Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรณี การกันตัวผู้ต้องหา…
มาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)
กรณี การกันตัวผู้ต้องหาไว้เป็นพยาน
วัตถุประสงค์การปฏิบัติงาน
3.เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับโลกแห่งความเป็นจริงของการทำงาน
4.เพื่อมองหาแนวทางในการประกอบอาชีพ
2.เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์จริงจากการปฏิบัติงาน
1.เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่จะนำมาพัฒนาตนเองก่อนสำเร็จการศึกษา
ประวัติ และรายละเอียดขององค์กร
อำนาจหน้าที่
ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมายและระเบียบที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
จัดให้มีการศึกษา อบรม และพัฒนาระบบงานการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษการพัฒนาความรู้และการประเมินสมรรถภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างของกรม และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษหรือไม่
ศึกษา รวบรวม จัดระบบ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และเพื่อป้องกัน ปราบปราม สืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษ
ป้องกัน ปราบปราม สืบสวน และสอบสวนคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคดีพิเศษประกาศกำหนดหรือตามมติของคณะกรรมการคดีพิเศษ ตลอดจนปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาที่เป็นคดีพิเศษ
รับผิดชอบงานกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ภารกิจ
ป้องกัน การปราบปราม การสืบสวนและการสอบสวนคดีความผิดทางอาญาที่ต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนโดยใช้วิธีการพิเศษ
ประวัติ
กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 เนื่องจากรัฐเห็นว่ารูปแบบของอาชญากรรมในปัจจุบันพัฒนาตัวเองจากการใช้ความรุนแรงกระทำต่อกันมาเป็นการกระทำทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ทำให้การสืบสวนสอบสวนตามระบบเดิมอาจจะไม่เหมาะสม ดังนั้น สำหรับคดีความผิดที่ซับซ้อนขึ้นและต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนเป็นพิเศษ จึงควรมีหน่วยงานที่มีโครงสร้างและมีอำนาจเป็นพิเศษเข้ามาดูแลโดยเฉพาะ
ขอบเขต
กรมสอบสวนคดีพิเศษ(กองคดีความมั่นคง)
รายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน
พยานหลักฐาน
ผู้ตองหา
คดีพิเศษ
แนวคิดของการกันตัวผู้ต้องหาไว้เป็นพยาน
ตัวอย่างระเบียบของหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวกับการกันตัวผู้ต้องหาไว้เป็นพยาน
ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
ตั้งแต่ วันที่ 9 ธันวาคม 2562 - วันที่ 30 มีนาคม 2563
ความสำคัญและที่มา
จากการเรียนในรายวิชาสหกิจศึกษา ทำให้ได้รับโอกาสในการเข้าฝึกประสบการณ์การทำงานที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สังกัดกองคดีความมั่นคง ทำให้พบเจอปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไปในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม ปัญหาอย่างหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นประเด็นที่ควรได้รับการแก้ไข หรือวางแนวทางในการปฏิบัติ หรือควรมีระเบียบกำหนดเป็นแนวทาง ได้แก่ การกันตัวผู้ต้องหาไว้เป็นพยานโดยไม่แจ้งข้อกล่าวหา เนื่องจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ มิได้มีบทบัญญัติที่ชัดเจนที่จะให้อำนาจพนักงานสอบสวนสามารถดำเนินการได้หรือไม่ อาจทำให้ผู้ต้องหารายอื่นในคดีอาจใช้เป็นข้อโต้แย้งพนักงานสอบสวนได้ ผู้ศึกษาเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญอันอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินคดี หรืออาจส่งผลกระทบต่อตัวพนักงานสอบสวนเอง ผู้ศึกษาจึงได้จัดทำรายงานสหกิจ เรื่อง มาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรณี การกันตัวผู้ต้องหาไว้เป็นพยาน เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาอีกแนวทางหนึ่งให้แก่องค์กรที่ให้โอกาสผู้ศึกษาได้เข้าฝึกประสบการณ์การทำงานที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ แห่งนี้
ข้อเสนอแนะ
พิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินการ กรณี การกันตัวผู้ต้องหาไว้เป็นพยาน เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติ
ประกาศใช้แนวทางตามที่ได้มีการศึกษาและพิจารณา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโดยสุจริตได้มีหลักในการปฏิบัติและได้รับการคุ้มครอง
ควรจัดให้มีการศึกษากฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการแก้ไขปัญหา
พนักงานสอบสวนจะต้องทำสำนวนโดยสรุปความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาที่จะกันเป็นพยานแล้วส่งสำนวน พร้อมด้วยความเห็นในการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาดังกล่าว และพนักงานอัยการเห็นควรกันผู้ต้องหาคนใดคนหนึ่งเป็นพยาน ทางพนักงานอัยการออกคาสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหานั้น จากนั้นพนักงานอัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนถ้อยคำผู้ที่กันไว้เป็นพยานนั้น เป็นพยานประกอบสำนวนต่อไป
กรณีกันผู้กระทำผิดไว้เป็นพยานแต่แรก โดยพนักงานสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนผู้กระทำผิดเป็นพยานโดยมิได้สอบสวนผู้นั้นในฐานะผู้ต้องหา และพนักงานสอบสวนดำเนินการสรุปสำนวนมีความเห็นทางคดีเสนอผู้บังคับบัญชาขึ้นไป ผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนโดยผู้บังคับบัญชาอาจสั่งให้ดำเนินคดีกับผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาได้
ปัญหาที่พบขององค์กร
2.ปัญหากฎหมายที่ให้อำนาจในการจัดทำเอกสารหรือหลักฐานใดขึ้นหรือเข้าไปแฝงตัวในองค์กรหรือกลุ่มคนใด
3.พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ขาดความชำนาญในการใช้ภาษาต่างประเทศ
1.ปัญหาการกันตัวผู้ต้องหาไว้เป็นพยานโดยยังไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหา
สถานที่ฝึกสหกิจ
กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)