Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 การพยาบาลเด็กจนถึงวัยรุ่นที่มีปัญหา ทางโลหิตวิทยาและนีโอพลาสม…
บทที่ 9 การพยาบาลเด็กจนถึงวัยรุ่นที่มีปัญหา
ทางโลหิตวิทยาและนีโอพลาสม
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยา
โรคภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
(IRON DEFICIENCY ANEMIA
)
อาการและอาการแสดง
อาการซีดของสีผิวหนัง ฝ่ามือฝ่าเท้า ริมฝีปาก เหงือก เปลือกตาด้านใน
เหนื่อยง่ายเนื่องจากหัวใจต้องทำงานเพิ่มขึ้น
เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องผูกหรือท้องเสีย
ปวดหัว เฉื่อยชา
ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
การตั้งครรภ์ของมารดา ประวัติการคลอด ชนิดของนมและอาหารเสริม
การตรวจร่างกาย
เพื่อสังเกตและหาสาเหตุภาวะซีด ได้แก่ สีผิว ฝ่ามือฝ่าเท้า ริมฝีปาก เยื่อบุตา
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจะมีขนาดเล็ก ติดสีจาง serum feritin น้อยกว่า 10 นาโนกรัม/ดล.
การรักษา
การให้เหล็กโดยการกิน (Ferrous sulfate) ให้วันละ 3 ครั้ง ระหว่างมื้ออาหาร ถ้าให้เหล็กไปพร้อมกับอาหาร หรือให้ร่วมกับนมจะขัดขวางการดูดซึม ทำให้การดูดซึมลดลง
แก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุ เช่น การให้ยาถ่ายพยาธิ
การให้เลือด รายที่มีภาวะซีดมาก หรือมีอาการแสดงของภาวะหัวใจวาย โดยให้เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Packed red cell)
โรคภาวะโลหิตจางจากไขกระดูกไม่ทำงาน
(APLASTIC ANEMIA)
สาเหตุ
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง จากการ ทำลายของเนื้อเยื่อ stem cell ในไขกระดูก
ความผิดปกติแต่กำเนิด(Congenital)
อาการและอาการแสดง
1. Low Platelet
เลือดออกในอวัยวะต่างๆ มีจุดจ้ำเลือดตามลำตัวและแขนขา เลือดออกตามไรฟันและเลือดกำเดา เลือดออกในทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการอาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด
2. Low RBC
ซีด เหนื่อยง่าย ชีพจรเบาเร็ว และถ้ามีการเสียเลือดร่วมด้วย ทำให้มีอาการซีดรุนแรงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
3. Low WBC
ติดเชื้อง่าย มีไข้ เป็นแผลในปาก
การวินิจฉัย
การเจาะไขกระดูก
จะพบว่ามีเซลล์ไขกระดูกน้อยกว่าปกติ และอาจตัดชิ้นเนื้อไขกระดูกมาตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยให้ชัดเจนขึ้น โดยพบเซลล์ไขมันเพิ่มขึ้นแทนที่เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด
การตรวจนับเม็ดเลือดทั้งสามชนิด
จะพบเม็ดเลือดทั้งสามชนิดมีจำนวนลดลงอย่างชัดเจน
การรักษา
การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก
การรักษาด้วยฮอร์โมน
การรักษาด้วยยากดระบบ Immune
การรักษาตามอาการ
ภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-P-D
(G-6-P-D DEFICIENCY)
สาเหตุ
ยา ยารักษามาลาเรีย ยาปฏิชีวนะ เช่น chloramphenical ยาแก้ปวด เช่น aspirin, paracetamal
สารเคมี เสื้อผ้าที่อบด้วยลูกเหม็น
อาหาร ถั่วปากอ้าดิบๆ
การติดเชื้อ: ไทฟอยด์ ปอดอักเสบ ตับอักเสบ ไข้หวัด มาลาเรีย
อาการและอาการแสดง
ซีดลงอย่างรวดเร็ว
ปัสสาวะดำเป็นสีโค๊ก (Hemoglobinuria)
ภาวะไตวาย เนื่องจากมีกรดยูริกเพิ่มจำนวนขึ้นไปอุดหลอดเลือดฝอยในไต
ตัวเหลืองภายหลังคลอดในทารกแรกเกิดที่มีภาวะพร่องเอ็นไซม์ G-6-P-D
ภาวะซีดเรื้อรัง
การรักษา
หาสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการซีด
การรักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะไตวาย
ให้เลือด ถ้ามีอาการซีดมากๆ
ทารกแรกเกิดที่มีอาการตัวเหลือง
รักษาด้วยPhototherapy
โรคธาลัสซีเมีย
(THALASSEMIA)
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติในการสังเคราะห์โกลบิน ทำให้
เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้น ทำให้เกิดปัญหาซีดเรื้อรังตั้งแต่แรกเกิด
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
ประวัติการซีดเรื้อรัง ประวัติครอบครัว
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจนับจำนวนและดูลักษณะของเลือดเลือดแดง ได้แก่ Hematocrit, Hemaglobin, Mean corpuscular volume ซึ่งมักพบว่ามีปริมาณต่ำทุกตัว นอกจากนั้นมักพบเม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กและติดสีจาง
การรักษา
การรักษาทั่วไป
การให้เลือด
การให้ยาขับธาตุเหล็ก
การผ่าตัดม้าม (Splenectomy)
การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก
การให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก
ภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากภาวะเหล็กเกิน
โรคเกล็ดเลือดต่ำ
(IDIOPATHIC THROMBOCYTOPENIC PURPURA: ITP)
สาเหตุ
การสร้างเกล็ดเลือดลดลง เนื่องจากโรคของไขกระดูกเอง
เกล็ดเลือดถูกทำลายมากกว่าปกติ
เกล็ดเลือดถูกใช้ไปมากกว่าปกติ
อาการและอาการแสดง
จุดจ้ำเลือดที่ผิวหนัง ทั้งที่เป็นจุดเล็กๆ (petechiae) และเป็นจ้ำเลือด (ecchymosis)
เลือดกำเดาไหล
เลือดออกในเยื่อบุต่างๆ
อาจตรวจพบอาการซีด ถ้าภาวะเลือดออกเกิดขึ้นช้าๆ และไม่รุนแรง
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
อาการและความผิดปกติที่ควรซักถาม ได้แก่ การมีเลือดออกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น จุด จ้ำเลือดตามลำตัว แขนขา
การตรวจร่างกา
ย เช่น มีเลือดกำเดาไหล
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
พบว่า เกล็ดเลือดต่ำ
กว่าปกติ แต่เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวปกติ
การรักษา
ส่วนใหญ่โรคหายได้เอง 70-80 % ภายในเวลา 1-2
เดือน และจะไม่กลับเป็นซ้ำอีก บางรายที่ไม่หาย หรือมีเลือดออกใต้ผิวหนังหลายแห่ง หรือมีจุดเลือดออกในปาก ควรให้กิน prednisolone เพื่อให้ผนังของหลอดเลือดแข็งแรงขึ้น ในรายที่เกล็ดเลือดเพิ่มขึ้นก็ค่อยๆ ลดขนาดของยาลงจนหยุดยา
ฮีโมฟีเลีย
(HEMOPHILIA)
สาเหตุ
ฮีโมฟีเลีย A (Classical Hemophilia) พร่องแฟคเตอร์ 8 พบได้บ่อยที่สุด ประมาณ 80-85 % ของโรคฮีโมฟีเลีย
ฮีโมฟีเลีย B (Christmas disease) พร่องแฟคเตอร์ 9 พบได้ประมาณ 10-15 % ของโรคฮีโมฟีเลีย
ฮีโมฟีเลีย C พร่องแฟคเตอร์ 11 พบได้ประมาณ 5 % ของฮีโมฟีเลีย อาการไม่รุนแรงมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive
พยาธิสภาพ
ผลจากการขาดองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือดตัว (ปัจจัยตัวที่ 1, 2, 3, 5, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13)
ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างไฟบรินได้ เลือดจึงไหลผ่านบริเวณหลอดเลือดที่ฉีกขาด ทำให้มีเลือดไหลออกนอกหลอดเลือดตลอดเวลา
การดูแล
ให้ FFP หรือ Cryoprecipitate
ห้ามเลือดและลดการมีเลือดออก
ถ้าเลือดออกในข้อให้ใช้ผ้ายืดพันไว้และให้พักข้อ
เมื่อเลือดหยุดออกเริ่มให้เคลื่อนไหวเพื่อป้องกันข้อติด
คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองในการดูแลเด็กโรค Hemophilia
มีบัตรประจำตัวติดตัวเด็กตลอดเวลา ชื่อระบุ โรคที่เป็น
การป้องกันอุบัติเหตุ การจัดสิ่งแวดล้อม การเล่น การสวมเสื้อผ้า เฉพาะในเด็กและวัยรุ่นโรคนี้
การพาเด็กมารับ Vaccine ใช้เข็มเล็กสุด กดนาน 5-10 นาที
ดูแลสุขภาพฟันไม่ให้ฟันผุ หลีกเลี่ยง การใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็ง
หลีกเลี่ยงกีฬาที่กระทบกระแทก
ป้องกันภาวะท้องผูก ให้อาหารอ่อน ย่อยง่าย
โรคเลือดออกจากการมี Prothrombin ต่ำ
(Acquired Prothrombim Complex Deficiency Syndrome : APCD)
สาเหตุ
โรค APCDเกิดจากการขาดวิตามิน เค ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างโปรทรอมบิน คอมเพล็กซ์ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ทารกขากวิตามิน เค ดังนี้
ทารกแรกเกิดมีวิตามิน เค ในเลือดน้อยมาก
ทารกไม่ได้รับวิตามิน เค เมื่อแรกเกิด
การได้รับอาหารเสริมที่ไม่ถูกต้อง
พยาธิสภาพ
เมื่อร่างกายขาด โปรทรอมบิน คอมเพล็กซ์ ทำให้กระบวนการแข็งตัวของเลือดหยุดชะงักในระยะของการสร้างโปรทรอมบินและทรอมบิน ทำให้การสร้างไฟบริน เพื่อช่วยในการอุดรอยฉีกขาดของหลอดเลือดหยุดชะงักไปด้วย จึงเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติในอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะในสมอง
อาการและอาการแสดง
1.มีเลือดออกในสมอง ทางเดินอาหาร ผิวหนัง อาการมักเกิดอย่างเฉียบพลัน โดยไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ นำมาก่อน ทารกมักมีอาการซีด ซึม ไม่ดูดนม ชัก หรือมี
2.อาการซีด
3.มีจ้ำเขียวตามตัว หรือเลือดหยุดยาก
4.อาการตับโต ในผู้ป่วยเด็กบางราย
5.ในรายที่ไม่เสียชีวิตจากการมีเลือดในสมอง อาจมีอาการพิการทางสมองในระยะต่อมา
การรักษา
เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้ว ให้วิตามินเค 2-5 มิลลิกรัม เข้าทางหลอดเลือดดำ เป็นเวลา 1- 3 วัน
ให้ Fresh Frozen Plasma ถ้าผู้ป่วยมีอาการเลือดออกรุนแรง เพื่อเป็นการเพิ่มโปรทรอมบิน คอมเพล็กซ์
ให้เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Packed Red Cell) ถ้าซีดมาก
-ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic)
-การได้รับยาบางชนิด ได้แก่ ยาเคมีบำบัด, Chloramphenical, ยาแก้ปวด, ยากันชัก
-การได้รับสารเคมีบ่อยๆ ซึ่งเป็นพิษต่อระบบเลือด เช่น ยาฆ่าแมลง ทินเนอร์
-เกิดภายหลังการติดเชื้อ เช่น ไวรัสตับอักเสบ
-เกิดภายหลังการได้รับรังสีการรักษาในขนาดสูง
ภาวะที่มี RBC, WBC, Plt. น้อยลงหรือไม่มี เนื่องจากมีความผิดปกติในไขกระดูก
ภาวะพร่องเอ็นไซม์ G-6-PD ทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้นกว่าปกติ ทำให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดงอย่างเฉียบพลัน ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ X – linked ส่วนใหญ่พบในเพศชาย
ความผิดปกติของการสร้างฮีโมโกลบิน ทำให้ RBC มีลักษณะผิดปกติและแตกง่าย (hemolytic anemia) ทำให้ซีด เหลือง ตับม้ามโต
ภาวะที่มีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000 เซลล์/ไมโครลิตรระดับเกล็ดเลือดต่ำกว่า 20,000 เซลล์/ไมโครลิตร ถือว่ามีภาวะเกล็ดเลือดต่ำรุนแรง
-เลือดออกง่ายหยุดยาก ถ่ายทอดทางพันธุกรรม X – linked recessive จากการขาดปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด
-เลือดออกง่าย หยุดยาก พบจ้ำเขียวตามตัว แขนขา อาจพบจ้ำใหญ่หรือก้อนนูน หลังจากฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ พบเลือดออกมากหลังฟันหลุดหรือถอนฟัน ได้รับอุบัติเหตุตำแหน่งที่พบเลือดออกได้บ่อย
-เป็นลักษณะเฉพาะคือ เลือดออกในข้อ (hemarthrosis) โดยเฉพาะ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก
ภาวะเลือดออกผิดปกติในทารกขวบปีแรก เนื่องจากขาดองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือดตัวที่ 2 7 9 และ10 (Prothrombin Complex) โดยส่วนใหญ่จะมีอาการเลือดออกในสมอง พบมากที่สุดในช่วงอายุ 1-2 เดือน
นางสาว ธนวรรณ หงษ์ทอง รหัส 611001018 เลขที่19