Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 1 คิดว่าผู้ป่วยเป็นวัณโรค (Tuberculosis)
TB1 (5…
กรณีศึกษาที่ 1 คิดว่าผู้ป่วยเป็นวัณโรค (Tuberculosis)
-
-
3.ภาวะแทรกซ้อน
-
-
• เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
วัณโรคอาจก่อให้เกิดเนื้อเยื่อที่หุ้มบริเวณสมองเกิดอาการอักเสบ จนทำให้เกิดอาการปวดหัวเรื้อรัง ซึ่งภาวะแทรกซ้อนนี้อาจส่งผลระยะยาวต่อสุขภาพจิตได้
• ปัญหาเกี่ยวกับตับและไต
ตับและไตมีหน้าที่ในการกรองของเสียออกจากกระแสเลือด แต่สำหรับผู้ป่วยวัณโรค เชื้ออาจส่งผลให้ทั้ง 2 อวัยวะนี้เกิดปัญหาในระยะยาวจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติได้
• โรคหัวใจ
ในบางกรณีที่เกิดขึ้นได้น้อย วัณโรคจะเข้าไปจู่โจมบริเวณเนื้อเยื่อใกล้ ๆ กับหัวใจจนทำให้เกิดการอักเสบและเกิดการคั่งของของเหลวทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้นอกจากนี้เชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดวัณโรคอาจส่งผลให้ไอเป็นเลือด เกิดฝีในปอด และภาวะน้ำในช่องหุ้มปอดที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้อีกด้วย
-
4.สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
-
-
-
ด้านพันธุกรรม
• บิดาเป็นโรคปอด
โรคปอดสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับโรคจากบิดาจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการจากโรคหนักขึ้น
-
5.การพยาบาลที่สำคัญ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอุ่น และดื่มในปริมาณที่เหมาะสม เพราะน้ำอุ่นจะช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ เพื่อที่จะทำให้ขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น บรรเทาการระคายเคืองคอหรือคอแห้ง ซึ่งจะช่วยลดอาการไอให้น้อยลง
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพให้แก่ผู้ป่วยเพื่อเพิ่มความสามารถในการขับเสมหะของผู้ป่วยโดย การฝึกไอ วิธีการคือ
2.1 จัดท่าให้นอนหัวสูงหรือนั่งบนเก้าอี้ กอดหมอนหรือผ้าห่มไว้บริเวณหน้าท้อง หรือพยุงบริเวณที่มีแผล ก้มหน้าให้ไหล่โค้งเล็กน้อย เพื่อให้ไอเอาเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่ไม่มีหมอนอาจใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างกดเบา ๆ ด้านข้างของแผลเพื่อลดปวดและป้องกันแผลแยก (กรณีของคนที่มีแผลที่ท้อง)
2.2 หายใจเข้าออกลึก ๆ 2-3 ครั้ง จากนั้นหายใจเข้าลึก ๆ และกลั้นหายใจไว้ประมาณ 1-2 วินาที จากนั้นไอออกมาแรง ๆ โดยใช้แรงดันจากช่องท้องร่วมกับกล้ามเนื้อหายใจอื่น ๆ เนื่องจากการใช้แรงดันจากช่องท้องจะทำให้เกิดแรงดันมาก เสมหะหลุดออกได้ง่าย เพื่อเพิ่มความสามารถในการขับเสมหะ
ให้ละอองไอน้ำและความชื้น เพื่อช่วยป้องกันการระคายเคืองและป้องกันการทำร้ายเซลล์บุผิวไม่ให้แห้งเกินไป และป้องกันการสูญเสียน้ำในทางเดินหายใจ
-
ประเมินอุณหภูมิร่างกาย เพื่อวางแผนทางการพยาบาล
เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดาอย่างนุ่มนวล เพราะน้ำจะช่วยพาความร้อนออกจากร่างกายทางผิวหนัง ทำให้อุณหภูมิลดลงและทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น
ล้างมือทุกครั้ง ก่อน-หลังให้การพยาบาลหรือการสัมผัสกับสารคัดหลั่งผู้ป่วย และให้การพยาบาลโดยใช้หลัก Aseptic Technique เพราะเป็นการลดการแพร่กระจายเชื้อ
vital sign ทุก 4 ชม. เพราะการประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกายจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของการติดเชื้อทางเดินหายใจ
ติดตามและประเมินผลทางการพยาบาลโดยการประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง ประเมินการหายใจสั้นและตื้น หรือหายใจลำบาก ประเมินค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ประเมินเสียงหายใจ เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง