Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 โภชนาการสำหรับผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร…
บทที่ 7 โภชนาการสำหรับผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
โภชนาการสำหรับวัยผู้ใหญ่
ความต้องการพลังงานและสารอาหาร
ผู้ชาย = อายุ 19-30 ปี 2,150KL / อายุ 31-60 ปี 2,100KL
ผู้หญิง = อายุ 19-60 ปี 1,750KL
ปัญหาด้านโภชนาการจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ภาวะกรดไหลกรดไหลย้อน เป็นโรคที่น้ำย่อยหรือกรดในกระเพราะอาหารไหลย้อนไปที่หลอดอาหาร เนื่องจากความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหาร ทำให้อักเสบ
ปัญหาท้องผูก เนื่องจากไม่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายและรับประทานผักผลไม้น้อย ทำให้มีปัญหาท้องผูก
แนวปฏิบัติในการจัดอาหารสำหรับวัยผู้ใหญ่
ต้องคำนึงถึงพลังงานที่ใช่ในการทำกิจกรรมต่างๆ
จัดอาหารครบ5หมู่ให้มีความหลากหลายของผักผลไม้
มื้อเช้า-เย็นเป็นมือที่สำคัญเพราะต้องใช่พลังงานในการทำกิจกรรม ส่วนมื้อเย็นควรลงควาใสำคัญลงบ้างเนื่องจากอาจทำให้น้ำหนักเกิน
โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ
ความต้องกาารพลังงานและสารอาหาร
ผู้ชาย = อายุ60-70ปี 2,100KL / อายุ71ปีขึ้นไป 1,750KL
ผู้หญิง = อายุ 60-70 ปี 1,750KL / อายุ 71ปีขึ้นไป 1,550KL
ปัญหาด้านโภชาการจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ผู้สูงอายุ80ปีขึ้นไปมักรับประทานอาหารน้อยเกินไป ทำให้เกิดปัญหาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
การรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วนและปริมาณมากเกินไปทำให้อ้วน
แนวปฏิบัติในการจัดอาหาร
ควรรับประทานอาหารให้ครบ5หมู่
ลดอาหารประเภทที่มีไขมันสูง
ควรรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน
รับประทานผัก-ผลไม้เป็นประจำทุกวันทุกมื้อ
ควรงดเครื่องดืมแอลกอฮอ รวมทั้งอาหารที่รสจัดเกินไป
ควรดื่มนมพร่องมันเนยวันละ1-2แก้ว
โภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์
ความต้องการพลังงานและสารอาหาร
หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับพลังงานวันละ 2,050KL
พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 45-65ของพลังงานทั้งหมดต่อวัน
พลังงานจากโปรตีนร้อยละ12-15 ของพลังงานทั้งหมดต่อวัน
พลังงานจากไขมันร้อยละ 25-35 ของพลังงานทั้งหมดต่อวัน
ปัญหาด้านโภชนาการจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
หญิงตั้งครรภ์ให้ความสนใจกับน้ำหนัก ทำให้อาจไม่กล้าทานอาหารเยอะทำให้ได้สารอารหารไม่ครบ
ถ้าระหว่างการตั้งครรภ์แม่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นต่ำกว่าเกณฑ์ จะทำให้ทารกตัวเล็กและน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
ถ้าระหว่างตั้งครรภ์มีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเกณฑ์ แม่อาจจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและอาจเป็นเรื่อรังสู่ทารก
แนวปฏิบัติในการจัดอาหาร
ปริมารพลังงานของอาหารจะต้องเพียงพอสำหรับการตั้งครรภ์
เนื้อสัตว์ต่างๆ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรจะได้รับเนื้อสัตว์อย่างเพียงพอทุกวัน โดยเป็นเนื้อสัตว์ชนิดใดก็ได้ แนะนำว่าไม่ควรติดหนัง
ไข่เป็ด หรือไข่ไก่ อาหารคนท้องหลักที่ควรรับประทานเป็นประจำ วันละ 1 ฟอง เพราะในไข่เป็นและไข่ไก่เป็นแหล่งรวมโปรตีน อีกทั้งยังมีธาตุเหล็กและวิตามินอีมาก
นมสด มีโปรตีนสูงและมีแคลเซียมที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดี หากไม่สามารถดื่มนมวัวได้อาจดื่มนมถั่วเหลืองแทน และควรรับประทานเนื้อสัตว์ ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งให้มากขึ้น
ถั่วเมล็ดแห้ง ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วเหลืองเช่น เต้าหู้ ควรรับประทานสลับกับเนื้อสัตว์
ข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง การรับประทานข้าวซ้อมมือจะทำให้ได้วิตามินบี 1 อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกากใยเพื่อช่วยป้องกันโรคเหน็บชาและลดอาการท้องผูกได้
ผักและผลไม้ คนท้องควรรับประทานผักและผลไม้ให้หลากหลายตามฤดูกาล แนะนำให้รับประทานผลไม้หลังมื้ออาหารและรับประทานเป็นอาหารว่างในทุกๆ วัน ผักและผลไม้จะเป็นแหล่งอาการที่ให้วิตามิน เกลือแร่ และกากใยอาหารที่ช่วยให้การขับถ่ายสะดวกขึ้น
ไขมัน หรือน้ำมัน ควรเลือกน้ำมันที่ได้จากพืชเช่น น้ำมันถั่วเหลืองเพราะจะมีคอเลสเตอรอลที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายน้อย อีกทั้งยังมีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายมากกว่าน้ำมันจากสัตว์ แต่ก็ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ
โภชนาการสำหรับหญิงให้นมบุตร
ความต้องการพลังงานและสารอาหาร
หญิงงให้นมบุตรควรได้รับพลังงานวันละ 2,250KL
พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตร้อยละ45-65 ของพลังงานทั้งหมดต่อวัน
พลังงานจากไขมันร้อยละ25-35ของพลังงานทั้งหมดต่อวัน
พลังงานจากโปรตีนร้อยละ12-15ของพลังงานทั้งหมดต่อวัน
ปัญหาด้านโภชนาการจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ควรจำกัดอาหารที่ให้พลังงานสูง ประเภทของว่างและขนมขบเคี้ยว
หลีกเลี่ยงผลไม้ที่หวานจัด เช่น ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วงสุก ทุเรียน
ไม่ควรดื่มสุราระหว่างที่ต้องให้นมบุตรเพราะอาจทำให้แอลกอฮอในกระแสเลือดถูกขับลงในน้ำนมมารดาด้วย
แนวปฏิบัติในการจัดอาหาร
เนื้อสัตว์ต่าง ๆ หญิงมีครรภ์ควรได้รับเนื้อสัตว์
ชนิดใดก็ได้ให้เพียงพอทุกวัน แต่ไม่ควรติดหนัง
กินผัก ผลไม้สดให้หลากหลายสี วันละ 5 ถ้วย หากไม่มีแบบสดๆ อาจเป็นแบบแช่แข็งหรือผลไม้ตากหรืออบแห้งแบบไม่เติมเกลือ น้ำตาล เพื่อให้ได้รับวิตะมิน เกลือแร่ เส้นใยอาหารอย่างเพียงพอ
ข้าวไม่ขัดขาว ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดพืช เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดงาดำ เมล็ดแฟล็กซ์ จะช่วยให้เส้นใยอาหาร วิตะมิน เกลือแร่ สารต้านอนุมูลอิสระ
ดื่มน้ำสะอาดวันละ 2-3 ลิตร กินแคลเซียมช่วยให้กระดูกแข็งแรง ดีเอชเอช่วยบำรุงสมอง ไอโอดีนช่วยเพิ่มระดับสติปัญญา และ ธาตุเหล็กช่วยให้ไม่ซีดและป้องกันสมองเสื่อม ควรเลือกกินจากธรรมชาติจะดีกว่าการกินจากอาหารเสริม
นางสาวนภวรรณ ภาระตะวัตร รหัสนักศึกษา 624N46136