Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สตรีตั้งครรภ์ที่มีโรคติดเชื้อร่วมกับการตั้งครรภ์ (หูดหงอนไก่ (condyloma…
สตรีตั้งครรภ์ที่มีโรคติดเชื้อร่วมกับการตั้งครรภ์
โรคเอดส์
การติดเชื้อ HIV จะเกิดการทำลาย CD4 ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสง่ายขึ้น การติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ส่วนใหญ่เกิดจากการมาฝากครรภ์ช้า แม่กินยาไม่สม่าเสมอ หรือมีการติดเชื้อตอนใกล้คลอดหรือหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
ระยะฟักตัวประมาณ 2 3 เดือน ระยะเฉลี่ยจากติดเชื้อจนมีอาการใช้เวลาประมาณ 7-10 ปี ขึ้นกับสายพันธุ์ไวรัส ภูมิต้านทาน จeนวนเชื้อ และค่า CD4
เมื่อแรกรับเชื้อจะมีอาการคล้ายเป็นหวัด ภายหลังรับเชื้อ 3 12 สัปดาห์ ผู้ติดเชื้อบางรายจะมีอาการเฉียบพลัน คือ มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่น และอ่อนเพลีย ตรวจพบ anti HIV antibody เมื่ออาการหายไป ผู้ติดเชื้อยังสามารถแพร่เชื้ออยู่ได้
การวินิจฉัย
ตรวจเลือด anti-HIV ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ และตรวจซ้ำ 32 สัปดาห์ โดยวิธีการ ELISA, Western blot test
ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
เสี่ยงการติดเชื้อในโพรงมดลูกหลังคลอด
ภาวะความดันโลหิตสูง
แนะนำมาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อประเมินสุขภาพมารดา
คลอดก่อนกำหนด
ผลต่อทารก
DFIU/still birth
LBW
แนะนำมาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
IUGR
Preterm labor
การติดเชื้อจากแม่สู่ลูก
ให้ข้อมูลโอกาสการแพร่กระจายเชื้อสู่ทารก การให้ยาต้านไวรัสเพื่อลดการแพร่เชื้อสู่ลูก
แนะนำทานยาต้านไวรัสตามเวลา
งดให้นมบุตร ให้ใช้นมผสมทดแทน กรมอนามัยสนับสนุนนมผสมให้ 18 เดือน
เริ่มให้ยาต้าน HIV แก่ทารก
ดูแลให้ยาต้านไวรัสตามเวลา AZT 300 mgทุก 3 ชั่วโมง หรือ 600 mg ครั้งเดียวจนคลอดเสร็จ (ถ้า viral load <50 cpm งด AZT ได้)
การพยาบาล
2.คัดกรองสตรีและสามีที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ให้คำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจ เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกและครั้งที่สอง เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ หรือหลังจากครั้งแรกอย่างน้อย 3 เดือน
3.ให้ความรู้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การใช้ถุงยางเมื่อมีเพศสัมพันธ์
4.ติดตามผล CD4 ถ้า < 200 cpm แสดงว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสสูง ผลการตรวจ viral load จะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดและแนวทางการดูแลรักษาทารก
1.แนะนำการรักษาความสะอาดร่างกายเลี่ยงผู้ที่ติดเชื้อ/ไม่สบาย เสี่ยงติดเชื้อง่าย
5.แนะนำการคุมกำเนิด ร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัย
โรคซิฟิลิส
เชื้อก่อโรค ได้แก่ Treponema Pallidum ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ แพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารกได้ผ่านทางรกได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 6-10 สัปดาห์ และการสัมผัสรอยโรคโดยตรงในช่วงการคลอด
อาการและอาการแสดง
ระยะที่ 1
มีแผลริมแข็ง (chancre) ที่อวัยวะเพศหรือทวารหนัก ลักษณะเป็นตุ่มนูนแดง เรียบ ขอบแข็งไม่เจ็บ อาจมีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต หายเองใน 2 -8 สัปดาห์
ระยะที่ 2
ระยะนี้เชื้อแพร่ไปตามกระแสเลือด มี เกิดขึ้นหลังจากมีแผลริมเข็ง 4- 10 สัปดาห์ มีผื่นแดงตามลำตัว ฝ่ามือฝ่าเท้า ตุ่มนูนแดง ผิวมัน ที่บริเวณอวัยวะเพศ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว มีต่อมน้ำเหลืองโต อาจพบอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตับอักเสบ ความผิดปกติของไต การติดเชื้อที่ตา และเยื่อหุ้มกระดูกได้
ระยะที่ 3
แผลซิฟิลิสระยะที่ 3 ซิฟิลิสระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท
ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา แท้งบุตร น้ำคร่ำมาก คลอดก่อนกาหนด รกมีขนาดใหญ่และซีด เสี่ยงตกเลือดหลังคลอด
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย DFIU เกิดความผิดปกติ เช่น การติดเชื้อซิฟิลิสแต่กำเนิด (มีอาการมีผื่น น้ามูก ตับโต ม้ามโต ดีซ่าน ต่อมน้าเหลืองโต กระดูกและกระดูกอ่อนอักเสบ จอประสาทตาอักเสบ
เกิดความพิการต่อทารกได้เมื่อติดเชื้อหลังการตั้งครรภ์ 18 สัปดาห์ ถ้าเป็นในระยะที่ 1 2 และระยะแฝงตอนต้น จะเกิดการติดเชื้อแต่กาเนิดได้ร้อยละ 40 50
การดูแลรักษา
ควรรักษาก่อนอายุครรภ์ 16 สัปดาห์ การรักษาโรคระยะแรก
ให้ยา benzatine penicillin 2.4 mu. im /wk x3 ครั้ง
2.นัดฝากครรภ์เพื่อติดตามอาการตามปกติ และตรวจ titer เดือนละครั้งจนคลอด และตรวจต่อ ระยะ 3, 6, 12 เดือนหลังคลอด หากพบ titer เพิ่ม 4 เท่า มีอาการและอาการแสดงของซิฟิลิส จะเริ่มการรักษาใหม่
3.ถ้าพบการติดเชื้อที่ทารก ให้รีบคลอดและทำการรักษาหลังคลอด
4.ภายหลังการรักษาผล VDRL titer ควรลดลงจากเดิม 4 เท่าหรือากกว่าภายใน
6 -12 เดือน เช่น 1:32 ลดเป็น 1:8 ส่วน TPHA/FTA-ABS มักให้ผลบวก (reactive) ไปตลอดชีวิตหลังรักษา
โรคเริม
เชื้อไวรัสก่อโรค ได้แก่ Herpes simplex virus (HSV) ถ่ายทอดทางการมีเพศสัมพันธ์และถ่ายทอดสู่ทารกโดย ร้อยละ 5 ผ่านทางรก ทำให้เกิดการติดเชื้อแต่กาเนิด ร้อยละ 85 ถ่ายทอดในระยะคลอดที่ปากมดลูกหรือช่องคลอด เมื่อถุงน้ำคร่ำแตกหรือระหว่างการคลอด และร้อยละ 10 ถ่ายทอดในช่วงหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ในรายที่ไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน จะมีระยะฟักตัว 3 -6 วัน แล้วจึงมีอาการแสดงคือ มีตุ่มคัน เจ็บ และกลายเป็นตุ่มใส ต่อมาตุ่มจะแตกออกกระจายทั่วอวัยวะเพศ อาจมีไข้ต่าๆ คล้ายหวัด คือมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย พบต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโตอาการจะอยู่ประมาณ 2 -4 สัปดาห์ ในรายที่มีการติดเชื้อซ้าจะมีระยะฟักตัว 7 -10 วัน ระยะการแพร่เชื้อจะสั้นกว่าและหายเร็วกว่ารายที่ได้รับเชื้อครั้งแรก การกลับเป็นซ้ำมักเป็นตาแหน่งเดิมเช่น เกิดตุ่มหนองที่ตำแหน่งเดิม แต่จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่า
ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์
พบอัตราเสียชีวิตทารกแรกเกิดมากกว่าร้อยละ 60
มีรอยโรคที่อวัยวะเพศมีโอกาสติดเชื้อสูง ร้อยละ 30 50 อาจมีการแพร่กระจายเชื้อทั่วร่างหรือมีพยาธิสภาพเฉพาะที่ เช่น ระบบประสาทส่วนกลาง ตา ผิวหนัง หรือเยื่อบุต่างๆ
อัตราการแท้งสูงขึ้น 3 เท่า คลอดก่อนกำหนด ทารกเติบโตช้าในครรภ์
การดูแลรักษา
ระยะก่อนคลอด ถ้าเป็นการติดเชื้อครั้งแรก ให้ยาต้านไวรัสจะช่วยลดระยะเวลาของการมีอาการ ลดการแพร่กระจายเชื้อและลดเวลาในการให้ยา แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อหรือเกิดโรคซ้ำให้การรักษาตามอาการ ในรายที่มีประวัติการติดเชื้อเริมหรือมีอาการระหว่างการตั้งครรภ์ ให้ยาต้านไวรัสตั้งแต่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ จนคลอด เพื่อลดระยะการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
ระยะคลอด สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ แต่ถ้ามีอาการการติดเชื้อครั้งแรกที่อวัยวะเพศในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ มีรอยโรคที่อวัยวะเพศในช่วงเวลาคลอด หรือมีอาการแสบ คันที่อวัยวะเพศภายนอก แนะนาให้ผ่าตัดคลอด
ระยะหลังคลอด ในรายที่มีรอยโรคที่เต้านม ควรเลี่ยงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ถ้ามีรอยโรคที่อื่น สามารถให้นมได้ และระวังทารกไม่สัมผัสกับรอยโรค
หูดหงอนไก่ (condyloma accuminata)
เชื้อก่อโรค คือ HPV ชนิด low oncogenic risk ได้แก่ สายพันธุ์ 6, 11, 42, 43, 44 ติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือการสัมผัสเชื้อโรคโดยตรงและทางเพศสัมพันธ์
อาการและอาการแสดง
การติดเชื้อ HPV มักไม่มีอาการ แต่จะพบเป็นตุ่มก้อนคล้ายดอกกะหล่ำที่บริเวณอวัยวะเพศและทวารหนัก อาจพบในช่องคลอดและปากมดลูกร่วมด้วย
ผลของการตั้งครรภ์ต่อโรค
หูดหงอนไก่มีแนวโน้มโตขึ้นขณะตั้งครรภ์ เปราะบาง และเลือดออกง่ายขึ้น โดยเฉพาะช่วงหลังการตั้งครรภ์
ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์
ถ้ามีจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ บางรายใหญ่มากจนเต็มช่องคลอดและออกมาบดบังอวัยวะเพศภายนอก อาจขัดขวางการคลอดและการตัดฝีเย็บ ทารกอาจได้รับเชื้อขณะคลอดทางช่องคลอด บางรายอาจเกิดเนื้องอกในกล่องเสียง ทารกที่เป็นโรคนี้ อาจมีอาการตั้งแต่แรกเกิดจนถึงขวบปีแรก ความรุนแรงแตกต่างกัน ตั้งแต่มีเสียงแหบ จนถึงมีการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบน
การดูแลรักษา
ในช่วงตั้งครรภ์ใช้กรด Trichloracetic acid (TCA) สัปดาห์ละครั้งจนกว่ารอยโรคจะหาย หลังคลอดมักจะดีขึ้น การคลอดสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ อาจพิจารณาผ่าตัดกรณีหูดมีขนาดใหญ่มากขัดขวางช่องทางคลอดและอาจทำให้มีแผลหรือเลือดออกมาก
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับโรคและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น การแพร่กระจายเชื้อ แผนการรักษา
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ อาการและอาการแสดง/รอยโรค ทุกครั้งที่มาฝากครรภ์
ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว
• การรักษาความสะอาดร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศภายนอก ทำความสะอาดแผล/ดูแลแผลอย่างถูกต้อง
• รับประทานยา/ทายาตามแผนการรักษา
• สังเกตอาการผิดปกติของโรค เช่น มีผื่น ตุ่มน้ำ ปัสสาวะมีหนองปน ต่อน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโต ปัสสาวะลำบาก ให้พบแพทย์
• แนะนำมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย
• แนะนำสังเกตและบันทึกลูกดิ้น
ระยะคลอด
ระยะคลอดระวังตุ่มน้ำบริเวณแผลและอวัยวะเพศแตก ระวังถูกน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ภายหลังศีรษะทารกคลอดควรรีบเช็ดตาทารกให้สะอาดทันที เช็ดเลือด/สารคัดหลั่งจากตัวทารกให้มากที่สุด
ป้ายตาทารกด้วย 1% terramycin ointment
ระยะหลังคลอด
ในรายที่หัวนมเต้านมปกติ สามารถให้นมแม่ได้ เน้นรักษาความสะอาดร่างกาย ล้างมือ ก่อน หลังสัมผัสทารก ระวังสัมผัสรอยโรค
เน้นการมาตรวจตามนัดทั้งมารดาทารก
แยกของใช้มารดาทารกที่มีการติดเชื้อ ไม่ใช้ปะปนกับรายอื่น
นางสาว จิราภรณ์ สนธิสัมพันธ์ เลขที่ 7
รหัสนักศึกษา 603901008