Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Introduction to Child Health and Pediatric Nursing (การตรวจร่างกาย…
Introduction to Child Health and Pediatric Nursing
บทบาทของพยาบาลเด็ก
1.ให้การพยาบาล พยาบาลใช้กระบวนการในการพยาบาลเด็กและครอบครัว การพยาบาลใช้หลักการดูแลโดยให้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง เพื่อช่วยให้เด็กและครอบครัวเผชิญหน้ากับความเจ็บป่วยและครอบครัวสามารถดูแลเด็กต่อเนื่องได้เมื่อกลับบ้าน
2.ดูแลปละพิทักษ์สิทธิ์ พยาบาลและสมาชิคครอบครัว มีการตั้งวัตถุประสงค์และวางแผนร่วมกันในการตอบสนองความต้องการของเด็กและครอบครัวให้มากที่สุด ค้นหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษา ใช้สิทธิเด็กเป็นแนวทางในการปฏิบัติ การดูแลใช้หลกการที่ไม่คุกคามเด็ก และปกป้องเด็กและครอบครัวด้านการปฏิบัติการดูแลที่ไม่ถุกต้องต่างๆ ทั้งทางด้านกฏหมายและจริยธรรม
3.ป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพ ปัจจุบันแนวโน้มการดูแลมุ่งที่การเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันความเจ็บป่วยมากกว่าการรักษา พยาบาลทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กจะต้องสร้างเสริมสุขภาพของเด็ก
4.ให้ความรู้ทางสุขภาพ การให้ความรู้ทางสุขภาพเป็นจุดมุ่งหมายหนึ่งของการพยาบาล การให้ความรู้แก่บิดามารดาและเด็กให้เข้าใจการวินิจฉัยโรคและการรักษา กระตุ้นให้ถามคำถาม
5.สนับสนุนช่วยเหลือ/ให้คำปรึกษา ความต้องการอารมณ์ของเด็กและครอบครัวจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน การสนับสนุนประกอบด้วย การรับฟัง การสัมผัส การอยู่ด้วย การให้คำปรึกษาที่นำไปสู่การแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อช่วยให้ครอบครัวสามารถเปชิญกับความเครียดได้ และสามารถทำหน้าที่ได้ดีที่สุด
6.ร่วมมือและประสานงาน พยาบาลให้ความร่วมมือกับทีมสุขภาพเพื่อให้การบริการที่มีคุณภาพ บนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม พยาบาลทำงานอย่างอิสระร่วมกับเด็กและครอบครัว รวมทั้งมือการสื่อสาร ความต้องการของเด็กและครอบครัวให้บุคคลากรอื่นในทีมสุขภาพรับรู้
7.วิจัย การวิจัยทางการพยาบาลจะช่วยพัฒนาองค์ความรู้และศาสตร์ทางการพยาบาลอย่างเป็นระบบ การวิจัยจะช่วยให้พยาบาลสามารถตอบคำถามในการประปฏิบัติการพยาบาลของตนได้อย่างมีเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์
8.การตัดสินเชิงจริยธรรม พยาบาลจะต้องปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นประโยชน์และเกิดอันตรายน้อยที่สุด ในกรอบแนวคิดทางสังคม มาตรฐานวิชาชีพ กฏหมาย ศาสนา ระบบค่านิยมของครอบครัวและค่านิยมส่วนบุคคลพยาบาล เมื่อเกิดการขัดแย้งทางจริยธรรม พยาบาลเป็นบุคคลหนึ่งที่จะมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลเพื่อตัดสินเชิงจริยธรรม การประเมินเกี่ยวกับความเชื่อถือ ค่านิยม ความชอบของเด็กและครอบครัว เพื่อสื่อสารข้อมูลเหล่านี้ให้กับทีมสุขภาพเพื่อการตัดสินเชิงจริยธรรม
9.วางแผนการดูแลสุขภาพ โดยปกติพยาบาลมีไม่มากนักที่อยู่ในระดับวางแผนสุขภาพโดยเฉพาะในระดับการเมืองและออกกฏหมาย พยาบาลจะต้องร่วมมือในระดับรัฐบาลเพื่อการตัดสินใจในด้านการพิทักษ์สิทธิ์ของเด็กและครอบครัว กำหนดกฏหมาย การเป็นสมาชิคของกลุ่มที่อุทิศเวลาเพื่อสวัสดิภาพเด็ก การพัฒนาบริการใหม่ และการพัฒนาคุณภาพที่มีอยู่เดิมให้มีคุณภาพขึ้นโดยปฏิบิติอยู่บนมาตรฐานวิชาชีพ
แนวคิดสำคัญในการพยาบาลเด็กและครอบครัว
พัฒนาการของเด็ก
การเจ็บป่วยมีผลให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมได้ ดังนั้นเมื่อดูแลเด้กที่เจ็บป่วย พยาบาลที่มีความรู้เรื่องทฤษฎีพัฒนาการเด็กจะช่วยให้เข้าใจการตอบสนองของเด็กแต่ละวัยต่อการเจ็บป่วย และเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือเด้กเพื่อให้สามารถปรับตัวต่อเหตุการณ์เครียมจากการเจ็บป่วย
พัฒนาการครอบครัว
การเจ็บป่วยของเด็กมีผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัว พัฒนาการของครอบครัวอาจถูกรบกวนหรือถดถอย พยาบาลสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีพัฒนาการครอบครัวเมื่อวางแผนดูแลเด็กที่ป่วยและครอบครัว
การดูแลโดยให้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
1.การยอมรับและเคารพความแตกต่างของวัฒนธรรม ภาษา และความต้องการ (respect and dignity)
2.การแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเปิดเผยรูปธรรมและไม่อคติ (information sharing)
3.การมีส่วนร่วมในการดูแลและการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดกับความต้องการ ความเข้มแข็ง ค่านิยม และความสามารถ (participation)
4.ความร่วมมือกัน (collaboration)
การประเมินภาวะสุขภาพเด็ก (Health assessment)
การซักประวัติ (History taking)
1.ข้อทั่วไป (identifying information)
เป็นข้อมูลที่บ่งชี้ถึงสถานะเด็กป่วย สภาพแวดล้อม บุคคลและสถานที่เกี่ยวข้องกับภาวะเจ็บป่วย
2.อาการสำคัญที่นำมาโรงพยาบาล (Chief complaint)
หมายถึง ปัญหาหรือสาเหตุที่ทำให้เด็กต้องมาโรงพยาบาล ประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นอาการและอาการแสดงสำคัญ 1-2 อาการ และข้อมูลที่เป็นระยะเวลาเมื่อเกิดอาการหรืออาการแสดงของโรค เช่น มีการซีดและมีจุดจ้ำเลือดตามตัว 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล
3.ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน (Present illness)
เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับปัยหาการเจ็บป่วยในครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ต้นมีความผิดปกติหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลา ซึ่งจะสัมพันธ์กับอาการสำคัญ ปัจจัยที่ทำให้เกิด และวิธีการบรรเทาอาการ
4.ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (Past illness)
เป็นการเจ็บป่วยในครั้งก่อนๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงการเจ็บป่วยครั้งนี้ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยปัจจุบัน
5.ประวัติครอบครัว (Family history)
เป็นประวัติการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติของสมาชิกในครอบครัว (3ช่วงอายุ) ตั้งแต่ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ลุงป้า น้าอา และพี่น้อง เป็นการค้นหาโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือโรคติดต่อที่อาจะเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยในเด็ก
6.ประวัติส่วนตัว (Personal history)
ประวัติสภาพแวดล้อมและสภาพชุมชนที่อาจจะมีผลต่อการเจ็บป่วย
7.การประเมินด้านจิตสังคม (Psychosocial assessment)
ปัจจัยด้านจิตสังคม หมายถึง ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของบุคคลในส่วนที่เป็นจิต และส่วที่เกี่ยวข้องกับสังคม ทฤษฎีองค์รวมอะิบายว่าองค์ประกอบด้านจิตสังคมเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของระบบย่อยๆที่ประกอบขึ้นเป็นตัวบุคคล ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ต่างมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันรวมเป็นร่างกาย จิตสังคม และวิญญาณ
1.การรับรู้ (perception) เป็นกระบวนการที่บุคคลรับเข้า แปลความและให้ความหมายกับสิ่งกระตุ้นที่มาจากสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก
2.อัตมโนทัศน์ (self-concept) เป็นความเชื่อและความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อตนเอง เกิดขึ้นจากการรับรู้ของตนเองและการรับรู้จากปฏิกิริยาของผู้อื่นที่มีต่อตนเอง
3.อารมณ์ (affect and mood) เป็นการประเมินการแสดงออกของความรู้สึกภายในของผู้ป่วยด้วยท่าทาง โดยเฉพาะเด็กเล็กการสื่อภาษายังไม่ชัดเจน การแสดงออกด้วยท่าทางจะเที่ยงตรงกว่าในเด็กโตหรือผผู้ใหญ่ บางครั้งการพูดอาจไม่สอดคล้องกับความรู้สึกที่แท้จริง การสังเกตจากภาษาท่าทางจะบ่งชี้ได้ชัดเจนกว่า
4.บทบาทในสังคม (Social Role) เป็นการประเมินความเข้าใจในบทบาทของตน แบบแผนการติดต่อสื่อสารของสังคม กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับสังคมและความสามารถในการแสดงบทบาท หรือเป็นการประเมินเพื่อดูว่าบุคคลมีวิธีการจัดการอย่างไรกับบทบาทเฉพาะของตนตามความคาดหวังและมีสัมพันธภาพกับสังคม
5.ภาวะเครียดและการปรับตัว (Stress and coping) เป็นกลไกที่บุคคลใช้เพื่อรักษาสภาพความสมดุลของจิตใจ มีการนำกระบวนการทางจิตมาใช้เพื่อลดความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในภาวะที่บุคคลต้องประสบกับปัญหาหรือภาวะวิกฤต ประเมินได้จากการสัมภาษณ์ การบอกเล่า การสังเกตและการประเมินการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
8.การประเมินด้านจิตวิญญาณ (Spiritual Assessment)
จิตวิญญาณ (spirituality) เป็นมิติของบุคคล การเกี่ยวข้องกันระหว่างบุคคลกับผู้อื่น บุคคลต่ออำนาจธรรมชาติ และบุคคลกับพลังที่อยู่เบื้องบน ที่แสดงออกให้เห็นในรูปขอการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา การทำงานและการมีชีวิตอยู่อย่างมีเป้าหมายและมีความหวัง การประเมินจิตวิญญาณ ประเมินจาก
1.ความเชื้อและศรัทธา (Belief and faith)
2.แหล่งที่มาของความเข้มแข็งและความหวัง (Sources of Strenght and hope)
3.การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา (Religious practices)
แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในมิติจิตวิญญาณ
1.พฤติกรรม ประเมินจากากรสังเกตอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า เหงา และการสังเกตพฤติกรรม เช่น สวดมนต์ อ่านหนังสือธรรมะ
2.วาจา ประเมินจากการพูดถึงสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ความเชื่อ ความหวัง กิจกรรมทางศาสนาที่เคยปฏิบัติ ความมุ่งหมายของชีวิต และผลกระทบของความเจ็บป่วยต่อเป้าหมายของชีวิต
3.การมีปฏิสัมพันธ์ถึงบุคคลอื่น ประเมินจากการมีคนมาเยี่ยม เช่น สมาชิกในครอบครัว เพื่อนบ้าน การมีปฏิสัมพันธ์กับพยาบาลและทีมสุขภาพ
4.สิ่งแวดล้อม ประเมินจาก สมุดสวดมนต์ บทคัมภีร์ ลูกประคำ เหรียญ ยันต์
9.การทบทวนอาการตามระบบ (Systemic review)
เป็นการซักถามประวัติความผิดปกติหรือการเจ็บป่วยตามระบบต่างๆของร่างกายตั้งแต่ศีรษะถึงเท้า เป็นการค้นหาัยหาหรือความผิดปกติอื่นๆที่พ่อแม่หรือเด้กไม่ได้ให้ข้อมูล เพราะคิดว่าไม่เกี่ยวข้องกับอาการเจ็บป่วยปัจจุบันหรือไม่เห็นความสำคัญ หรือเป็นความผิดปกติที่พ่อแม่ไม่เคยทราบมาก่อน
การตรวจร่างกาย (Physical assessment)
เป็นการตรวจตามระบบเพื่อค้นหาสิ่งผิดปกติ โดยใช้เทคนิคการดู (inspection) การคลำ(palpation) การเคาะ(percussion)และการฟัง(auscultation) เด้กกับผู้ใหญ่มีความแตกต่างกันทั้งด้านร่างกายและจิตใจ วิธีการประเมินจึงมีความแตกต่างกันในบางส่วน ซึ่งผู้ประเมินจะต้องระลึกเสมอว่าเด็กแต่ละวัยจะมีธรรมชาติและความต้องการพื้นฐานแตกต่างกัน การจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และวิธีการที่จะทำให้การประเมินเป็นไปด้วยดีและเด็กป่วยให้ความร่วมมือ ควรให้เด็กอยู่ในท่าที่สุขสบาย เช่น นั่งบนตักแม่ ให้แม่อุ้มไว้ วิธีตรวจตามปกติจะเริ่มต้นตั้งแต่ศีรษะถึงเท้าตามลำดับ แต่ในเด็กป่วยจะเลือกตรวจส่วนต่างๆไม่เหมือนขึ้นอยู่กับความร่วมมือของเด็ก และธรรมชาติของเด็กแต่ละวัย ในเด็กเล็กควรเริ่มต้นตรวจส่วนที่ต้องการก่อน เช่น ฟังเสียงหัวใจ เสียงปอด ส่วนวิธีที่ทำให้เด็กตกใจหรือร้องไห้ควรตรวจสุดท้าย เช่น การวักปรอท การตรวจดูคอ ในภาวะฉุกเฉินจะประเมินส่วนที่มีความสำคัญต่อชีวิตเป็นอันดับแรก เช่น ทางเดินหายใจ หารหายใจ การไหลเวียน และส่วนที่บาดเจ็บก่อน ชมเชยเด็กเมื่อเด็กให้ความร่วมมือ
1.การประเมินลักษระทั่วไป
2.การประเมินสัญญาณชีพ
3.การตรวจผิวหนัง
4.การตรวจศีรษะ ตา หู จมูก และช่องปาก
5.การตรวจทรวงอกและปอด
6.การตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือด
7.การตรวจท้อง
8.การตรวจเพศและการเจริญเติบโตทางเพศ
9.การตรวจระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ
10.การตรวจระบบประสาท
นางสาว ระพีพรรณ เอกอัครนวกุล 61122230034 เลขที่ 31