Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ ๒๗ ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง การเทียบโอน การทดสอบ…
บทที่ ๒๗
ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา
เรื่อง การเทียบโอน การทดสอบ และการฝึกอบรม
เพื่อรับรองความรู้วิชาชีพ
ส่วนที่ ๑
การเทียบโอน
ข้อ ๑
การเทียบโอน เป็นการเทียบโอนรายวิชา
ที่ศึกษาตามหลักสูตร หรือสาระความรู้จากการฝึกอบรม
กับสาระความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา
๑.๑ ผู้ประสงค์ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา
และผู้บริหารการศึกษาวิชาที่นำมาเทียบโอน
๑.๑.๑ เป็นรายวิชาในหลักสูตรไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับทราบหรือให้ความเห็นชอบ
หรือเทียบคุณวุฒิให้หรือสำนักงาน ก.พ. ให้การรับรองคุณวุฒิ
๑.๑.๒ เป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาสาระเทียบเคียงกันได้
ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของสาระความรู้ในมาตรฐานความรู้ที่ขอเทียบโอน
๑.๑.๓ เป็นรายวิชาที่สอบได้ค่าระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ หรือเทียบเท่า
๑.๒ ผู้ประสงค์ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์
๑.๒.๑ เป็นรายวิชาในหลักสูตรไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า
ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับทราบ
หรือให้ความเห็นชอบ หรือเทียบคุณวุฒิให้หรือสำนักงาน ก.พ.
ให้การรับรองคุณวุฒิ
๑.๒.๒ เป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาสาระเทียบเคียงกันได้
ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของสาระความรู้ในมาตรฐานความรู้ที่ขอเทียบโอน
๑.๒.๓ เป็นรายวิชาที่สอบได้ค่าระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐
หรือเทียบเท่าการเทียบโอนสาระความรู้จากการฝึกอบรม
มีเกณฑ์ดังนี้
(๑) เป็นการฝึกอบรมในสถาบันที่คุรุสภาให้การรับรอง
(๒) สาระความรู้ที่นำมาเทียบโอนต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าสาระความรู้
ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณของวิชาชีพ
พ.ศ. ๒๕๔๘ และประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง มาตรฐานความรู้
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ สาระความรู้ สมรรถนะและมาตรฐานการ
ปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์
ข้อ ๒
ผู้ที่ประสงค์ขอเทียบโอน
ให้ยื่นคำขอต่อเลขาธิการคุรุสภา
ตามแบบที่กำหนดพร้อมด้วยเอกสาร
และหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ
สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(๒) สำเนาปริญญาบัตร หรือ วุฒิบัตรการฝึกอบรม
(๓) ใบแสดงผลการศึกษา หรือ ใบรายงานผลการศึกษา
(๔) คำอธิบายรายวิชาที่ขอเทียบโอน
ตามหลักสูตรที่สำเร็จการศึกษา
หรือตามหลักสูตรที่ฝึกอบรม
ข้อ ๓
ค่าธรรมเนียมการขอเทียบโอน
ผู้ประสงค์ขอรับการเทียบโอนความรู้ต้องชำระค่าธรรมเนียมการเทียบโอน
เป็นรายมาตรฐานความรู้ละไม่เกิน ๕๐๐ บาท ทั้งนี้ให้เป็นตามประกาศ
คณะกรรมการคุรุสภา
ส่วนที่ ๒
การทดสอบ
ข้อ ๔
การทดสอบ เป็นการทดสอบความรู้ ตามประกาศ
คณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ และสมรรถนะ
ของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา
ตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ และประกาศ
คณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง มาตรฐานความรู้ มาตรฐานประสบการณ์
วิชาชีพ สาระความรู้ สมรรถนะ และมาตรฐานการปฏิบัติงานของ
ผู้ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์
ข้อ ๕
เกณฑ์การตัดสินผลการทดสอบ
มาตรฐานความรู้ที่ผ่านเกณฑ์ แต่ละมาตรฐานต้องสอบได้
ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐
ข้อ ๖
ผู้ที่ประสงค์ขอทดสอบความรู้
ให้ยื่นคำขอต่อเลขาธิการคุรุสภาตามแบบที่กำหนด
พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
หรือสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(๒) สำเนาปริญญาบัตร และใบแสดงผลการเรียน
(๓) รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมแว่นตาดำ
ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกินหกเดือนขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป
ข้อ ๗
ค่าธรรมเนียมการทดสอบ
ผู้ประสงค์ขอรับการทดสอบความรู้ต้องชำระค่าธรรมเนียม
การทดสอบรายมาตรฐานความรู้ละไม่เกิน ๕๐๐ บาท
ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการคุรุสภา
ส่วนที่ ๓
การฝึกอบรม
ข้อ ๘
การฝึกอบรม เป็นการฝึกอบรมความรู้ ตามประกาศ
คณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ และสมรรถนะ
ของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และ
ผู้บริหารการศึกษา ตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
และประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง มาตรฐานความรู้
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ สาระความรู้ สมรรถนะ
และมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์
ข้อ ๙
หลักสูตร
รูปแบบและวิธีการฝึกอบรม
(๑) หลักสูตรเน้นการอบรมโดยใช้สมรรถนะเป็นฐาน
สัดส่วนของภาคทฤษฎี : ภาคปฏิบัติเป็น ๖๐ : ๔๐
ระยะเวลาการฝึกอบรม ดำเนินการฝึกอบรมตามหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า ๖๐ ชั่วโมงในแต่ละรายมาตรฐานความรู้
(๒) รูปแบบการฝึกอบรม ให้มีการเรียนรู้จากปัญหาและ
การปฏิบัติงานในสถานศึกษาเป็นฐานในการฝึกอบรม
(๓) วิธีการฝึกอบรม ให้ใช้วิธีการที่หลากหลายตามความเหมาะสม
เช่น การบรรยาย การอภิปราย การประชุมเชิงปฏิบัติการ การระดมสมอง
การฝึกปฏิบัติงาน และการศึกษา ดูงาน เป็นต้น
(๔) การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม
ให้ใช้วิธีการที่หลากหลายตามความเหมาะสม
เช่นการสังเกต การรายงาน การนำเสนอผลงาน และการสอบ เป็นต้น
ข้อ ๑๐
เกณฑ์การประเมินผลการฝึกอบรม
(๑) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องมีระยะเวลาการเข้ารับการฝึกอบรม
ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐ ของระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหมด
(๒) ผู้เข้ารับการอบรมต้องผ่านเกณฑ์การประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐
ทั้งนี้ ต้องนำผลการประเมินการปฏิบัติงานมาร่วมประเมินด้วย
ข้อ ๑๑
ผู้ดำเนินการฝึกอบรม
ดำเนินการโดยหน่วยจัดฝึกอบรม
ที่ได้รับการรับรองหลักสูตรจากคุรุสภา
ข้อ ๑๒
มาตรฐานของหน่วยฝึกอบรม
(๑) หลักสูตรการฝึกอบรมที่เสนอเพื่อให้คุรุสภารับรอง
ประกอบด้วย สาระความรู้และสมรรถนะตามที่กำหนด
ในมาตรฐานความรู้ของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ พร้อมรายชื่อ
ประวัติวิทยากรการอบรม รายการเอกสาร และสื่อประกอบการฝึกอบรม
(๒) มีวิทยากรที่มีความรู้ ประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
(๓) มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่เหมาะสม
และมีวัสดุ ครุภัณฑ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
(๔) มีการจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝึกปฏิบัติงาน หรือศึกษาดูงานในสถานศึกษา