Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โภชนาการสำหรับผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร…
โภชนาการสำหรับผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
โภชนาการสำหรับวัยผู้ใหญ่
ความต้องการพลังงานและสารอาหาร
วัยผู้ใหญ่ หมายถึง วัยทำงานออายุตั้งแต่ 19-60 ปี เป็นวัยที่ต้องการหารายได้เพื่อเลี้ยงดูตนเอง และครอบครัว ปัญหาที่พบมากในวัยนี้คือ ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไปและใช้ไม่หมด
ปริมาณพลังงานสำหรับผู้ใหญ่ 19-60 ปี
ผู้ชาย
19-30 ปี 2,150 กิโลแคลอรี
31-60 ปี 2,100 กิโลแคลอรี
ผู้หญิง
19-60 ปี 1,750 กิโลแคลอรี
ปัญหาด้านโภชนาการจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ปัญหาท้องผูก
เนื่องจากการดำรงชีวิตอย่างเร่งรีบ รับประทานอาหารที่ปรุงสำเร็จ ซึ่งมีผักและผลไม้น้อย
ภาวะกรดไหลย้อน
เป็นโรคที่น้ำย่อยหรือกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนไหลย้อนไปที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบ มีอาการจุกแน่น ปวดแสบปวดร้อนบริเวณหน้าอก รู้สึกรสขม ป้องกันโดยการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา
แนวปฏิบัติในการจัดอาหารสำหรับวัยผู้ใหญ่
คำนึงถึงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม เช่น ถ้าทำงานเบาไม่ควรได้รับพลังงานอาหารมากเกินไป
จัดอาหารให้มีความหลากหลายครบทั้ง 5 หมู่ ควรมีผักผลไม้ทุกมื้อ
มื้ออาหารที่สำคัญควรเป็นอาหาร เช้า กลางวัน เพราะต้องทำงานทั้งวัน มื้อเย็น อาจจะลดความสำคัญลงไปบ้าง
โภชนาการสำหรับวัยผู้สูงอายุ
วัยผู้สูงอายุ ตตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่มีการเสื่อมถอยของระบบต่างๆ ในร่างกาย ปัญหาทางโภชนาการจัดเป็นปัญหาที่มีความสำคัญ และส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
ความต้องการพลังงานและสารอาหาร
ปริมมาณพลังงานสำหรับผู้สูงอายุที่ควรได้รับ
ผู้ชาย
60-70 ปี 2,100 แคลอรี
71 ปีขึ้นไป 1,750 กิโลแคลอรี
ผู้หญิง
60-70 ปี 1,750 กิโลแคลอรี
71 ปีขึ้นไป 1,550 กิโลแคลอรี
ปัญหาด้านโภชนาการจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ปัญหาทั้งอ้วนและผอม การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วนและมีปริมาณมากเกินไป ทำให้น้ำหนักเกินจนกลายเป็นโรคอ้วน ผู้สูงอายุช่วงปลาย โดดยเฉพาาะอายุมากกว่า 80 ปีมักรับประทานอาหารน้อยเกินไปจนทำให้ผอมกว่าเกณฑ์
แนวปฏิบัติในการจัดอาหาร
ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในทุกมื้อ ลดอาหารประเภทที่มีไขมันสูง รับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ควรรับประทานผักผลไม้เป็นประจำ
งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สีสันของอาหารควรตกแต่งให้ดูสวยงาม เพื่อให้คนวัยนี้รับประทานอาหารอย่างมีความสุข
โภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์
อาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
ความต้องการพลังงานและสารอาหาร
ต้องได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นอีกวันละ 300 กิโลแคลอรี ควรได้รับพลังงานวันละ 2,050 กิโลแคลอรี
ปัญหาด้านโภชนาการจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจอย่างมาก ควรให้ความสนใจกับน้ำหนักของร่างกายที่เพิ่มขึ้นให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมาก และห้ามใช้อาหารเพื่อการลดน้ำหนักในระหว่างตั้งครรภ์ ไม่ควรลดน้ำหนักโดยเด็ดขาด
แนวปฏิบัติในการจัดอาหาร
ปริมาณพลังงานของอาหารจะต้องเพียงพอสำหรับหญิงตั้งครรภ์ พลังงาานเพิ่มจากปกติิวันละ 300 กิโลแคลอรี
อาหารประเภทเนื้อสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง ต้องได้รับในปริมาณที่เพียงพอ
ดื่มนมทุกวันๆละ 2 แก้ว ควรรับประทานผักและผลไม้ทุกๆมื้อ
โภชนาการสำหรับหญิงให้นมบุตร
หลังจากที่คลอดลูก แม่ส่่วนใหญ่มักจะคิดว่าไม่จำเป็นต้องกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อลูก ทารกที่คลอดออกมานั้นต้องกินนมแม่ ปริมาณและคุณภาพของอาหารทีี่่แมม่ได้รับในระยะนี้จึงมีความสำคัญพอๆกับระยะตั้งครรภ์ เพื่อใช้ในการสร้างน้ำนมสำหรับทารก โดยเฉพาะแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ความต้องการพลังงานและสารอาหาร
พลังงานเพิ่มขึ้นอีกวันละ 500 กิโลแคลอรี หญิงให้นมบุตรควรได้รับพลังงานวันละ 2,250 กิโลแคลอรี่
ปัญหาด้านโภชนาการจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
หญิงให้นมบุตรควรบริโภคอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนตั้งครรภ์ เพิ่มการรับประทานคาร์โบไฮเดรตตเพื่อให้ร่างกายสร้างน้ำนมได้เพียงพอกับความต้องการของทารก ควรจำกัดอาหารที่ให้พลังงานสูงประเภทของว่างและขนมขบเคี้ยวที่หวานมัน
แนวปฏิบัติในการจัดอาหาร
ควรดื่มน้ำของเหลว เพื่อช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้นมีน้ำนมมากขึ้นร่างกายต้องการโปรตีนไปสร้างน้ำนมให้แก่ทารก เลือกรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ไม่ติดมันมากมาปรุงประกอบอาหาร รับประทานไข่สุกวันละฟอง รับประทานถั่วเมล็ดแห้ง เน้นรับประทานปลาโดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึกจะมีไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ในปริมาณมาก ควรเลือกดื่มนมไขมันต่ำวันละ 1 แก้ว