Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Infective Endocarditis:IE (การป้องกัน (4.ดูแลเด็กให้ได้รับประทานอาหารที่สะ…
Infective Endocarditis:IE
ความหมาย
โรคติดเชื้อที่หัวใจ ที่มีการอักเสบของลิ้นหัวใจ ผนังหัวใจ หลอดเลือดและเนื้อเยื่อข้างเคียง
สาเหตุ
ติดเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ รา ไวรัส หรือเชื้อโรคอื่น มักเกิดในเด็กโรคหัวใจแต่กำเนิดเนื่องจากมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจหรือส่วนใดส่วนหนี่งของหัวใจและหลอดเลือด
ลักษณะทางคลินิก
แบ่งเป็น2กลุ่มคือ
1.อาการเฉียบพลัน กลุ่มนี้จะมีอาการช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด หรือปวดบวม ซึ่งมักพบในเด็กเล็กและทารกแรกเกิด พบมีไข้สูง ร่วมกับหายใจหอบเหนื่อย
อาการดำเนิดอย่างช้าๆ เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน อาการในกลุ่มนี้ที่พบบ่อยได้แก่ ในเด็กเล็กมีไข้ต่ำ ประมาณ 1-2 สัปหาด์ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เหนื่อยง่าย อาจมีปวดข้อ ข้ออักเสบบริเวณข้อใหญ่ ปวดท้องคลื่นไส้อาเจียน เด็กโตอาจพบว่ารู้สึกเจ็บหน้าอก อาการร่วมได้แก่
หัวใจวาย แขนขาอ่อนแรง มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง หนังตาและตาขาว มีเลือดออกเป็นเส้นคล้ายมีเสี้ยนตำใต้นิ้วมือนิ้วเท้า อาจพบนิ้วปุ้มแต่ไม่เขียวที่ปลายนิ้วมือหรืออาจพบก้อนแดงๆกดเจ็บ หรือพบรอยแดงเล็กที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า กดแล้วซีดลง เสียงหัวใจที่ผิดปกติในเด็กที่สำคัญคือเสียงฟู่ (murmur) เกิดจากการสั่นสะเทือนขณะที่มีการไหลของเลือดผ่านรูเปิดของลิ้นหัวใจ มีความผิดปกติหรือความหนืดของเลือดที่เปลี่ยนไป
ความดังขอเสี่ยงฟู่ สามารถของความรุนแรงของลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบรุนแรงเพียงใด แบ่งได้เป็น 6 เกรด ดังนี้
เกรด 1 เสียงเบามา ฟังยาก ต้องตั้งใจฟังมาก
เกรด 2 ได้ยินชัด ไม่ดังมาก
เกรด 3 เสียงดังชัด แต่คลำไม่ได้ Thrill
เกรด 4 เสียงดังมากแต่คลำไม่ได้ Thrill
เกรด 5 ดังมาก ฟังได้เมื่อใช้หูฟังวางบนหน้าอกเด็ก
เกรด 6 เด็กมาก เพียเข้าหูฟังเข้าใกล้หน้าอกเด็ก
พยาธิสรีรวิทยา
เมื่อมีการติดเชื้อในร่างกาย ทำให้มีการไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติในห้องหัวใจ เยื่อบุบางส่วนในห้องหัวใจหรือหลอดเลือดจะถูกทำลาย ทำให้มีบางส่วนหลุดออกมาอยู่ในกระแสเลือด เกล็ดเลือดมาเกาะแล้วเกิดเป็นก้อนลิ่มเลือดขึ้น เมื่อร่างกายมีการติดเชื้อโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียซึ้งมีความสามารถสูงในการเกาะติด จะมารวมตัวกับลิ่มเลือด ก้อนลิ่มเลือดที่มีเชื้อโรค จะปล่อยสารพิษทำลายเนื้อเยื่อของหัวใจทำให้ฉีกขาด โดยเฉพาะที่มีความบอบบาง เช่น ลิ้นหัวใจ เยื่อบุหัวใจ หากลิ่มเลือดหลุดไปอุดในหลอดเลือดของอวัยวะใดผลกระทบคือทำอันตรายต่ออวัยวะส่วนนั้น
การรักษา
1.รักษาเฉพาะคือให้ยาปฏิชีวนะ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการรักษา โดยให้ยาตามเชื้อที่ตรวจพบ ยาที่ต้องให้มีระดับความเข้มข้นสูง จึงทำลายเชื้อได้ ดังนั้นจึงต้อให้ยาทางหลอดเลือดดำ และต้องให้ยาในระยะเวลานานพอ ที่จะกำจัดเชื้อให้หมดไป การให้ยาปฏิชีวนะนาน 4-6 สัปดาห์ หลังให้ยาอาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ไข้ลดและหายใน 1 สัปหาด์ หลังการรักษาแม้ว่าเชื้อโรคจะยังไม่หมดไป
2.การรักษาทั่วไป ได้แก่ การให้เด็กนอนพัก และดูแลเพื่อให้ได้รับสารอาหารเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงสร้างภูมิต้านทานต่อ
เชื้อโรค ซึ่งในรายที่เป็นมานานมักมีภาวะขาดสารอาหารร่วมด้วย นอกจากนี้รักษาภาวะแทรกศชซ้อนตามอาการ
3.การรักษาโดยการผ่าตัด ในรายที่มีลิ้นหัวใจรั่วและมีอาการหัวใจวายที่รุนแรง จำเป็นต้องได้รักษาการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ภาวะแทรกซ้อน
1.ทำให้หัวใจวายหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ จากการที่ลิ้นหัวใจและผนังภายในหัวใจถูกทำลาย
2.เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ จากการที่มีก้อนลิ่มเลือดหลุดไปอุดในหลอดเลือดของอวัยวะนั้นๆ เช่น ฝีในสมอง ปอดบวม ไตวาย ม้ามโต
การป้องกัน
4.ดูแลเด็กให้ได้รับประทานอาหารที่สะอาดและมีประโยชน์ เพื่อส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันของโรค
5.ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายอย่างเหมาะสมกับภาวะของโรค เพื่อให้เด็กมีร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยได้ง่าย
3.การดูแลเด็กให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาดถูกสุขลักษณะ
6.พาเด็กไปรับวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนด ผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจสามารถรับวัคซีนทุกชนิดได้ เช่นเดียวกับเด็กปกติ
2.รักษาความสะอาดร่างกาย และโดยเฉพาะปากฟัน เพราะพบว่าเด็กส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อมักมีสาเหตุจากกการฟันผุ
7.แจ้งทันตแพทย์มห้ทราบว่าเด็กเป็นโรคหัวใจเมื่อพาเด็กไปทำฟันทุกครั้ง เพื่อให้แพทย์ช่วยพิจารณา ว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและจำเป็นต้องให้เด็กรับประทารยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันเชื้อก่อนทำฟันหรือไม่
1.ป้องกันการสัมผัสเชื้อ โดยการไม่ให้เด็กอยู่ใกล้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ เช่น ไข้หวัด
การพยาบาลเด็กโรคติดเชื้อที่ลิ้นและผนังภายในหัวใจ
3.วิตกกังวลเนื่องจากการพรากจาก/การเจ็บป่วย/การมีภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปและกลัวตาย
4.การเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า
2.ไข้ ปวดศีรษะ ปวดข้อและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จากการติดเชื้อแบคทีเรียที่เยื่อยุหัวใจ
5.ขาดความรู้ในการดูแลและการปฏิบัติตนในการดูแลที่บ้าน
1.เนื้อเยื่อร่างกายมีภาวะพร่องออกซิเจน จากการทำงานของเยื่อบุหัวใจและลิ้นหัวใจผิดปกติเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
รายละเอียดการวางแผนการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลเช่นเดียวกับการพยาบาลเด็กโรคหัวใจแต่กำเนิด และโรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง