Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มาตรฐานการศึกษา (ขั้นตอนการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (ขั้นตอนที่ 1…
มาตรฐานการศึกษา
ขั้นตอนการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ขั้นตอนที่ 3 กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและค่าเป้าหมาย
การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษานั้นสถานศึกษาจะต้องพิจารณาสาระสำคัญที่จะกำหนดในมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่สะท้อนอัตลักษณ์และมาตรการส่งเสริมของสถานศึกษาอย่างชัดเจน และต้องกำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของ แต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่สถานศึกษากำหนดขึ้น
ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบและทบทวนมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
เป็นการพิจารณาทบทวนเนื้อหาสาระที่กำหนดในมาตรฐานและตัวบ่งชี้รวมถึงค่าเป้าหมายความสำเร็จที่สถานศึกษาได้กำหนดขึ้นว่าเหมาะสม ครอบคลุม สอดคล้อง และเป็นไปได้
ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของมาตรฐานการศึกษาต่าง ๆ
เป็นขั้นตอนสำคัญที่คณะกรรมการฯ จะต้องวิเคราะห์เนื้อหาสาระสำคัญที่จะนำมากำหนดโครงสร้างของมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ขั้นตอนที่ 5 ประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
เผยแพร่และแจ้งให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกรับทราบด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม เช่น การแจ้งในที่ประชุม จดหมายข่าว ประกาศเสียงตามสาย ป้ายประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมความพร้อมการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
สร้างจิตสำนึกการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ดำเนินการโดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการหรือชี้แจงเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
คณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนผู้ปกครอง ชุมชน
ผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ
ผู้บริหารสถานศึกษา และคณะครู
ประโยชน์ของมาตรฐานการศึกษา
ใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับ การตรวจสอบ การนิเทศ การติดตามและประเมินผล รวมทั้งการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
มีข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพและความก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
สามารถวางหลักและแนวทางในการกำหนดนโยบายแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
เพื่อเป็นมาตรฐานการศึกษาสำหรับการประกันคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาในระยะต่อไป
ช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
แนวคิดในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แนวคิดในการกำหนดมาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ
การจัดการศึกษาของสถานศึกษามีองค์ประกอบที่สาคัญ 4 ด้าน
ด้านการบริหารคุณภาพของสถานศึกษา
ด้านการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษา
ด้านการพัฒนาครูและบุคลากร
ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการ
แนวคิดในการกำหนดมาตรฐานด้านกระบวน
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญซึ่งเน้นที่การปฏิบัติ (active learning) เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการปฏิบัติที่นำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน
แนวคิดในการกำหนดมาตรฐานด้านคุณภาพของผู้เรียน
กำหนดมาตรฐานการศึกษาย่อย จำนวน 2 ด้าน
ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
หน่วยงานทางการศึกษาระดับต่าง ๆ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องร่วมกันดำเนินการ ดังนี้
ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มีบทบาทสำคัญในการนำมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดเป็นเป้าหมายการพัฒนาในภาพรวมระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สนับสนุนสถานศึกษาให้มีระบบการประกันภายในที่เข้มแข็ง นำผลการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนา ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ระดับสถานศึกษา
นำเอามาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและอัตลักษณ์ของสถานศึกษาที่โดดเด่นในด้านต่าง ๆ มาเชื่อมโยงกันแล้วกำหนดเป็นมาตรฐานของสถานศึกษา
ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากำหนดทิศทางในการดำเนินงานด้านการศึกษาเพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
กระบวนการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและค่าเป้าหมาย
ตรวจสอบและทบทวนมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของมาตรฐานการศึกษาต่าง ๆ
ประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
เตรียมความพร้อมกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
สร้างความรู้ความเข้าใจและจิตสำนึกการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
อุดมการณ์ของการจัดการศึกษา
การจัดให้มีการศึกษาตลอดชีวิตและการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยให้สังคมทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาได้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน
แนวคิดที่สำคัญ
การรับผิดชอบร่วมกัน
การจัดการศึกษาหรือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงต้องให้มีการแสดงความรับผิดชอบร่วมกันทุกภาคส่วน
การพัฒนาอย่างยั่งยืน
มาตรฐานการศึกษาต้องคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างมีคุณค่า
ความสอดคล้อง
การจัดทำมาตรฐานการศึกษาต้องให้มีความสอดคล้องกันในแต่ละระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับหน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบสถานศึกษา จนถึงระดับท้องถิ่น
การบูรณาการ
การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษามีความเกี่ยวข้องกันทั้งด้าน การบริหารการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน สภาพหรือบริบทของชุมชนนั้น ๆจึงต้องมีการพิจารณาถึงความสอดคล้องของทั้งมาตรฐานด้านครู ผู้เรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนและท้องถิ่น
ความหมายของมาตรฐานการศึกษา
มาตรฐานการศึกษาที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาเกี่ยวข้องกับปัจจัย กระบวนการ และผลผลิตของการจัดการศึกษา เพื่อการกำกับ ติดตาม ดูแล ตรวจสอบ และประกันคุณภาพของสถานศึกษา
การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
เป้าหมายหลักของการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา คือ พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
เป็นการกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมในสถานศึกษาเพื่อให้เกิดการยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
คุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
คุณภาพการบริหารจัดการศึกษา
คุณภาพผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
การกำกับติดตามและประเมินผลคุณภาพการจัดการศึกษา
การประเมินคุณภาพเป็นการประเมินภายใน โดยบุคลากรภายในสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาในสังกัดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
การติดตามตรวจสอบคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา
การกำหนดแนวทางการจัดการศึกษา
เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา
การจัดระบบการประกันคุณภาพ
การจัดระบบการบริหารจัดการ
ความสำคัญและความจำเป็นในการกำหนดมาตรฐานการศึกษา
มาตรฐานถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพการศึกษา
การกำหนดให้มีมาตรฐานการศึกษาเป็นการให้ความสาคัญกับการจัดการศึกษา 2 ประการ
สถานศึกษาทุกแห่งมีเกณฑ์เปรียบเทียบกับมาตรฐานซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกัน
มาตรฐานทำให้สถานศึกษาเข้าใจชัดเจนว่าจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปในทิศทางใด
มาตรฐานการศึกษามีประโยชน์ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ท้องถิ่นและสถานศึกษา
ใช้มาตรฐานเป็นแนวทางร่วมมือกันในการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้
พ่อแม่ผู้ปกครอง ประชาชนและผู้นำชุมชน
ใช้มาตรฐานเป็นเครื่องมือสื่อสารให้ประชาชนได้รับทราบกระบวนการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้การจัดการศึกษาช่วยยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
ครู
ใช้มาตรฐานเป็นกรอบแนวทางในการออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง
ประเทศชาติ
ใช้มาตรฐานเป็นเครื่องมือที่ทำให้ทุกองค์กรประกอบของระบบการศึกษาขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน สู่เป้าหมายเดียวกัน และทำให้เกิดภาพการจัดการศึกษาที่มีความหมาย
ผู้เรียน
การปรับปรุงและพัฒนาตนเองตามความคาดหวังของสังคมและประเทศชาติว่าต้องการคนที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างไร
กระบวนการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เป็นกระบวนการการจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งสถานศึกษาสามารถนำไปสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ รวมทั้งจุดเน้น บริบท และอัตลักษณ์ของสถานศึกษาเอง