เกี่ยวกับประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดในอดีต
1 ประวัติการแท้งการขูดมดลูก
2 ประวัติภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
3 ประวัติการคลอด
4 ประวัติของทารก
5 ประวัติความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆในระยะคลอดและหลังคลอด
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน ซึ่งอาจมีผลต่อการคลอด
ประวัติความเจ็บป่วยทางอายุรกรรมและศัลยกรรมทั้งปัจจุบันและอดีต
5.ประวัติการแพ้ยาและสารอาหารต่างๆ ที่มีผลต่อการคลอดในครั้งนี้
6.ประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว
ข้อมูลส่วนบุคคล
ประวัติด้านจิตสังคม
ประสบการณ์การตั้งครรภ์และการคลอด
การวางแผนการตั้งครรภ์และการคลอด
ความรู้และเจตคติต่อการตั้งครรภ์
ความกลัวและความวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอดและทารกในครรภ์
ความคาดหวังต่อการคลอด ความคาดหวังต่อเพศของเด็ก ความคาดหวังต่อการบริการของบุคลากรพยาบาล
ความสัมพันธ์ในครอบครัวและการช่วยเหลือสนับสนุนทางสังคม
ตรวจร่างกาย
1.การตรวจร่างกายทั่วไป
ลักษณะรูปร่างของร่างกาย ถ้ามารดามีความสูงน้อยกว่า 145 ซม. อาจมีภาวะของ CPD (cephalopelvic disproportion) ดูลักษณะท่าเดินเพื่อค้นหาความพิการ อาจมีผลต่อกระดูกเชิงกราน ทำให้เชิงกรานแคบหรือเชิงกรานบิดเบี้ยว ทำให้คลอดทางช่องคลอดไม่ได้
.2 ลักษณะที่แสดงออกทั่วไป (Appearance) จากการสังเกตสภาพมารดาจะทราบถึงสุขภาพอนามัยของมารดาได้ เช่น อาการซีด อาการตัวเหลือง ตาเหลือง ความดันโลหิต (Blood pressure) อาการบวม (Edema)
3 การตรวจสัญญาณชีพ
4 การประเมินภาวะผิดปกติของผู้คลอดซึ่งอาจพบได้ เช่น Matemal distress
5 น้ำหนัก
6 พฤติกรรมการแสดงออกถึงความเจ็บปวด
2.การตรวจร่างกายเฉพาะที่
การดู (Inspection)
1.ประเมินอายุครรภ์โดยดูขนาดของมดลูกเปรียบกับระยะของการตั้งครรภ์
2.ดูขนาดหน้าท้องว่าใหญ่ผิดปกติหรือไม่
ลักษณะทั่วไปของท้อง
สีของผิวหนังหน้าท้อง และดูว่ามีรอยผ่าตัดหรือไม่
ท่า ของเด็กในครรภ์มารดา ( Lie )
7.การตรวจดูท่าของเด็ก เสียงหัวใจเด็ก การหดรัดตัวของมดลูก
6.การเข้าสู่อุ้งเชิงกรานของส่วนนำ ( Engagement )
การเคลื่อนไหวของทารก
การคลำ
เพื่อเป็นการตรวจสภาพลักษณะของทารกในครรภ์ว่าอยู่ในท่าใด
คาดคะเนน้ำหนักทารก
ความสูงของยอดมดลูก
ส่วนนำของทารก
การฟัง
การฟังเป็นการวินิจฉัยเดี่ยวกับการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
1.การฟังเสียงหัวใจทารก บริเวณสะบักซ้ายตำแหน่งของเสียงหัวใจที่ฟังได้ชัด ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ และท่าของทารก อัตราการต้นของหัวใจทารกอยู่ในช่วง 120-160 ครั้งต่อนาที จังหวะสม่ำเสมอ
2.จะฟังเสียงหัวใจเด็กได้เมื่อตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป
3.ตรวจดูว่าทารกยังมีชีวิตอยู่หรือไม่
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผลการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography)
ผลการตรวจ NST (Non- stress test)
EFM สภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์
การตรวจปัสสาวะ
น้ำตาล
โปรตีน
การตรวจภายในช่องคลอด (vaginal examination)
เพื่อประเมินการดำเนินการคลอดในสถานที่บางแห่งอาจใช้วิธีการตรวจทางทวารหนักแทนการตรวจทางช่องคลอด
ดูสภาพปากมดลูก
เตรียมผู้คลอด
1.การเตรียมผู้คลอดทางด้านจิตใจ
1.การอธิบายให้ทราบเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ ผลการตรวจต่างๆ การดำเนินการคลอด และกระบวนการคลอด
2.อธิบายเกี่ยวกับการรับไว้เพื่อรอคลอด การแนะนำสถานที่และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการรอคลอด การเยี่ยมและการติดต่อกับสามีและญาติ สิทธิของผู้คลอด
3.เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
2.การเตรียมผู้คลอดทางด้านร่างกาย
การสวนอุจจาระ
การทำความสะอาดร่างกาย
การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและฝีเย็บ
จัดให้พักผ่อนในห้องรอคลอดและดูแลอย่างใกล้ชิด
3.การบันทึกรายงาน
ต้องมีการบันทึกในทุกระยะ ที่ให้การพยาบาลโดยบันทึกข้อมูลให้ครบตามกระบวนการพยาบาลได้กระทำกับผู้คลอด รวมถึงการเซ็นยินยอมรับการรักษา
การประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
1 การหดรัดตัวของมดลูก
ประเมินทั้งความถี่ ความแรง และความนานในการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งช่วง latent ควร ประเมินทุก30-60 นาทีช่วง active ควรประเมินทุก 15-30 นาที และช่วง transitional ควรประเมินทุก 15 นาทีโดยปกติ
2 การตรวจภายในช่องคลอด (vaginal examination)
2.ตรวจสภาพปากมดลูก การตรวจขยายและความบางของปากมดลูก
3.ตรวจสภาพของถุงน้ำทูน
1.ตรวจสภาพช่องคลอด
ห้ามตรวจบ่อยเกินความจำเป็น
4.ตรวจหาส่วนนำ
5.ขนาดของ molding
6.การตรวจสภาพของช่องเชิงกราน
7.สิ่งผิดปกติต่าง ๆ
3 การเคลื่อนต่ำของส่วนนำทารกและการหมุนของทารก
การเต้นของหัวใจทารก
ฟังเสียงหัวใจทารกจะช่วยวินิจฉัยภาวะขาดออกซิเจน ปกติอัตราการเต้นของหัวใจทารกอยู่ที่ 110-160 ครั้งต่อนาที อัตราการเต้นสม่ำเสมอ ฟังเสียงหัวใจทารกให้เต็ม 1 นาที
5 ลักษณะน้ำคร่ำ
โดยปกติเมื่ออายุครรภ์ไม่ครบกำหนดน้ำคร่ำมีลักษณะสีใส สีเหลืองจางๆ คล้ายสีฟางข้าว เมื่อใกล้กำหนดคลอด น้ำคร่ำจะมีสีขุ่นคล้ายน้ำมะพร้าว เนื่องจากมีไขของทารกปนออกมาด้วย
6 การดิ้นของทารกในครรภ์
ในภาวะปกติทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวอย่างน้อย 10 ครั้งในช่วงระยะเวลา 12 ชั่วโมง
7.บันทึกความก้าวหน้าของการคลอด
เส้นกราฟของ Friendman (Friendman’s curve) เป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดของปากมดลูกกับระยะเวลาในการคลอด
เส้นกราฟขององค์การอนามัยโลก (WHO partogram) จะบันทึกความก้าวหน้าของการคลอดแสดงแนวโน้มความก้าวหน้าของการคลอดที่ผิดปกติและช่วยในการตัดสินใจส่งต่อผู้คลอดได้
บทบาทการพยาบาลในระยะคลอด
มีการตัดสินใจที่ดีและมีความพร้อมในการช่วยเหลือเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น
มีความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา รู้เทคนิคของการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ตั้งแต่ระยะเจ็บครรภ์จนถึงสิ้นสุดของการคลอด
มีสัมพันธ์ภาพที่ดี มีความเห็นอกเห็นใจหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในระยะของการคลอด
มีความสามารถในการค้นหาความต้องการของหญิงที่อยู่ในระยะคลอดและดูแลตามความต้องการนั้น
มีความตื่นตัวในการค้นพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
มีความสามารถและชำนาญในเทคนิคต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้คลอดปลอดภัย
ลักษณะความก้าวหน้าของการคลอดที่ผิดปกติ
1) ระยะ latent ปากมดลูกไม่เปิดขยายเพิ่มขึ้นภายใน 4 ชั่วโมง
2) ระยะ active ปากมดลูกไม่เปิดขยายเพิ่มขึ้นภายใน 2 ชั่วโมง หรือปากมดลูกเปิดขยายน้อยกว่า 1.2 เซนติเมตรต่อชั่วโมงในครรภ์แรก และเปิดขยายน้อยกว่า 1.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมงในครรภ์หลัง
4) ระยะที่สองของการคลอด พบว่าส่วนนำไม่มีการเคลื่อนต่ำลงมาในช่องเชิงกรานภายใน 30 นาที
3) เส้นกราฟการคลอดที่แสดงอัตราการเปิดขยายของปากมดลูกมีความชันน้อยกว่าเส้นกราฟปกติ
หลักประเมินสภาวะของทารกในครรภ์
การเต้นของหัวใจทารก
ปกติอัตราการเต้นของหัวใจทารกอยู่ในช่วงประมาณ 110 – 160 ครั้งต่อนาที มีอัตราการเต้นสม่ำเสมอ ระยะแรกเริ่ม ควรฟังเสียงหัวใจทารกให้เต็ม 1 นาที เพื่อประเมินจังหวะและความสม่ำเสมอของอัตราการเต้นของหัวใจ และควรฟังภายหลังมดลูกคลายตัวประมาณ 20 – 30 วินาที
ลักษณะน้ำคร่ำ
เมื่อใกล้ครบกำหนดคลอด น้ำคร่ำจะขุ่นคล้ายน้ำมะพร้าว
น้ำคร่ำมีสีเขียว หรือสีเหลืองน้ำตาลและข้น ซึ่งบ่งบอกถึงภาวะทารกขาดอากาศหายใจ (fetal distress)
เมื่ออายุครรภ์ไม่ครบกำหนดน้ำคร่ำมีลักษณะใส สีเหลืองจางๆ คล้ายสีฟางข้าว
การดิ้นของทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวอย่างน้อย 10 ครั้งในช่วงระยะเวลา 12 ชั่วโมง
การวิเคราะห์เลือดของทารกในครรภ์ (fetal blood analysis)
ปกติเลือดของทารกในครรภ์จะมีค่า pH อยู่ระหว่าง 7.25 – 7.45 ถ้า pH ของเลือดต่ำกว่า 7.20 ถือว่าทารกมีภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) ต้องรีบช่วยเหลือแก้ไขและช่วยให้การคลอดสิ้นสุดลงโดยเร็ว
การบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจทารกโดยใช้เครื่องอิเล็คโทรนิกส์ (continuous electronic fetal heart rate monitoring)
1) Early deceleration (Type I dip) หมายถึง อัตราการเต้นของหัวใจทารกเริ่มลดลง เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัวและกลับสู่ baseline เมื่อมดลูกคลายตัวถือว่า เป็นภาวะปกติซึ่งเกิดจากศีรษะทารกถูกกด (head compression) ทำให้มีการเพิ่มความดันในสมองเกิด vagus reflex ไปยังหัวใจทารก ทำให้ FHR ลดลง
2) Late deceleration (Type II dip) หมายถึง อัตราการเต้นของหัวใจทารกเริ่มลดลงภายหลังที่มดลูกมีการหดรัดตัวเต็มที่แล้ว และไม่กลับสู่ปกติเมื่อมดลูกคลายตัว
3) Variable deceleration หมายถึง อัตราการเต้นของหัวใจทารกลดลงไม่แน่นอน FHR ผิดปกติ
การประคับประครองทางด้านจิตใจ
โดยการอยู่เป็นเพื่อน เข้าใจถึงความรู้สึก ความต้องการของผู้คลอด และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ให้ข้อมูล ให้ความรู้เกี่ยวกับการคลอด บรรเทาอาการเจ็บครรภ์ เบี่ยงเบนความสนใจ
เช่น ฟังดนตรี (Music therapy)
ส่งเสริมให้สุขสบาย และผ่อนคลาย
การชวนคุย(Support)
สร้างความไว้วางใจ
นางสาวสิริรัตน์ ขัตติยะ ปี 2 เลขที่ 133 รหัสนักศึกษา612401136