Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พัฒนาการ และภูมิคุ้มกันโรค n211o5 (3.2 การให้คำแนะนำในการให้ภูมิคุ้มกันโรค…
พัฒนาการ และภูมิคุ้มกันโรค
3.1 แบบแผนการให้ภูมิคุ้มกันโรคตามการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค พศ.2563
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
ทารกขณะอยู่ในครรภ์ได้รับภูมิคุ้มกันโรคโดยผ่านทางรก ป้องกันโรคบางชนิดได้
หลังคลอดภูมิคุ้มกันโรคจะลดลงโดยเฉพาะภูมิคุ้มโรคแบคทีเรีย จะหมดไปประมาณ
1-2 เดือนหลังคลอด
ภูมิคุ้มกันโรคจากเชื้อไวรัสอยู่ได้นานกว่า 6 เดือนหลังคลอด
แบ่งได้ 2 ชนิด
การสร้างภูมิคุ้มกันโรคทางตรง Actiive immunization โดยการให้ antigenภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นสามารถป้องกันโรคได้เป็นปีๆหรือบางชนิดอาจอยู่ได้ตลอดไป
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคทางอ้อม Passive immunization สารที่มีภูมิคุ้มกันโรคอยู่แล้ว (Antibody) เข้าไปในร่างกายโดยตรงป้องกันโรคในทันทีแต่ภูมิคุ้มกันประเภทโรคนี้อยู่ได้ไม่นาน ประมาณ 3-4 สัปดาห์
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแบบ active แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ท๊อกซอยด์ (toxoid) ใช้ป้องกันโรคที่เกิดขึ้นเป็นผลจากพิษหรือท๊อกซินของ
แบคทีเรีย ไม่ได้เกิดจากตัวแบคทีเรียโดยตรง เช่น โรคคอตีบ/Diptheria หรือโรคบาดทะยัก/Tetanus
กลุ่มที่ 2 วัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated หรือ killed vaccine) เป็นวัคซีนที่ทำมาจากแบคทีเรียหรือไวรัสทั้งตัวที่ทำให้ตายแล้ว (whole cell vaccine) ได้แก่ โรคไอกรน/Pertussis วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ/JE ชนิดไม่มีชีวิต
กลุ่มที่ 3 วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live attenuated vaccine) เป็นวัคซีนที่ทำจากเชื้อเป็นที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลงแล้ว ส่วนใหญ่เป็นวัคซีนสำหรับไวรัส ส่วนวัคซีนสำหรับแบคทีเรียที่ใช้แพร่หลาย ได้แก่ วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดกิน(OPV) วัคซีนรวมป้องกันโรคหัดใช้เวลาหลายวันกว่าจะเริ่มมีปฏิกิริยาเกิดขึ้น
3.3 การบริหารวัคซีนและการจัดเก็บวัคซีน
การบริหารและการจัดเก็บวัคซีน
โดยทั่วไปจะเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศา
ห้ามเก็บวัคซีนที่ฝาประตูตู้เย็นต้องใส่
วัคซีนไว้ในกล่องพลาสติก เพื่อป้องกันการ
สูญเสียความเย็น
OPV เก็บในช่องแช่แข็ง (Freezer) ส่วน
วัคซีน MMR/MR, BCG และ JE ผงแห้ง เก็บอุณหภูมิ +2 ถึง +8 องศาเซลเซียส
กรณีชั้นเก็บชั้นที่ 1 ไม่เพียงพอ สามารถเก็บชั้นที่ 2 ได้อีก 1 ชั้น (ห้าม เก็บในถาดรองใต้ช่องแช่แข็ง เพื่อป้องกัน กล่องวัคซีนเปียกน้ าหรือฉลากหลุดลอก)
3.2 การให้คำแนะนำในการให้ภูมิคุ้มกันโรคและวัคซีนเผื่อเลือก
วิธีการให้วัคซีนมีอยู่ 4 แบบ
1.การกิน (oral route) ใช้ในกรณีที่ต้องการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ เช่น ต้องการให้เกิดภูมิคุ้มกันในลำไส้ โดยมากใช้กับวัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิตเช่น วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ
การฉีดเข้าในหนัง (intradermal หรือ intracutaneous route) วิธีนี้มักจะใช้เมื่อต้องการลดจำนวน antigen
ให้น้อยลง การฉีดเข้าในหนังทำให้antigenเข้าไปทางท่อน้ำเหลืองได้ดี
การฉีดเข้าใต้หนัง (subcutaneous route)มักจะใช้กับวัคซีนที่ไม่ต้องการให้ดูดซึมเร็วเกินไปเพราะอาจเกิดปฏิกิริยารุนแรง เช่น วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คาง ทูม และหัดเยอรมัน
การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (intramuscular route) ใช้เมื่อต้องการให้การดูดซึมดี การฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะให้ได้ผลดี ควรฉีดบริเวณต้นแขน (deltoid) เพราะการดูดซึมดีที่สุด ไขมันไม่มาก เลือดมาเลี้ยงดี
หลักการทั่วไปในการให้วัคซีน
วัคซีนหลายชนิดอาจให้พร้อมกันในวันเดียวกันได้ โดยทั่วไปวัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิตสามารถให้พร้อมกันได้ แต่ควรให้ต่างตำแหน่ง วัคซีนที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาในเวลาเดียวกันไม่ควรให้พร้อมกันเพราะทำให้ปฏิกิริยามากขึ้น เช่น วัคซีนดีทีพีกับวัคซีนป้องกันโรคไข้ทัยฟอยด์ส่วนวัคซีนไวรัสชนิดเชื้อมีชีวิตนั้นสามารถให้พร้อมกันในวันเดียวกันได้ถ้าไม่ได้ให้พร้อมกัน จะต้องเว้นห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน
2.การให้วัคซีนห่างเกินกว่าก าหนดไม่ได้ท าให้ภูมิคุ้มกันเกิดน้อยลงนทางตรงกันข้ามการฉีดวัคซีน
ที่เร็วกว่ากำหนดอาจทำให้ภูมิคุ้มกันขึ้นได้น้อยลง หรืออยู่ไม่นานตามกำหนด เนื่องจาก Antibody ที่เกิดจากการให้ไปแล้วในครั้งก่อนยังสูงทำให้ประสิทธิภาพในการสร้างภูมิ
ต้านทานลดน้อยลง
ผู้ที่เจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น หวัด ไอ หรือไข้ต่ำ ๆ สามารถให้วัคซีนได้
ผู้ที่ได้รับอิมมูโนโกลบุลิน พลาสม่า หรือเลือดมาไม่ถึง 3 เดือน ไม่ควรให้วัคซีนไวรัสที่มีชีวิต เช่น วัคซีน MMR
เด็กที่เคยได้วัคซีนดีทีพีแล้วมีไข้สูง (เกิน 40.5 องศาเซลเซียส) ภายใน 48 ชั่วโมงหลังฉีดวัคซีนมีอาการชักโดยมีไข้หรือชักไม่มีไข้ก็ตามภายใน 3 วัน กรีดร้องนานเกินว่า 3 ชั่วโมงภายใน 48 ชั่วโมงครั้งต่อไปไม่ควรให้วัคซีนรวม DTwP ควรให้เฉพาะวัคซีนรวมป้องกันเฉพาะโรคคอตีบ และบาดทะยัก( DT ) เท่านั้น
เด็กที่เคยแพ้ไข่ คือมีอาการปากบวม ลมพิษขึ้น หายใจไม่ออก หอบ ช็อค ภายหลังกินไข่ ไม่ควร
ให้วัคซีนรวม MMR ชนิดที่มาจากเซลล์เพาะเชื้อจากไข่ เพราะมีโอกาสแพ้ได้
ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ควรให้วัคซีนเหมือนเด็กที่เกิดครบกำหนด โดยไม่ต้องพะวงถึงอายุครรภ์ก่อนคลอด แต่ถ้าเด็กยังอยู่ใน nursery ไม่ควรให้ OPV ในหน่วยทารากแรกเกิด เพราะจะทำให้เชื้อติดต่อไปยังเด็กคนอื่นได้
เด็กที่ได้ยากดภูมิคุ้มกันสามารถให้ท๊อกซอยด์ และวัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิตได
เด็กที่ได้วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน แล้วเกิดอาการชักภายใน 3 วัน หรือมีอาการทางสมอง (encephalopathy) ภายใน 7 วัน ไม่ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิด whole cell(DTwP) ในครั้งต่อไป
เด็กที่มีโรคทางระบบประสาท ซึ่งยังควบคุมไม่ได้เช่น โรคลมชักที่ยุงคุมไม่ได้ , infantile
spasm, progressive encephalopathyไม่ควรให้วัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิด whole cell แต่ถ้าเป็น
โรคชักที่ควบคุมได้แล้วที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขแล้วหรือเป็นเด็กที่
เจริญเติบโตช้า สามารถให้วัคซีนป้องกันโรคไอกรนได้
เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคชัก สามารถให้วัคซีนได้
การฉีดวัคซีนที่มี adjuvant ควรให้เข้ากล้ามเนื้อเท่านั้นการให้เข้าใต้ผิวหนังหรือในหนัง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองเฉพาะที่อักเสบเป็นก้อนหรือท าให้เนื้อตายบริเวณที่ฉีดได้
1ุ3.ตำแหน่งของการฉีดวัคซีนควรฉีดในนตำแหน่งที่ทำให้เกิดอันตรายน้อยที่สุดต่อหลอดเลือดเส้นประสาท และเนื้อเยื่อการฉีดเข้าใต้หนังหรือเข้ากล้ามเนื้อในเด็กเล็ก นิยมให้ที่กล้ามเนื้อบริเวณกึ่งกลาง
ต้นขาด้านหน้าค่อนไปด้านนอก ส่วนผู้ใหญ่หรือเด็กโต นิยมให้บริเวณต้นแขนส่วนบน (deltoid)
การเก็บวัคซีน
โดยทั่วไปจะเก็บที่ 2-8 องศา ยกเว้น BCGที่ยังไม่ได้ผสมจะเก็บช่องแช่แข็ง
วัคซีนป้องกันวัณโรค (Bacille Calmette Guerin : BCG)วัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนแบคทีเรียเชื้อมีชีวิต การฉีดต้องฉีดเข้าในผิวหนังครั้งละ 0.1 cc. ใน
ชั้นผิวหนังที่ไหล่ซ้าย
ปฏิกิริยาหลังฉีด
หลังฉีดจะเกิดตุ่มสีขาวซีด ขนาด 7-8 มิลิเมตร ต่อมาจะเป็นรอยแดง ๆ และโตขึ้นกลายเป็นฝีขนาด
เล็ก มีหนองสีครีมขาว โดยจะเริ่มเป็นตุ่มหนองประมาณ 2-4 สัปดาห์โดยจะเป็น ๆ หาย ๆ
ข้อห้ามในการให้วัคซีน BCG
ผู้ป่วยที่มีแผลไฟไหม้ น้ าร้อนลวก แผลติดเชื้อที่ผิวหนัง2. ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ
ผู้ป่วยที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่ก าเนิดผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (Diptheria Tetanus Pertussive Vaccine : DTP)
วัคซีนที่ให้จะเป็น 2 แบบคือ DTwP เป็นวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก และวัคซีนไอกรน แบบทั้งเซล Whole cell Pertussis vaccine
DTaP เป็นวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก และวัคซีนไอกรน แบบไร้เซล Acellular pertussis vaccine เป็น
เฉพาะส่วนของ
ปฏิกิริยาภายหลังฉีด
ปฏิกิริยาที่พบส่วนใหญ่จะมีไข้ แต่ บางคนอาจจะไม่มี เด็กจะหงุดหงิดเจ็บระบมบริเวณที่ฉีด งอแง
อาการจะเกิดขึ้นภายหลังฉีดประมาณ 3-4 ชั่วโมงและจะหายไปในเวลา 2 วัน แต่วัคซีนไอกรนอาจทำให้เด็กไข้หลังฉีดภายใน 1-3 วันได้
ข้อควรระวังในการให้วัคซีน
ห้ามให้ DTP ในเด็กอายุเกิน 6 ปีเพราะเด็กอาจมีอาการทางสมองจากวัคซีนไอกรนได้
ให้ใช้ dT แทน
ไม่ควรฉีดในเด็กที่มีประวัติชัก หรือโรคระบบประสาท
ไม่ฉีดให้กับเด็กระยะที่มีโปลิโอระบาด ไม่ควรฉีดในเด็กป่วยหรือก าลังมีไข้
วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ (Poliomyelitis Vaccine)
เป็นวัคซีนชนิดเชื้อไวรัสมีชีวิต ที่ทำให้มีฤทธิ์น้อยลง มีทั้งชนิดกิน(Oral Poliomyclitis Vaccine :
OPV) และชนิดฉีด Inactivated Polio Vaccine ( IPV ) ทำจากไวรัสที่ตายแล้วต้องให้โดยการฉีด วัคซีนทั้งสองชนิดสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานต่อโรคโปลิโอได้ดีใกล้เคียงกัน ชนิดกินภูมิต้านทานจะเกิดที่เยื่อบุลำไส้
จึงต้องระมัดระวังการให้ในเด็กที่มีอาการท้องเสีย เนื่องจากมีผลต่อการดูดซึมวัคซีน
ระยะเวลาในการให้ จะให้ครั้งแรกเมื่ออายุ 2,4, 6 เดือน ตามล าดับ กระตุ้น 1½ ปี และ 4-6 ปี
ดังนั้นเมื่อมีการรณรงค์หยอดวัคซีนเพื่อกวาดล้างโรคโปลิโอจึงสามารถรับได้อีก
วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม (Mump Measles Rubellar Vaccine)
เป็นวัคซีนเชื้อมีชีวิตให้ในเด็กครั้งแรกอายุ 9-12 เดือนและครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปีในเขตพื้นที่ที่มี
เด็กป่วยเป็นโรคหัดมากควรฉีดให้เด็กตั้งแต่อายุ 9 เดือน
การฉีด MMR สามารถให้ได้พร้อมกันกับวัคซีนอีสุกอีใส แต่หากไม่สามารถให้ในวันเดียวกันได้ต้องเว้น
ห่างกัน 1 เดือน เพราะเป็นวัคซีนไวรัสมีชีวิตทั้งคู่
แต่ถ้ามีการระบาดของโรคและเด็กสัมผัสโรค
ด้วยสามารถฉีด MMR ได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน
วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ เจอี(Japanese Encephalitis)
เป็นวัคซีนเชื้อเป็น (Live JE.vaccine) ฉีด 2 ครั้ง พร้อม MMR คือครั้งที่ 1 เมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน
ครั้งที่ 2 ตอนเด็กอายุ 2-2 ½ ปีขนาดของวัคซีน 1 dose คือ 0.5 ml.
วัคซีนโรต้า(Rota virus)
เป็นวัคซีนป้องกันการติดเชื้อทางเดินอาหารที่รุนแรงในเด็ก ซึ่งสาเหตุมาจาก
การติดเชื้อ Rota virus โดยวัคซีนที่ให้ในปัจจุบันเป็นวัคซีนเชื้อเป็น ชนิดหยดทางปาก
วัคซีน HIB Haemophilus influenza type B
เป็นเชื้อแบคทีเรีย
ที่ติดต่อกันได้ง่าย ท ำให้เกิดโรคหลายชนิดในเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปีโดยจะพบเชื้อที่บริเวณล าคอ เช่น ปอดบวม กล่องสียงอักเสบ
ผิวหนังอักเสบ ข้ออักเสบ และที่สำคัญคือ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ผลข้างเคียงของวัคซีน เด็กจะมีอาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีดวัคซีน มีไข้สูง มีผื่นขึ้นบริเวณ
ผิวหนัง เด็กจะหงุดหงิดร้องกวนงอแง
โดยจะให้ 3 ครั้งตอนเด็กอายุ 2,4,6 เดือน
วัคซีน HPV
วัคซีน HPV Human Papilloma Virus เป็นวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกและจะมีประสิทธิภาพ
สูงสุด เมื่อฉีดในวัยที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์มาก่อนฉีดได้ในช่วงอายุ 9-26 ปี แต่จะเน้นในช่วงอายุ 11-12 ปี วัคซีนตัวนี้ยังสามารถป้องกันมะเร็งช่องคลอด และหูดอวัยวะเพศ ได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย
การสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรค จะฉีดให้ในเด็กผู้หญิง ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 จำนวน 2 เช็ม HPV1 HPV2 โดย
เข็ม 1 กับเข็ม 2 ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน
การให้คำแนะนำในการให้ภูมิคุ้มกันโรคและวัคซีนเผื่อเลือก
วัคซีนทางเลือก (optional vaccine) เป็นวัคซีนที่ไม่อยู่ในตารางวัคซีนปกติของกระทรวง
สาธารณสุข ได้แก่ วัคซีนอีสุกอีใส varicella vaccine
แพทย์จะแนะนำให้เริ่มฉีดตั้งแต่เด็กมีอาย1 ปีขึ้นไป โดยเข็มแรกเมื่ออายุ12-18 เดือน และฉีด
กระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ4-6 ปีทั้งนี้ในกรณีที่มีการระบาดของโรคสามารถฉีดเข็มที่ 2 ก่อนอายุ 4 ปีได้แต่ต้องทิ้ง
ระยะห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนอีสุกอีใส
วัคซีนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นเดียวกับยารักษาโรคโดยเกิดขึ้นได้หลายระดับ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงตามแต่ละบุคคลผลข้างเคียง มีอาการปวด บวมแดง คัน หรือช้ำบริเวณที่ฉีดวัคซีนีไข้ต่ำหรือเกิดผื่นขึ้น เล็กน้อยบางรายอาจมีผื่นขึ้นในช่วง 1 เดือนหลังจากการฉีดวัคซีน
อ้างอิงเอกสารประกอบการสอนอ.กัลยา ศรีมหันต์
**กระทรวงสาธารณสุข (2558). คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย นนทบุรี: สยามพิมพ์นานา
นางสาวสหทัย ชาวโพงพางเลขที่36ห้อง2