Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙ (หมวด ๒ …
การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
พ.ศ. ๒๕๕๙
หมวด ๑
การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
มาตรา ๕ วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง และมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้รับการบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว
มาตรา ๖ ให้สถานศึกษาดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
มาตรา ๗ ให้สถานบริการดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
มาตรา ๘ ให้สถานประกอบกิจการดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
มาตรา ๙ ให้มีการจัดสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
มาตรา ๑๐ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอํานาจหน้าที่ดําเนินการให้วัยรุ่นในเขตราชการส่วนท้องถิ่น
ได้รับสิทธิตามมาตรา ๕
หมวด ๒
คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น”
มาตรา ๑๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ตํ่ากว่าสามสิบปีบริบูรณ์(๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
มาตรา ๑๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสองปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง ผู้ซึ่งพ้นจากตําแหน่งแล้ว อาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา ๑๔ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่ง เมื่อ ตาย ลาออก ประธานกรรมการให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒
มาตรา ๑๕ ผู้แทนเด็กและเยาวชนตามมาตรา ๑๑ (๔) ต้องมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีบริบูรณ์
ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๒ (๑) และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๑๒ (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘)
และให้นํามาตรา ๑๓ มาใช้บังคับกับการดํารงตําแหน่งกรรมการของผู้แทนเด็กและเยาวชนดังกล่าวโดยอนุโลม
มาตรา ๑๖ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๑๗ คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่เสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อคณะรัฐมนตรี , เสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ ,เสนอรายงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๑๘ นโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตามมาตรา ๑๗ (๑) อย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญในเรื่อง
มาตรา ๑๙ คณะกรรมการจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้
มาตรา ๒๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าสถานศึกษา สถานบริการ สถานประกอบกิจการ หรือหน่วยงานของรัฐไม่ดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการแจ้งต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๒๒ ให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ และให้มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
จัดทํานโยบาย ยุทธศาสตร์ และรายงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น , ประสานงาน ติดตาม ประเมินผล และร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานของเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
หมวด ๓
บทกําหนดโทษ
มาตรา ๒๓ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๐
โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๒๔ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา ๑๑ (๑)
และ (๒) และให้อธิบดีกรมอนามัยเป็นกรรมการและเลขานุการ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
เหตุผลในการสร้างพระราชบัญญัตินี้
โดยที่การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของประเทศมีจํานวน
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และเศรษฐกิจในภาพรวมสมควรสร้างกลไกในการกําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดําเนินการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน และประชาสังคม