Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม…
บทที่ 6 การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม
ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่เป็นมิตร (Hostility)
ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตร
ความไม่เป็นมิตรมีลักษณะคล้ายกับความโกรธ มีพฤติกรรมการทำลาย (Destructive) บุคคล มีทัศนคติที่ถูกสะสมมาเรื่อยๆ มีความคงทนเปลี่ยนไปได้ยากและเป็นปฏิกิริยาการตอบสนอง ที่รุนแรง ซับซ้อนโดยมีแต่ความเกลียดชัง อิจฉา ริษยา และมีความต้องการที่มักจับจ้องจะทำลาย ความไม่เป็นมิตรมักจะพุ่งตรงต่อบุคคลหรือกลุ่มคน
สาเหตุและกลไกทางจิต
ความไม่เป็นมิตรมักถูกปลกูฝังตั้งแต่วัยทารกเมื่อมีสิ่งคุกคามทางจิตใจ
บุคคลไม่สามารถแสดงออกถึงความคับข้องใจได้
สิ่งแวดล้อมหรือบคุคลอื่นมีอิทธิพลที่ส่งผลให้บุคคลเรียนรู้ที่จะเก็บซ่อนความคิด ความรู้สึก ข่มความขมขื่น
เก็บกดสิ่งที่ตนเองต้องการเอาไว้และเกิดความคับข้องใจของตนเอง
บุคคลรับรู้การมีคุณค่าในตนเองต่ำเกิดการสะสมความคับข้องใจในตนเองมากขึ้น
ความไม่เป็นมิตรจะถูกเก็บซ่อนไว้และแอบแฝงและติดตัวเป็นลักษณะนิสัยของบุคคลนั้น
วิธิีการบำบัดทางการพยาบาล
การประเมินปัญหาทางการพยาบาล
การประเมินความไม่เป็นมิตร ประเมินได้ด้านร่างกายและสติปัญญา พยาบาลสามารถประเมินได้ดังนี
การเปล่ี่ยนแปลงด้านร่างกายเช่น ความดันโลหิตสูง ชีพจรเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อเกร็ง ผิวแดง คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง คอแห้ง เหงื่ออกตามร่างกาย เป็นต้น
ด้านคำพูดเช่น การพูดกระทบกระเทือน ส่อเสียด ดูถูก ข่มขู่ โต้แย้ง และอาจรุนแรงถึงการดุด่าพูดจาชวนทะเลาะ
ด้านพฤติกรรม เช่น ท่าทีเฉยเมยต่อต้าน เงียบ เชื่องช้า ไม่ยอมสบตา เดินหนี บางรายมักจะแสดง พฤติกรรมรุนแรง เช่น ทำร้ายร่างกายผ้อูื่น ทำลายสิ่งของ หรือ บางรายอาจแสดงพฤติกรรมแอบแฝง เช่น ทำตัวอ่อนหวาน น้อมน้อมเกินไป เป็นต้น
ข้อวนิิจฉัยทางการพยาบาล
การวินิจฉัยทางการพยาบาลจะมุ่งเน้นที่ การประเมินด้านร่างกาย และด้านสติปัญญา สิ่งที่ ต้องพิจารณาคือปัจจัยต้นเหตุที่กระตุ้นหรือมีอิทธิพลทำให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกไม่เป็นมิตร
กิจกรรมทางการพยาบาล
เป้าหมายทางการพยาบาลผู้ที่มีความไม่เป็นมิตร คือ การป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับ บุคคลอื่นและการช่วยเหลือบุคคลนั้นให้เผชิญกับความไม่เป็นมิตรในเชิงสร้างสรรค์
ให้การช่วยทำให้ความรู้สึกความไม่เป็นมิตรลดลงอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย
แนวทางการปฏิบัติทางการพยาบาลมีดังนี้
1.การจัดการกับสิ่งแวดล้อมและบุคคลรอบข้างเพื่อป้องกันอันตรายพยาบาลปฏิบัติได้ดังนี้
2.เปิดโอกาสให้บคุคลนั้นๆ ได้ระบายความรู้สึกคับข้องใจ ความไม่พอใจ หรือ ความไม่เป็นมิตร สนับสนุนให้บุคคล ดังกลา่วได้พิจารณาการกระทำของตนเองและการเรียนรู้การควบคมุตนเอง
อาจจัดห้องแยกให้จำกัดพฤติกรรมในกรณีที่มีพฤติกรรมรุนแรง
เตรียมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างฉุกเฉิน
ทีมสุขภาพต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะความไม่เป็นมิตร
พยาบาลต้องอยู่ในอารมณ์ที่สงบ สุขุม เยือกเย็น แต่ฉับไว ให้การยอมรับพฤติกรรมของบุคคลนั้น
ลดสิ่งกระตุ้น ยั่วยุอารมณ์ให้เกิดความไม่เป็นมิตร
การประเมินผลทางการพยาบาล
การประเมินผลจะประเมินว่าบุคคลนั้นสามารถหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่เป็นมิตรได้หรือไม่
บุคคลนั้นสามารถบอกความพูดเกี่ยวกับความรู้สึกไม่เป็นมิตร
แยกแยะสิ่งที่มาคุกคามทางจิตใจ
หาแนวทางในการป้องกันและการเผชิญปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมรวมทั้งเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์
ผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว (Aggression)
ความหมาย
พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggression) หมายถึง พฤติกรรมการแสดงที่เกิดจากอารมณ์โกรธ วิตก กังวล รู้สึกผิด คับข้องใจ มีจุดมุ่งหมายที่จะคุกคามหรือทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บหรือสิ่งแวดล้อม ได้รับความเสียหายอาจจะทั้งคำพูดหรือการกระทำ(เพียรดี เปี่ยมมงคล, 2553)
ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ( สมภพ,2542 )
พฤติกรรมก้าวร้าวทางคำพูด
: ใช้คำพูดตำหนิ ติเตียน วิพากษ์วิจารณ์ พูดในแง่ร้าย เสียงดังขู่ ตะคอก เอะอะอาละวาด วางอำนาจ วาจาหยาบคาย
พฤติกรรมก้าวร้าวแสดงออกทางร่างกาย
: มีสีหน้าบึ้งตึงแววตาไมเ่ป็นมิตร ท่าทางไม่พอใจ กระวนกระวาย อยู่ไม่นิ่ง ไม่สนใจเรื่องการกินการนอน การขับถ่าย แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
1.พฤติกรรมก้าวร้าวทำลายสิ่งของ ได้แก่ ทุบทำลายสิ่งของเครื่องใช้ ทุบกระจก จุดไฟเผา ปิดประตูเสียงดัง
2.พฤติกรรมก้าวร้าวทำร้ายคนอื่น หาเรื่องวิวาททำร้าย และละเมิดสิทธิผู้อื่น โดยการกัด การตี การผลัก และการใช้อาวุธทำร้ายคนอื่นให้ได้รับบาดเจ็บ
3.พฤติกรรมก้าวร้าวทำร้ายตนเอง เช่น การหยิกข่วนตนเอง การใช้มีดกรีดข้อมือ ตนเอง การดึงผม จุดไฟเผาตนเอง การฆ่าตัวตาย เป็นต้น
พฤติกรรมก้าวร้าว ออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้
การกระทำต่อบุคคลหรือสิ่งของที่เป็นต้นเหตุขัดขวางความต้องการ เช่น ผู้ป่วยโกรธ แพทย์ที่ทำ การรักษาที่ขัดขวางการกลับบ้าน “หมอบอกดิฉันว่าในระยะเวลา 1 สัปดาห์ คงจะได้กลับบ้านหมอเป็นคนโกหกหลอกลวง”
การกระทำต่อบุคคลหรือสิ่งของที่คล้ายคลึงกับต้นเหตุ เช่น พยาบาลรายหนึ่งบังเอิญมี รูปลักษณ์บางอย่างเหมือนคนที่ขัดขวางในอดีตของผู้ป่วยที่กำลังดูแลเป็นผลทำให้ บุคคลนั้นยังมีอารมณ์โกรธค้างอยู่ปฏิเสธให้พยาบาลคนดังกล่าวให้การช่วยเหลือดูแล เป็นต้น
การกระทำต่อบุคคลหรือสิ่งของอื่นๆที่มีลักษณะต่างจากต้นเหตุ พฤติกรรมนี้พบได้ บ่อยๆในชีวิตประจำวัน เช่น โกรธแฟนก็เกิดหนีไปปิดประตูดังลั่นตามหลัง โกรธ ครูผู้สอนกลับหอพักไปเดินเตะถังขยะหลังหัองพักเป็นต้น
กระทำต่อตนเอง เช่น บุคคลที่พยายามฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหาในชีวิต เป็นต้น
สาเหตุ
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ (Biological factors)
ระดับความผิดปกติของสารเคมีในสมอง เช่น serotonin, dopamine และ norepinephrine เพิ่มหรือลดลง การได้รับ อุบัติเหตุทางศีรษะ และ การมีเนื้องอกที่สมอง เป็นต้น
การเจ็บป่วยด้วยโรคทางร่างกายเช่น ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคสมองเสื่อม เป็นต้น
ปัจจัยด้านจติสังคม (Psychosocial factors)
-ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)
-ทฤษฏีทางด้านจิตวิทยา (Psychological Theory)
-ทฤษฏีทางด้านสังคมวิทยา (Sociocultural Theory)
-การถือแบบอย่าง (Modelling
วิธิีการบำบัดทางการพยาบาล
การประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ประเมินได้ดังนี้
1.1 ประวัติการมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของบุคคลนั้น
1.2 การได้รับการวินิจการเจ็บป่วยของบุคคลนั้น เช่น โรคจิตเภท การติดสารเสพติด เป็นต้น
1.3 พฤติกรรมในปัจจุบันของบุคคลนั้น เช่น มีความก้าวร้าวมากน้อยในระดับใด สังเกตได้ จาก พฤตกรรมที่สัมพันธ์กับความก้าวร้าวรุนแรง ดังนี้
ด้านคำพูด เช่น พูดจาถากถางผู้อื่น พูดคุกคามผู้อื่น พูดมาก พูดเสียงดัง ตะโกน เสียงดัง มีคำพูดแสดงถึงความกลัวเป็นต้น
ด้านพฤติกรรม เช่น ขบกราม หน้านิ่วคิ้วขมวด จ้องมองด้วยความโกรธ หน้าแดง ท่าทางระมัดระวังตัวเองสูง เป็นต้น
ข้อวินิิจฉัยทางการพยาบาล
ตัวอย่างข้อวนิิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงเนื่องจากมีประวัติพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นเนื่องจากมีประวัติพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล
3.1 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะโกรธ สามารถทำได้ดังนี้
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกไว้วางใจ รู้สึกปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening) เปิดโอกาสให้ได้พูดระบายถึง ความรู้สึกไม่พอใจออกมา รับฟังโดยไม่ ขัดจังหวะ ไม่ตำหนิ ไมโต้แย้ง หรือไม่แก้ตัวให้กับบุคคลใดขณะที่บุคคลนั้นพูดถึงสิ่งต่างๆในทางลบ
เมื่อความโกรธลดลงให้บุคคลนั้นสำรวจถึงสาเหตุที่ทำให้รู้สึกโกรธ ไม่พอใจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวตระหนักถึง อารมณ์ที่เกิดขึ้น
จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการออกแรงเพื่อปลดปล่อยพลังงานส่วนเกินที่เกิดจากความกดดัน ความโกรธ เช่น ดนตรี ออกกำลังกาย (การชกกระสอบทราย)
3.2 ให้คำแนะนำถึงวิธีการจัดการกับความโกรธในทางที่เหมาะสม จะสามารถแนะนำได้ในกรณีที่บุคคลนั้นมีภาวะ อารมณ์ปกติ สามารถรับรู้ เข้าใจเหตุและผลได้
สำรวจความโกรธของตนเองและยอมรับความโกรธที่เกิดขึ้น
สำรวจสาเหตุที่ทำให้เกิดความโกรธ
หลีกเลี่ยงออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความโกรธ
นับ 1-100เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจหรือให้เวลากับความโกรธที่เกิดขึ้น
หาบุคคลที่ไว้วางใจได้พูดระบายความโกรธที่เกิดขึ้น หรืออาจจะให้เขียนความรู้สึกโกรธลงในกระดาษซึ่งจะสามารถช่วยผ่อนคลายความโกรธได้
ทำกิจกรรมที่ออกแรงจะช่วยปลดปล่อยพลังงานส่วนเกินที่เกิดจากความโกรธไปในเชิงสร้างสรรค์ เช่น การขัดพื้นห้องน้ำ ล้างจาน ทำความสะอาด บ้าน การขุดดินปลูกต้นไม้ การออกกำลังกาย เป็นต้น
แนวทางการพยาบาลบุคคลที่มีความโกรธหรือผู้ที่มีพฤติกรรม ก้าวร้าว
ช่วยให้บุคคลนั้นยอมรับว่าตนเองกำลังมีอารมณ์โกรธ
ช่วยผู้ป่วยให้ค้นหาสาเหตุที่ทำให้ตนเองมีความรู้สึกโกรธ
ช่วยให้บุคคลที่มีความรู้สึกโกรธได้พูดคุย ได้ระบายพลังภายในซึ่งความโกรธได้ แสดงออกมาในทางที่ที่จะเป็นประโยชน์และเป็นที่ยอมรับของสังคม
ผู้ที่มีพฤติกรรมรุนแรง (Violence)
ความหมาย
พฤติกรรมรุนแรง หมายถึง เป็นความตั้งใจที่จะใช้กำลังทางกายเพื่อข่มขู่หรือกระทำ อันตรายต่อตนเอง ผู้อื่น กลุ่มบุคคล หรือ สังคมโดยจะส่งผลให้เกิดหรือมีความน่าจะเป็นสูงที่เกิด การบาดเจ็บ เสียชีวิต การกระบทกระเทือนทางจิตใจพฒันาการที่ผิดปกติหรือภาวะขาดแคลน (World Health Organization [2013]
วิธิีการบำบัดทางการพยาบาล
ประเมินสภาพผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง โดยประเมินระดับความรุนแรงของพฤติกรรม ดังนี้
ประเมินอาการและการแสดงที่เป็นสัญญาณของพฤติกรรม เช่น การแสดงออก ทางสี หน้าบึ้งตึง แววตาไม่เป็นมิตร การเคลื่อนไหวกระวนกระวายอยู่นิ่งไม่ได้
ประเมินการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกและอารมณ์อย่างเฉียบพลันและการศึกษา ประวัติจากญาติ เกี่ยวกับพฤติกรรมในอดีตมีหรือไม่อย่างไร
พยาบาลควรมีท่าทีที่เป็นมิตร สงบ และให้เกียรติเพื่อให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจ สิ่งที่พยาบาล ควรตระหนักเกี่ยวกับท่าทางในระหว่างให้การพยาบาลผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง เพราะ ทางทางของพยาบาลอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
3.การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยรวมทั้งลดสิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม ลดเสียงดัง ลดแสงสว่าง ลดการที่มีคนพลุกพล่าน เพื่อลดสิ่งคุกคามความรู้สึกผู้ป่วย
ตรวจค้นผู้ป่วยไม่ให้มีสิ่งของที่อาจใช้เป็นอาวธุได้
ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยขณะพฤติกรรมก้าวร้าวตามระดับความรุนแรง
ลดความรู้สึกถูกคุกคามโดยการเรียกชื่อผู้ป่วยและพูดคุยกับผู้ป่วยด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน
ไม่ตำหนิ ใช้คำถามปลายเปิดให้ผู้ป่วยได้ระบายความไม่พอใจ และให้วิจารณ์ได้ แม้เป็นความรู้สึกในทางลบ
ให้ยาตามแผนการรักษาและรายงานแพทย์ในรายที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงมากขึ้น
หลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการสงบพยาบาลควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความรู้สึกเกี่ยวกับ การถูกการจำกัดพฤติกรรม (Limit setting) การใช้ห้องแยก (Seclusion) การผูกมัดร่างกาย (Physical restrain) เพื่อช่วยลดความโกรธและความกังวลและพยาบาลควรบอกถึงสาเหตุที่ต้อง ผูกยึดไว้และการยุติการผูกยึดให้ผู้ป่วยทราบทุกครั้ง
พยาบาลควรให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีจัดการกับอารมณ์ ความโกรธออกไปในทางที่เหมาะสม
นางสาวอัยรินทร์ ข่วงทิพย์ เลขที่ 72 ห้อง A